คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญากู้: สิทธิปรับขึ้นตามข้อตกลง & ดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญากู้เงินฉบับพิพาท แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะกำหนดให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่ก็มีข้อจำกัดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและใช้บังคับได้
การที่โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเพียงการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น มิได้เป็นการบอกเลิกสัญญา และตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร และได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมได้ไม่เกินอัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศกำหนด ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมสำหรับลูกค้าทั่วไปเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2535โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 19ต่อปี ตั้งแต่วันที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นไป เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีต่อไปได้เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จึงมีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฏหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้ยืม: สิทธิปรับขึ้นตามสัญญา & ข้อจำกัดทางกฎหมาย
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญากู้เงินฉบับพิพาท แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะกำหนดให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่ก็มี ข้อจำกัดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและใช้บังคับได้ การที่โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเพียงการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้นมิได้เป็นการบอกเลิกสัญญา และตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ17.5 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร และได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมได้ไม่เกิน อัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศกำหนด ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมสำหรับลูกค้า ทั่วไปเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2535โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นไป เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ต่อไปได้เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จึงมีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้และจำนอง: ข้อตกลงดอกเบี้ยเป็นสาระสำคัญ ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงตามสัญญา
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ 12.75ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ
แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงิน ถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2818/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยกู้เงิน: สัญญาจำนองเป็นประกัน ต้องดูอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินเป็นหลัก แม้มีข้อตกลงดอกเบี้ยสูงกว่า
สัญญากู้เงินเป็นหนี้ประธาน ส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เพียงใด ต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์ยอมรับดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอัตราร้อยละ12.75 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงิน แม้ในสัญญากู้เงินจะระบุว่าหากภายหลังจากวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยผิดนัดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญากู้เงินนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บได้นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่แจ้งนั้นทุกประการก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อสัญญาให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยหรือเพิ่มดอกเบี้ย ขึ้นเท่านั้น มิใช่ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดสัญญากู้เงินอย่างเดียว เพราะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่โจทก์จะสามารถเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยด้วย ดังนั้นข้อสัญญาในส่วนนี้จึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยจะผิดสัญญากู้เงินในเวลาต่อมาจนโจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ แต่โจทก์ มิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มดอกเบี้ย เงินกู้จากอัตราร้อยละ 12.75 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ให้จำเลยทราบตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เงินถือได้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญาคิดได้ตามอัตราที่ตกลง
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และการสิ้นสุดสัญญา
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปีเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ดังนี้ หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญาเมื่อไม่มีการเดินบัญชี
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย, สิทธิบังคับคดีจำนอง, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การข้อ 2 ว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และไม่เคยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยคนใดที่มีภาระจำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 5 จะมิได้ให้เหตุผลหรือรายละเอียดแห่งการปฏิเสธไว้แต่คำให้การของจำเลยที่ 2และที่ 5 ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อไปในข้อที่ 9 ก็เป็นเพียงคำให้การที่หยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ว่า หากจำเลยที่ 2 และที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 5 ก็ยังหลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ให้กู้ โดยเหตุที่ผู้ให้กู้ได้ปล่อยให้ทรัพย์จำนองหลุดพ้น มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับ หรือถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ และต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การปฏิเสธในเรื่องการทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน 3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียกร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาทและหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาท กรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี มาปรับแก่คดี เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส. ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จึงต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเป็นโมฆะเนื่องจากขาดอากรแสตมป์, ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย, และการชำระหนี้ดอกเบี้ยเกิน
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การข้อ 2 ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และไม่เคยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยคนใดที่มีภาระจำต้องชำระหนี้แก่โจทก์แม้จำเลยที่ 2 และที่ 5 จะมิได้ให้เหตุผลหรือรายละเอียดแห่งการปฏิเสธไว้แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อไปในข้อที่ 9 ก็เป็นเพียงคำให้การที่หยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ว่า หากจำเลยที่ 2และที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 5 ก็ยังหลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ให้กู้ โดยเหตุที่ผู้ให้กู้ได้ปล่อยให้ทรัพย์จำนองหลุดพ้น มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับ หรือถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ และต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การปฏิเสธในเรื่องการทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5ทำสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 ดังนี้ คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียบร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาท และหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาทกรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี มาปรับแก่คดี
เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ
ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมายจ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5 ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย: บทบาทการนำสืบหลักฐานประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลังที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลสามารถรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่นำสืบความข้อนี้ให้ปรากฏต่อศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปีซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา
of 3