พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การควบคุมดูแลการทำงานและระเบียบปฏิบัติบ่งชี้ถึงความเป็นลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่ 3/2545 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ 11/2545 เรื่อง บริษัท บ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2545 โดยอ้างเหตุว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับผู้รับจ้างขนส่งเป็นสัญญาจ้างทำของมิใช่สัญญาจ้างแรงงาน คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากไม่อยู่ในขอบอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีฐานะเป็นนายจ้างของผู้รับจ้างขนส่ง โดยผู้รับจ้างขนส่งจะต้องปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดไว้ และยังต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติการใช้บริการศูนย์จ่ายน้ำมันและการจัดส่งน้ำมัน ในระหว่างการขนส่งน้ำมันไปยังลูกค้า ณ สถานที่ของลูกค้า การลงน้ำมันทั่วไปแล้ว ยังต้องห้ามความประพฤติและการกระทำบางอย่าง เช่น ห้ามแสดงกริยามารยาทหรือวาจาไม่สุภาพ ห้ามเล่นการพนันภายในพื้นที่ และห้ามก่อการทะเลาะวิวาททำร้าย หรือ พยายามทำร้ายผู้อื่น ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดสัญญาจ้างผู้รับเหมาซึ่งมีบทลงโทษไว้ ตั้งแต่การแจ้งตัวแทนผู้รับเหมาเพื่องดให้งาน 3 วัน ไปจนถึงส่งตัวบุคคลนั้นคืนบริษัทต้นสังกัด จนถึงเลิกสัญญาจ้าง การลาหยุดงานต้องระบุเหตุผลอันสมควร ในส่วนของค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับการทำงานแต่ละครั้งเป็นลักษณะของค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 60 ดังนั้นการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างขนส่งจึงมิได้เป็นเพียงผู้รับจ้างโดยอิสระ แต่ต้องปฏิบัติภายใต้ระเบียบปฏิบัติของโจทก์ที่กำหนดขึ้นในลักษณะเดียวกับการทำงานของลูกจ้างทั่วไป การวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่ 3/2545 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ 11/2545 เรื่อง บริษัท บ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2545 จึงชอบด้วยอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (1) และมาตรา 23 แล้ว ไม่มีเหตุให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานไม่ขัดกฎหมาย แม้มีการวินิจฉัยเรื่องเงินเดือนและไม่เชิญผู้เชี่ยวชาญ
สหภาพแรงงาน ส. ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์ จนกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่กิจการของโจทก์เป็นกิจการขนส่งอันเป็นกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 (8) พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจึงส่งข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ต่อมาโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 23 วรรคสอง ดังนี้ มาตรา 23 วรรคสอง เพียงแต่กำหนดเวลาเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว มิได้ประสงค์จะจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 1 หรือให้คำวินิจฉัยสิ้นผลบังคับแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งให้สหภาพแรงงาน ส. และโจทก์ทราบเกินกำหนด 10 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ก็ไม่ทำให้อำนาจในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หมดไปหรือทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 วินิจฉัยให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนประจำปีแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อคนในกรณีที่โจทก์มีผลประกอบการตามงบดุลกำไรมากกว่า 20,000,000 บาทนั้น คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานตามที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบกิจการแข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม และมิใช่เป็นการแทรกแซงการประกอบกิจการของโจทก์ อีกทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้าง จึงไม่อาจใช้บังคับแก่สถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่มีข้อพิพาทแรงงานได้ คำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 44 ที่บัญญัติว่ากรรมการแรงงานสัมพันธ์หรืออนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องก็ได้ หมายความว่า ถ้ากรรมการแรงงานสัมพันธ์หรืออนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เห็นว่า กรณีมีความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยก็อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นก็ได้ โดยบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บังคับว่าต้องเชิญบุคคลดังกล่าวมาให้ความเห็นเสมอไป ดังนั้น แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะไม่ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความเห็นก็ไม่ขัดต่อ มาตรา 44
การพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่เป็นการเข้าไปร่วมบริหารกิจการของโจทก์ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1144
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานโดยให้โจทก์ปรับเงินเดือนของพนักงานขับรถหัวผ่าที่ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าเดือนละ 6,500 บาท เป็นไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,500 บาท มิใช่เป็นการพิจารณากำหนดและประกาศให้ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นการวินิจฉัยให้ปรับค่าจ้างตามข้อเรียกร้องของลูกจ้างที่ยื่นต่อโจทก์แล้วกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 78, 79 และ 88
