พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีแรงงานต้องอยู่ภายในคำท้าของคู่ความ ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจลงโทษเหมาะสม
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยไม่สืบพยานว่า ตามกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2เพียงว่าหากศาลวินิจฉัยว่า พนักงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเริ่มทำงานในปีที่ 2 โดยมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้6 วัน การที่ผู้คัดค้านยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีในวันที่ 15และวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 และหยุดงานไปในวันดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนด ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ และขาดงานเท่านั้น หาได้มีข้อตกลงหรือคำท้าว่า หากศาลวินิจฉัย ความหมายของกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2 เป็นไปตามความหมายที่ผู้ร้องอ้างแล้ว ผู้คัดค้าน จะต้องถูกลงโทษตามที่ผู้ร้องได้ร้องขอด้วยไม่ ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานพิจารณากฎระเบียบดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่าที่ผู้ร้อง กำหนดเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำท้าครบถ้วนแล้ว หาใช่วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำท้า ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงแต่ตักเตือนเป็นหนังสืออย่างเดียว โดยไม่อนุญาตให้ลงโทษปรับลดผู้คัดค้านมาเป็นพนักงานรายวัน เพราะเห็นว่าการที่ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องดังกล่าวก็โดยเข้าใจว่าสิทธิในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้คัดค้านยังเหลืออยู่ มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันควร อันเป็นการใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ซึ่งศาลแรงงานชอบที่จะกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้ำประกันการทำงาน: สิทธิคืนเมื่อทำงานครบกำหนด/ทุจริต & จำนวนเงินที่ต้องคืน
ใบสมัครงานของโจทก์ระบุชัดว่า โจทก์จะทำงานกับจำเลยอย่างน้อย 1 ปี และถ้าจะลาออกจะแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ถ้าผิดสัญญาและ/หรือถูกจำเลยให้ออก ไล่ออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม โจทก์จะไม่รับเงินค้ำประกันคืนเงินค้ำประกันนี้ไม่ค้ำประกันความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ก่อขึ้นเงินค้ำประกันที่โจทก์ยังจ่ายไม่ครบให้หักจากเงินเดือนจนครบตามจำนวนที่จำเลยต้องการ หมายความว่า เงินค้ำประกันดังกล่าวโจทก์วางไว้แก่จำเลยเพื่อประกันการทำงานว่าจะทำงานกับจำเลยไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาและถูกจำเลยให้ออกหรือไล่ออกจากงานด้วยเหตุใดก่อนครบ 1 ปีโจทก์ทั้งสองจะไม่รับเงินค้ำประกันคืนจากจำเลย และแม้โจทก์จะทุจริตต่อหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเลยจะไม่คืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเกิน 1 ปี ครบถ้วนตามข้อตกลงในใบสมัครงานแล้ว แม้ถูกจำเลยไล่ออก โจทก์ก็มีสิทธิรับเงินค้ำประกันคืน แต่หากโจทก์นั้นทำงานกับจำเลยมายังไม่ถึง 1 ปี ตาม ข้อตกลงในใบสมัครและถูกจำเลยไล่ออกเพราะความผิดของโจทก์ที่ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิรับเงินค้ำประกันที่วางไว้แก่จำเลยคืน ตามคำฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค้ำประกันจากโจทก์ครั้งแรกคนละ 2,000 บาท ในวันเริ่มทำงานและหักค่าจ้างโจทก์ทั้งสองอีกคนละ 1,000 บาท เป็นรายเดือนเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 5,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่จำต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตามใบสมัครงานเอกสารท้ายคำให้การ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่เพียงใด ย่อมหมายถึงว่าการที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดในเงินค้ำประกันต่อโจทก์ และมีความหมายรวมถึงปฏิเสธเรื่องจำนวนเงินค้ำประกันที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์มีจำนวนเท่าใด มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันกันแล้ว ทั้งมิใช่เป็นการตรวจและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานพิเคราะห์จากเอกสารซึ่งจำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานที่มีการระบุชัดเจนว่าเงินค้ำประกันมีจำนวน 2,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ค้างเงินค้ำประกันอยู่อีก ส่วนเงินที่หักจากโจทก์มีคนละ 3,000 บาท เป็นเงินค่าจ้างที่หักไว้เท่านั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น ข้อพิพาทโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้องคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง: การโต้เถียงกับผู้บังคับบัญชาและความเหมาะสมของบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหน เมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหาทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ. บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุดและเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชี เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณา ณ ขณะเลิกจ้าง ข้อกล่าวหาหลังเกิดเหตุไม่มีผล
การเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ กรณีที่จำเลยอุทธรณ์เป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับ จ.เกี่ยวกับการบริหารงานของ จ.ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทจำเลย มิใช่ปัญหาว่าการบริหารงานของโจทก์ที่ผ่านมาไม่เป็นที่น่าพอใจและไม่น่าไว้วางใจตามที่จำเลยได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพื่อเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้ศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตามกฎหมาย และศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดหน้าที่นำสืบพยาน
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้วเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ต้นแต่วันที่24ตุลาคม2538เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลแรงงานพิพากษาไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่24ตุลาคม2538เป็นต้นมาโดยโจทก์สมัครใจเลิกเป็นลูกจ้างของจำเลยเองจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา39วรรคหนึ่งและการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานและการใช้อำนาจดุลพินิจของศาลแรงงานในการกำหนดหน้าที่นำสืบพยาน
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้วเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ต้นแต่วันที่ 24 ตุลาคม2538 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลแรงงานพิพากษาไม่ชอบ เนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2538เป็นต้นมาโดยโจทก์สมัครใจเลิกเป็นลูกจ้างของจำเลยเอง จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานวินิจฉัยถูกต้องแล้ว
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้วเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2538 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลแรงงานพิพากษาไม่ชอบ เนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ไปทำงานให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2538 เป็นต้นมาโดยโจทก์สมัครใจเลิกเป็นลูกจ้างของจำเลยเอง จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา39 วรรคหนึ่ง และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา39 วรรคหนึ่ง และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยในคดีแรงงาน: การรับผิดจากความประมาทเลินเล่อและการขยายผลทางกฎหมาย
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2ที่ 5 และที่ 6 ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี และเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้อง และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่2ที่5และที่6ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดีและเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่3และที่4ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้องของศาลแรงงานกลางทำให้การพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี และเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31