คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 27 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเสียสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่า เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจที่หยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือเฉพาะคู่ความฝ่ายที่เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ และเมื่อเห็นว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอย่างไรบ้าง ส่วนวรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการยื่นคำร้องคัดค้าน คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นการคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ที่จำเลยอ้างว่าผิดระเบียบ จำเลยจึงต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 คำร้องของจำเลยจึงมิได้ยื่นต่อศาลภายในแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และประเด็นการนำสืบพยานในศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริตจำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณาโจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา2ครั้งเป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติเพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง7วันแสดงว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริตมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่2มีนาคม2524จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายเป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท274,665บาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665บาทฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค1กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000บาทจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และการยกข้ออ้างเรื่องความไม่สุจริตในการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง แม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริตก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ศาลบังคับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยมาก่อนที่จำเลยจะซื้อที่ดินมาจาก ม. แม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ไม่รู้ว่าที่ดินนั้นตกอยู่ในภารจำยอม จำเลยก็ยกการรับโอนโดยสุจริตเพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ต้องสิ้นไปหาได้ไม่ ในชั้นพิจารณาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน พ.เป็นพยานโจทก์ไว้แล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถนำ พ.มาเบิกความได้โดยแถลงว่าโจทก์ขออ้างคำเบิกความของ พ.ในชั้นที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวมาเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย จำเลยไม่ได้คัดค้าน ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ พ.ดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 บัญญัติว่า เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองนั้น ย่อมหมายความรวมถึงว่าโจทก์ทั้งหกชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ทั้งหกประการหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลชี้สองสถาน: คำร้องแก้ไขประเด็นข้อพิพาทไม่ใช่คำร้องตามมาตรา 27(2)
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่ชอบวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ มิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นต่อศาลภายใน 8 วันตามมาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการเก็บผลประโยชน์ในการคัดค้านคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ดูแล แม้ไม่มีส่วนได้ในกรรมสิทธิ์
ผู้ได้รับมอบอำนาจให้จัดการเก็บผลประโยชน์ในนาพิพาทย่อมมีอำนาจเป็นผู้คัดค้านในคดีที่เกี่ยวกับนาพิพาทได้
เมื่อศาลไต่สวนและยอมรับผู้คัดค้านให้เข้าเป็นคู่ความผู้ร้องไม่คัดค้านจนสืบพยานไปเสร็จแล้ว ดังนี้ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคดีนั้นได้
แม้ผู้คัดค้านจะไม่มีส่วนได้ในทรัพย์สินที่พิพาท แต่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวทรัพย์สินนั้นก็มีอำนาจคัดค้านได้
of 16