คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957-2966/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีแรงงานและการสอบถามคำให้การจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสิบสำนวนเป็นนิติบุคคลรายเดียวกัน ศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 1 ถึงสำนวนที่ 9 ซึ่งจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนาย และคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้ว ต่อมาศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 10 เข้ากับสำนวนทั้งเก้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายและคำให้การในสำนวนที่ 10 ซึ่งน่าจะเป็นเพราะหลงลืมหรือพลั้งเผลอ ดังนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 39 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสอบถามคำให้การด้วยวาจาของจำเลยสำนวนที่ 10 และบันทึกไว้หากจำเลยไม่ยอมให้การ ศาลไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับจำเลยสำนวนที่ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ และสั่งสืบพยานโจทก์สำนวนที่ 10 ไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสำนวนที่ 10ประสงค์จะให้การหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากพฤติการณ์ไม่ถึงขั้นร้ายแรง การเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่ เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของเครื่องจักรเสีย และการตีความความผิดร้ายแรงตามระเบียบบริษัท
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การมิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหยุดพักผ่อน: จำเลยต้องโต้แย้งสิทธิลูกจ้างก่อน จึงจะถือว่าลูกจ้างมีอำนาจฟ้องบังคับให้หยุดพักผ่อนได้
ลูกจ้างไม่เคยยื่นความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของตนมาก่อน และไม่ปรากฏว่านายจ้างปฏิเสธมิให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีดังนี้ นายจ้างยังมิได้โต้แย้งสิทธิของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนที่นายจ้างให้การว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะมีวันลาเกินกำหนด เป็นเพียงข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นภายหลังลูกจ้างฟ้องคดีแล้ว จะถือเป็นข้ออ้างว่านายจ้างโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหยุดพักผ่อนประจำปี ต้องมีการโต้แย้งสิทธิก่อน การให้การต่อสู้ภายหลังไม่ถือเป็นการโต้แย้ง
ลูกจ้างไม่เคยยื่นความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของตนมาก่อน และไม่ปรากฏว่านายจ้างปฏิเสธมิให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี ดังนี้ นายจ้างยังมิได้โต้แย้งสิทธิของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนที่นายจ้างให้การว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะมีวันลา เกินกำหนดเป็นเพียงข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นภายหลังลูกจ้างฟ้องคดีแล้ว จะถือเป็นข้ออ้างว่านายจ้างโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การรับสารภาพต้องชัดเจนถึงเจตนาทุจริต การสอบสวนต้องถูกต้องตามข้อบังคับ
ประเด็นที่ศาลแรงงานกำหนดไว้เป็นเพียงการกำหนดว่าข้อพิพาทมีอย่างไรบ้างเท่านั้น หาจำต้องวินิจฉัยประเด็นเรียงลำดับไปไม่ ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้ว่า การวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนจะเป็นผลให้คดีไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป ก็ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ตัดตั๋วให้ผู้โดยสารขาดไป 2 ใบ เมื่อพนักงานตรวจการของจำเลยตรวจพบ โจทก์ให้การต่อผู้บังคับบัญชารับว่าเป็นความจริง และกล่าวด้วยว่าโจทก์รีบมากจึงลืมไป โจทก์ขอยอมรับว่าได้ทำผิดจริง จำเลยจึงมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับ เพราะถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งด้วยเหตุโจทก์ให้การรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่าลืม ก็เท่ากับเป็นการอ้างว่ามิได้มีเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา เมื่อจำเลยด่วนลงโทษโจทก์โดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบังคับ จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับสารภาพต้องมีเจตนาทุจริต การสอบสวนก่อนลงโทษ
ประเด็นที่ศาลแรงงานกำหนดไว้เป็นเพียงการกำหนดว่าข้อพิพาทมีอย่างไรบ้างเท่านั้น หาจำต้องวินิจฉัยประเด็นเรียงลำดับไปไม่ ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้ว่า การวินิจฉัย ประเด็นข้อใดก่อนจะเป็นผลให้คดีไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น ต่อไป ก็ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ตัดตั๋วให้ผู้โดยสารขาดไป 2 ใบ เมื่อพนักงานตรวจการของจำเลยตรวจพบ โจทก์ให้การต่อผู้บังคับบัญชา รับว่าเป็นความจริง และกล่าวด้วยว่าโจทก์รีบมากจึงลืมไป โจทก์ขอยอมรับว่าได้ทำผิดจริง จำเลยจึงมีคำสั่งไล่ โจทก์ออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับ เพราะถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งด้วยเหตุโจทก์ให้การรับสารภาพเป็น หนังสือต่อผู้บังคับบัญชา ดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่าลืม ก็เท่ากับเป็นการอ้างว่ามิได้มีเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา เมื่อจำเลยด่วนลงโทษโจทก์โดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบังคับ จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การทางวาจาและการยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลต้องรับคำให้การใหม่หากยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำให้การเดิม
ในวันนัดพิจารณาศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของจำเลยและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ศาลแรงงานสั่งว่า "จำเลยเคยให้การด้วยวาจาไว้แล้ว รวมสำนวนไว้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าศาลแรงงานได้มีคำสั่งรับคำให้การเป็นหนังสือไว้แทนคำให้การที่บันทึกไว้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ในวันนัดพิจารณาศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของจำเลยและกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือศาลแรงงานสั่งว่า "จำเลยเคยให้การด้วยวาจาไว้แล้ว รวมสำนวนไว้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าศาลแรงงานได้มีคำสั่งรับคำให้การเป็นหนังสือไว้แทนคำให้การที่บันทึกไว้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลในขณะเลิกจ้าง แม้เหตุผลที่อ้างภายหลังไม่ตรงกับเหตุผลที่ใช้ในการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการเลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
of 17