คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4 จัตวา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, การจัดการมรดก, ไวยาวัจกรมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
พระภิกษุ พ. มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัดหัวป่าและวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น จึงต้องถือว่าวัดหัวป่าเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุเพิ่มแห่งหนึ่งด้วย ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทรัพย์มรดกเกี่ยวข้องกับหลายศาล
อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือที่ดินน.ส. 3 ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 4 จัตวา และขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคำร้องเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาของเจ้ามรดกขณะเสียชีวิต
พระภิกษุ ก. ได้มาซึ่งที่ดินในจังหวัดลำพูนในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศต่อมาพระภิกษุ ก. ถึงแก่มรณภาพขณะที่พระภิกษุ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมิได้จำหน่ายที่ดินไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้จึงต้องยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 จัตวา
เมื่อผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดลำพูนการที่ศาลจังหวัดลำพูนรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่ง กับศาลอุทธรณ์ภาค 2พิจารณาอุทธรณ์ผู้ร้องและพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) เป็นไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องและให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ที่ตั้งมรณภาพเป็นหลัก
พระภิกษุ ก.ได้มาซึ่งที่ดินในจังหวัดลำพูนในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ต่อมาพระภิกษุ ก.ถึงแก่มรณภาพขณะที่พระภิกษุ ก.มีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมิได้จำหน่ายที่ดินไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้จึงต้องยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4จัตวา
เมื่อผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดลำพูน การที่ศาลจังหวัดลำพูนรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่ง กับศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ผู้ร้องและพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)เป็นไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องและให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ตายและสิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: การพิจารณาจากที่อยู่จริงและทรัพย์สิน
แม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่จังหวัดพิจิตรและผู้ตายถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตรแต่ผู้ตายก็ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องจนมีบุตรด้วยกันถึง4คนที่จังหวัดสมุทรปราการรวมทั้งผู้ตายได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการแสดงว่าผู้ตายมีบ้านที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วยบ้านที่จังหวัดสมุทรปราการจึงเป็นภูมิลำเนาของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา37ดังนั้นผู้ร้องจึงมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ตายและการเสนอคำร้องเป็นผู้จัดการมรดก
แม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่จังหวัดพิจิตร และผู้ตายถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร แต่ผู้ตายก็ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องจนมีบุตรด้วยกันถึง 4 คน ที่จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งผู้ตายได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการแสดงว่าผู้ตายมีบ้านที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย บ้านที่จังหวัดสมุทรปราการจึงเป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 37 ดังนั้นผู้ร้องจึงมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา