พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3914/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด vs. สัญญาประกันภัย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ที่ทวงถามให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 ขับชนเสาไฟฟ้าของโจทก์เสียหายใช้ค่าสินไหมทดแทน และโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 สิงหาคม 2541 พ้น 1 ปี ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและลูกจ้างผู้กระทำละเมิดขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ จึงไม่อาจอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ ตามมาตรา 193/29
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 4 ไม่อาจยกอายุความในมูลละเมิดมาใช้อ้างยันโจทก์ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก บัญญัติว่า ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ซึ่งเกิดวินาศภัย โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 การฟ้องร้องจำเลยที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 4 ไม่อาจยกอายุความในมูลละเมิดมาใช้อ้างยันโจทก์ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก บัญญัติว่า ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ซึ่งเกิดวินาศภัย โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 การฟ้องร้องจำเลยที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และในเรื่องอายุความเมื่อไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีชำระหนี้แบ่งแยกได้ และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขนถ่ายสินค้ากระดาษของโจทก์และจำเลยที่ 3 จากเรืออริสโตเติลลงเรือฉลอมโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ากระดาษของโจทก์บางส่วนถูกสับเปลี่ยนและส่งมอบไปให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ได้รับสินค้ากระดาษของจำเลยที่ 3 มาแทน เมื่อหักกลบกันแล้ว จำเลยที่ 3 รับสินค้าของโจทก์เกินไป คิดเป็นเงิน 1,724,364 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเจ้าของเรือ ผู้รับจ้างขนส่ง และนายจ้างหรือตัวการ จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้ากระดาษของโจทก์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบสินค้ากระดาษของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ร่วมกันชำระราคาสินค้าที่จำเลยที่ 3 รับเกินไปแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด ให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ฐานผิดสัญญาประกันภัย และให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ฐานรับมอบทรัพย์ของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ หาใช่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะได้หยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยมรดกใช้ ป.พ.พ. ก่อน หากเป็นมรดกจึงใช้กฎหมายอิสลามได้ ศาลล่างพิพากษาถูกต้องฟ้องขาดอายุความ
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาส แต่ในการวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกหรือไม่ จะนำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้ ป.พ.พ. เป็นหลักวินิจฉัยก่อน
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในประเด็นข้ออื่นหาได้อยู่ในบังคับที่ต้องมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาด้วยไม่
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของบิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อหานี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่ แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใด
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้อย่างชัดแจ้งว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และในชั้นพิจารณา จำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จึงเป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า หากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้น เป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์ หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในประเด็นข้ออื่นหาได้อยู่ในบังคับที่ต้องมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาด้วยไม่
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของบิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อหานี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่ แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใด
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้อย่างชัดแจ้งว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และในชั้นพิจารณา จำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จึงเป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า หากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้น เป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์ หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกในศาสนาอิสลาม: ประเด็นการพิจารณาคดีโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรม และอายุความการฟ้องร้อง
โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาส โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. บิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกของ จ. แต่เป็นของ ต. มารดาจำเลยทั้งสอง ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่จะนำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับไม่ได้ต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นหลักวินิจฉัยก่อน ต่อเมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นมรดกแล้วจึงจะใช้กฎหมายอิสลามในการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทต่อไป คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น การพิจารณาคดีในประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ต. มารดาของจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของ จ. บิดาของโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อนี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใดการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยทั้งสองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและโจทก์ก็ทราบวันเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความว่าหากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกของ จ. ก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในคดีนี้ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยทั้งสองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและโจทก์ก็ทราบวันเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความว่าหากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกของ จ. ก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในคดีนี้ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จากการกระทำโดยปราศจากอำนาจ และการแก้ไขดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
เมื่อศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าการโฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ฉบับหน้าเหลืองภาษาอังกฤษเป็นการโฆษณาของบริษัทอื่นไม่ใช่ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ และจำเลยที่ 1 ไม่ให้สัตยาบัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่แรกว่าไม่เคยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ผลแห่งการวินิจฉัยดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 มูลความแห่งคดีจึงมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อันจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) มาใช้บังคับจึงนำเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ให้การต่อสู้ไว้มิได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิประกันภัยและอายุความ: สิทธิของผู้รับประกันภัยย่อมผูกพันตามกำหนดเวลาของผู้เอาประกันภัย และผลกระทบต่อจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคหนึ่ง สิทธิของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยทั้งสาม ตามมาตรา 226 วรรคหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนด 1 ปี ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1) และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์ แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ด้วย ตามมาตรา 245 (1), 247
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1) และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์ แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ด้วย ตามมาตรา 245 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งสิทธิของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยทั้งสาม ตามมาตรา 226 วรรคหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนด 1 ปี ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) และแม้จำเลยที่ 1และที่ 2 มิได้อุทธรณ์ แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ด้วย ตามมาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งอนุมาตรา 1 เท่านั้น หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี2534ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่3กันยายนปีเดียวกันการที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14วรรคหนึ่งอนุมาตรา1เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา193/24อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้วแม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่3กันยายน2534นั้นเองจึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา193/15วรรคสองเมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่29มิถุนายน2537ซึ่งเป็นวันฟ้องพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา448วรรคหนึ่งและเนื่องจากจำเลยที่2ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ตามมาตรา193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่1จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่2ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1จึงชอบด้วยกฎหมาย