คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาระจำยอม & ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้เอง แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้น
ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญที่จะให้ศาลบังคับให้ได้โดยถูกต้องนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยให้ ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นทางเกวียน แต่ในเวลาต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเกวียนผ่านเข้าออกเป็นเวลานามถึง 10 ปี แล้วคงใช้เป็นทางสำหรับคนเดินภาระจำยอมไม่ว่าจะได้มาโดยนิติกรรมหรือโดยอายุความที่เป็นทางเกวียนดังกล่าว ย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 อายุความได้สิทธิหรือเสียสิทธิภาระจำยอมมิใช่อายุความฟ้องร้อง ฉะนั้นปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าภาระจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความ ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด แม้จำเลยไม่ได้อ้างอายุความผิดสัญญาโดยตรง แต่การยกเหตุผลขาดอายุความในคำให้การถือว่าเป็นการอ้างอายุความแล้ว
คำฟ้องของโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกัน แม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิดโดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นต่อสู้ก็ตาม แต่จำเลยยกข้อเท็จจริงและเหตุผลว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การแล้ว ถือว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดียกฟ้องโจทก์ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาอายุความทั้งสองประเภทได้
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523 และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุ อันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม2536 เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้ว จึงพ้นกำหนด1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทั้งสัญญาจ้างแรงงานและละเมิด ศาลใช้ได้ทั้งสองกรณีเมื่อจำเลยอ้างเหตุขาดอายุความ
การที่จำเลยขับรถไปตามทางการที่จ้างของโจทก์ด้วยความประมาท ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยแม้จำเลยจะอ้างอายุความเรื่องละเมิด โดยมิได้กล่าวถึงอายุความเรื่องผิดสัญญาขึ้นมาต่อสู้คดีโจทก์ก็ตามแต่จำเลยก็ได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความขึ้นมากล่าวไว้ในคำให้การด้วยแล้วว่า มูลหนี้คดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523และโจทก์ได้รู้ถึงวันละเมิดอันหมายความถึงวันเกิดเหตุอันเป็นมูลก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536เมื่อนับแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาถึง 12 ปีเศษแล้วจึงพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือพ้นกำหนด10 ปีนับแต่วันทำละเมิด จากข้อเท็จจริงที่ว่านับแต่วันเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10 ปี อันเป็นอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาต่อสู้ไว้แล้ว เมื่อคดีโจทก์เป็นทั้งเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานและละเมิดในขณะเดียวกันดังได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น ศาลแรงงานจึงมีอำนาจที่จะยกอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานขึ้นมาปรับแก่คดีโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้ในคดีล้มละลาย: หนี้ที่ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ปัญหาว่ามูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกา เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เกินไปโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกินจึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีขาดอายุความ เจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
of 4