คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย และความรับผิดของเจ้าของกิจการต่อลูกจ้างที่ตัวแทนจ้าง
ทนายความที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้เข้ามาดำเนินคดีแทนมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การที่ศาลแรงงานกลางสอบถามข้อเท็จจริงจากทนายจำเลยในวันพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทและทนายจำเลยที่ 1 แถลงรับข้อเท็จจริงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในอำนาจของทนายจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบ คำแถลงหรือข้อเท็จจริงที่ทนายจำเลยที่ 1 แถลงรับต่อศาลจึงรับฟังได้
จำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการเรือประมงได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไต้ก๋งเรือดำเนินกิจการโดยให้มีอำนาจหน้าที่จัดหาหรือว่าจ้างลูกเรือหรือคนงาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ดังนี้เป็นการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 2 รับเหมากิจการเรือประมงของจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์เป็นลูกเรือต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับค่าจ้างสำหรับลูกเรือไปจากจำเลยที่ 1 แล้วไม่นำไปจ่ายให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้วหรือไม่ไว้เป็นประเด็นในคำให้การ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลมิอาจแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการสอบถามและแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรก ประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิด แม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบ หากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน 1,428.33 บาท โดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วัน มิได้หยุดในปีใดปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ส่วนโจทก์ที่ 9 บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็นเวลา 24 วัน ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว 15 วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด 9 วัน คิดเป็นเงิน 5,724 บาท ดังนี้ เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่ 9 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้าย เป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมในคดีแรงงาน: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนครบถ้วน มิเช่นนั้นประเด็นจะเกิดไม่ได้ แม้มีการซักถามในชั้นพิจารณา
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรกประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิดแม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบหากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่ โจทก์ที่2บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน1,428.33บาทโดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วันมิได้หยุดในปีใดปีละกี่วันฟ้องของโจทก์ที่2จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนโจทก์ที่9บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ12วันรวม2ปีเป็นเวลา24วันได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว15วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด9วันคิดเป็นเงิน5,724บาทดังนี้เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่9ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้ายเป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของป.วิ.พ.มาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: คำฟ้องต้องชัดเจนในรายละเอียดสิทธิเรียกร้อง ศาลไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องได้
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรกประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิดแม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบหากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่ โจทก์ที่2บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน1,428.33บาทโดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วันมิได้หยุดในปีใดปีละกี่วันฟ้องของโจทก์ที่2จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนโจทก์ที่9บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ12วันรวม2ปีเป็นเวลา24วันได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว15วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด9วันคิดเป็นเงิน5,724บาทดังนี้เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่9ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้ายเป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือและผลการสอบสวน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย แต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมอง เป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวน ซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไป แม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานไม่ไว้วางใจ แม้มิใช่ความผิดร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยแต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมองเป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวนซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไปแม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการ บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อถูกเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้างโจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาด อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้อง ทำงานในปีต่อไป จนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดว่า พนักงาน ที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงานเมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใดในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิ แก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528). ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคาร แล้วให้สั่งลูกจ้าง ออกจากงานได้จำเลยจึงมีอำนาจ เลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้อง พิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46 วรรคสามและข้อ47(1) ถึง(6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใด ประการหนึ่งทั้งสิ้นจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีกส่วนความใน ตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่าย ค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เอง ที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภท เดียวกับ ค่าชดเชยหรือไม่โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่การที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่ โจทก์ได้รับไปแล้ว เป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชยจึง เป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การไม่เป็นเหตุที่ จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็น ตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการ ผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัย ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็น ประเด็นในคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058-3059/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้าง ความถูกต้องของเอกสาร และกำหนดจ่ายสินจ้าง
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนจึงเลิกจ้างโจทก์กับพวกซึ่งมีหน้าที่เป็นยาม โดยมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งหรือเจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์กับพวก แม้จำเลยจะมิได้ยุบเลิกกิจการยามเสียทั้งแผนก ก็จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
เมื่อจำเลยส่งสำเนาเอกสารต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านั้นประการใด ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ่ายสินจ้างทุกวันสิ้นเดือน ซึ่งจำเลยก็ให้การดังโจทก์ฟ้อง การที่ศาลแรงงาน ฯ ฟังข้อเท็จจริงว่ากำหนดจ่ายสินจ้างทุกวันที่ 15 และทุกวันก่อนวันสิ้นเดือน จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น หาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058-3059/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะขาดทุนและการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างและกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนจึงเลิกจ้างโจทก์กับพวกซึ่งมีหน้าที่เป็นยาม โดยมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งหรือเจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์กับพวกแม้จำเลยจะมิได้ยุบเลิกกิจการยามเสียทั้งแผนก ก็จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
เมื่อจำเลยส่งสำเนาเอกสารต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านั้นประการใด ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ่ายสินจ้างทุกวันสิ้นเดือน ซึ่งจำเลยก็ให้การดังโจทก์ฟ้อง การที่ศาลแรงงานฯฟังข้อเท็จจริงว่ากำหนดจ่ายสินจ้างทุกวันที่ 15 และทุกวันก่อนวันสิ้นเดือน จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น หาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957-2966/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่สอบถามคำให้การจำเลยในสำนวนที่ถูกรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน ขัดต่อหลักวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
จำเลยทั้งสิบสำนวนเป็นนิติบุคคลรายเดียวกัน ศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 1 ถึงสำนวนที่ 9 ซึ่งจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนาย และคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้ว ต่อมาศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 10 เข้ากับสำนวนทั้งเก้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายและคำให้การในสำนวนที่ 10 ซึ่งน่าจะเป็นเพราะหลงลืมหรือพลั้งเผลอ ดังนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 39 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสอบถามคำให้การด้วยวาจาของจำเลยสำนวนที่ 10 และบันทึกไว้หากจำเลยไม่ยอมให้การ ศาลไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับจำเลยสำนวนที่ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ และสั่งสืบพยานโจทก์สำนวนที่ 10 ไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสำนวนที่ 10ประสงค์จะให้การหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 17