คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: หนังสือแจ้งความประสงค์เกษียณถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ไม่ต่ออายุสัญญา
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่1 มกราคม 2531 แต่โจทก์ก็ยังกล่าวอ้างต่อไปว่าจำเลยเลิกจ้าง โจทก์เพราะเกษียณอายุ เช่นนี้ คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุหรือไม่ จำเลยมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่า โจทก์จะต้องเกษียณอายุในเดือนพฤศจิกายน 2529 และยังมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการเกษียณอายุว่า "ตามนโยบายของบริษัทท่านได้บรรลุถึงการเกษียณอายุในวันที่ 2พฤศจิกายน 2529..." เช่นนี้ ตามหนังสือดังกล่าวย่อมแปลความ ได้ว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุแล้วตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่โจทก์ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุอยู่แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำวินิจฉัย ของศาลแรงงานกลางว่า การที่จำเลยไม่ต่ออายุสัญญาจ้าง ให้โจทก์หลังจากครบกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน เป็นการเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกลั่นแกล้งนายจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งและให้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดการนำสืบพยานนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน โดยต้องสอดคล้องกับคำให้การของจำเลย
คดีแรงงานนั้นศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับคำให้การของจำเลยด้วยว่า จำเลยให้การต่อสู้อย่างไร หากจำเลยให้การเป็นหนังสือก็ต้องนำ ป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม หามีบทบัญญัติใดให้สิทธิแก่จำเลยที่จะนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยจ่ายเงินเดือนไม่ครบตามโจทก์อ้างดังนี้การที่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์ทุกคนสมัครใจให้จำเลยหักเงินเพื่อบริจาคแก่นักเรียนนั้น จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องให้การต่อสู้ชัดแจ้งในประเด็นที่โจทก์ฟ้อง หากนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลไม่รับฟัง
ศาลแรงงานกลางจะรับฟังข้อเท็จจริงใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำให้การของจำเลยว่าได้ให้การต่อสู้ไว้อย่างไร แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานกลางจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 31 ก็บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติ นี้โดยอนุโลม การที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บังคับว่าจำเลยจะต้องยื่นคำให้การ กรณีจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลบันทึกคำให้การของจำเลย และถ้าจำเลยไม่ยอมให้การมาตรา 39 วรรคสองให้ศาลจดบันทึกไว้ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับเมื่อจำเลยไม่ให้การเป็นหนังสือหรือไม่ยอมให้การเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ในคำให้การไม่และเมื่อจำเลยให้การเป็นหนังสือก็ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยจำเลยต้องให้การต่อสู้โดยชัดแจ้ง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสอนให้โจทก์ไม่ครบ แล้วจำเลยให้การว่าไม่เคยจ่ายเงินเดือนไม่ครบโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ที่จำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์สมัครใจให้จำเลยหักเงินเป็นค่าบริจาคแก่นักเรียนข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์สมัครใจให้จำเลยหักเงินดังกล่าว จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย โดยจำเลยจ่ายค่าจ้างให้เป็นรายเดือนมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ค่าจ้างนี้คือเงินเดือน อายุความที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าว มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงาน และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้คืนเงินประกัน
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางเรื่องการงดสืบพยาน เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029-3030/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การเพิ่มเติมในคดีแรงงาน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง ศาลไม่รับคำให้การ
กระบวนพิจารณาคดีแรงงานนั้น หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก็ชอบที่จะยื่นก่อนวันนัดพิจารณา ถ้ามิได้ยื่นไว้ในวันพิจารณาจำเลยจะให้การต่อศาลแรงงานด้วยวาจา ให้ศาลแรงงานจดบันทึกก็ได้ คำให้การดังกล่าวต่างก็เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นหากจำเลยประสงค์จะให้การในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอีก ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179, 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โดยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาสั่งตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาซึ่งศาลแรงงานจดบันทึกไว้แล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานอีก โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลแรงงานย่อมไม่รับคำให้การที่ยื่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงาน: เพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาทตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคแรกและมาตรา 39 ประกอบด้วยข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานฯ ข้อ 2 และ ข้อ 9 แสดงว่าการที่จำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจานั้นกฎหมายมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงานดังนั้น ที่จำเลยให้การต่อศาลแรงงานกลางด้วยวาจา ซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริง และจำเลยขอปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงาน เพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาท แม้ไม่ได้ทำตามรูปแบบการให้การเป็นหนังสือ
คดีแรงงานจำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจาได้ กฎหมายจึงมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ดังนั้นที่จำเลยให้การด้วยวาจาซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริงและจำเลยขอปฏิเสธว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงานเพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาท แม้ไม่ได้ทำตามแบบฟอร์มการให้การในคดีแพ่ง
คดีแรงงานจำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจาได้ กฎหมายจึงมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ดังนั้นที่จำเลยให้การด้วยวาจาซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริงและจำเลยขอปฏิเสธว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่.
of 17