คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 9 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษปรับและให้รอการลงโทษ
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขต ติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อ ด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครอง ที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้องไม่
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ เป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครอง โดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา อันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิด เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมาจนถึงวันฟ้อง จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อรู้เท่าไม่ถึงการณ์มิอาจอ้างความไม่รู้ได้ แม้มี ส.ค.1
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ.ศ.2479ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมาพ.ศ.2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครองเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1ก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ.เมื่อพ.ศ.2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้ามเมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ.2478มาตรา5,7(3)และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อทราบสถานะที่ดินหลังมีกฎหมายใช้บังคับ ย่อมมีความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่ พ.ศ. 2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ.2479 ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมา พ.ศ. 2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอบ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ. เมื่อ พ.ศ. 2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ. 2478 มาตรา 5,7(3) และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9(1),108 ทวิวรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9(1),108 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินหวงห้ามของรัฐ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแต่ยังเข้ายึดครองและปลูกสร้างอาคารจึงมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ. 2465 และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ. 2479 ให้ประชาชนทราบแล้ว ทั้งต่อมา พ.ศ. 2528 กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้าม มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ณ. เมื่อ พ.ศ. 2530 ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ
การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร พ.ศ. 2478 มาตรา 5, 7 (3) และ ป. ที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตาม ป. ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อทราบสถานะที่ดินหลังมีกฎหมายใช้บังคับ ย่อมมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ.2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อพ.ศ.2479ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมาพ.ศ.2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอบเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1ก็ตามแต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ. เมื่อพ.ศ.2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้วย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้ามเมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ.2478มาตรา5,7(3)และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทจึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา9(1),108ทวิวรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินของรัฐหลังประกาศ คปค.96 มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) หากไม่ได้รับแจ้งเวนคืนหรือคำสั่งออกจากที่ดินก่อน
ฎีกาของจำเลยทั้งสามมีใจความกล่าวถึงคำฟ้องคำให้การและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าอย่างไรหาได้มีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกแต่การครอบครองที่ดินของรัฐจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ใช้บังคับการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่างๆดังกล่าวเสียก่อนไม่ ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปเมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยทั้งสามยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้องแม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟ้องข้อเท็จจริงแตกต่างกับฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินของรัฐ: ความผิดเกิดขึ้นทันทีหลังการกระทำ ไม่ต้องรอการแจ้งเตือน
ฎีกาของจำเลยทั้งสามมีใจความกล่าวถึงคำฟ้องคำให้การและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าอย่างไร หาได้มีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1)ประกอบมาตรา 108 วรรคแรก แต่การครอบครองที่ดินของรัฐของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ใช้บังคับ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐ หาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ดังกล่าวเสียก่อนไม่
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไป เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทั้งสามยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริง หาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกับในฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96พ.ศ.2515ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็น ที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซื้อได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเสียก่อนไม่ ความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐและจะคงเป็น ความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปจากที่ดินเกิดเหตุแม้ศาลอุทธรณ์ภาค3จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุตั้งแต่ปลายปี2532ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกันในฟ้องไม่
of 2