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 วินิจฉัยให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนประจำปีแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อคนในกรณีที่โจทก์มีผลประกอบการตามงบดุลกำไรมากกว่า 20,000,000 บาทนั้น คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานตามที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบกิจการแข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม และมิใช่เป็นการแทรกแซงการประกอบกิจการของโจทก์ อีกทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้าง จึงไม่อาจใช้บังคับแก่สถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่มีข้อพิพาทแรงงานได้ คำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 44 ที่บัญญัติว่ากรรมการแรงงานสัมพันธ์หรืออนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องก็ได้ หมายความว่า ถ้ากรรมการแรงงานสัมพันธ์หรืออนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เห็นว่า กรณีมีความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยก็อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นก็ได้ โดยบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บังคับว่าต้องเชิญบุคคลดังกล่าวมาให้ความเห็นเสมอไป ดังนั้น แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะไม่ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความเห็นก็ไม่ขัดต่อ มาตรา 44
การพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่เป็นการเข้าไปร่วมบริหารกิจการของโจทก์ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1144
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานโดยให้โจทก์ปรับเงินเดือนของพนักงานขับรถหัวผ่าที่ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าเดือนละ 6,500 บาท เป็นไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,500 บาท มิใช่เป็นการพิจารณากำหนดและประกาศให้ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นการวินิจฉัยให้ปรับค่าจ้างตามข้อเรียกร้องของลูกจ้างที่ยื่นต่อโจทก์แล้วกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 78, 79 และ 88
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ยื่นคำขอเป็นลูกจ้าง
จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ ซึ่งมี ส. กับพวก รวม 11 คน เป็นผู้ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารประกอบคำขอครบถ้วน ทั้งผู้เริ่มก่อการยืนยันว่าเป็นลูกจ้างโจทก์โดยมีหนังสือสัญญาจ้างขนส่งน้ำมันระหว่างผู้เริ่มก่อการกับโจทก์ ต่อมาสหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกและยื่นขอจดทะเบียนกรรมการสหภาพและข้อบังคับสหภาพต่อสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ จำเลยมีหนังสือสอบถามโจทก์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเป็นลูกจ้างของโจทก์จริงหรือไม่ โจทก์มีหนังสือตอบปฏิเสธ สหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่มิได้เจรจา เกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันมีฐานะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง อันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์และสหภาพแรงงานกรีนไลน์ต่างมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัย กรณีที่มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม ตามนัย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมเป็นที่สุด ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า นายสังเวียนกับพวกรวม 11 คน ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานกรีนไลน์นั้นเป็นลูกจ้างโจทก์ การรับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ของจำเลยทั้งสี่จึงชอบด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222-3225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และเป็นโมฆะเมื่อรัฐวิสาหกิจไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งดำเนินกิจการที่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของประชาชน รัฐจึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น คู่กรณีจะต้องนำเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนที่รัฐกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยและจำเลยตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการเงินระหว่างโจทก์และจำเลยโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมอยู่ในบังคับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมเป็นเหตุให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่มีผลบังคับตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างกำหนดโบนัสตามผลประกอบการ และเจตนาของข้อตกลงระยะสั้น
ข้อตกลงในคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519ข้อ 2 ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทุกคนกับจำเลยทั้งสองตลอดมานับแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันประกอบด้วยสาระสำคัญสองส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างปีละครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวมีสิทธิกำหนด จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลประกอบการของจำเลยทั้งสองเป็นรายปี การจ่ายเงินโบนัสจึงมีลักษณะเฉพาะตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในแต่ละปีไป หาได้มีบทบังคับจำเลยทั้งสองให้ต้องจ่ายเงินโบนัสเท่ากันทุกปีไม่ จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสของปีที่ผ่านมาใช้แก่การจ่ายเงินโบนัสในปีต่อไปได้เว้นแต่จำเลยทั้งสองและลูกจ้างจะตกลงให้เป็นเช่นนั้น และแต่ละปีที่ผ่านมามีการจ่ายเงินโบนัสไม่เท่ากันตามความแตกต่างของหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสของปีนั้น ๆ ที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด เมื่อปรากฏว่าผลประกอบการของจำเลยทั้งสองในปี 2536 อยู่ในระดับต่ำกว่าผลประกอบการในปี 2535 จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างในปี 2536 น้อยกว่าที่เคยจ่ายในปี 2535 ได้ ที่จำเลยทั้งสองกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 โดยจ่ายเพียงอัตราร้อยละ 50 ของการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 จึงเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ จะถือว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดข้อตกลงที่ทำกับผู้แทนสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมผ้าห่มไทยและสิ่งทอฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2537ข้อ 5 ที่กำหนดว่า สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองเคยให้แก่ลูกจ้างจำเลยทั้งสองจะปฏิบัติต่อไปตามเดิมทุกประการ หาได้ไม่ เพราะข้อตกลงนี้กำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519 ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วโดยจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 ให้แก่ลูกจ้างเช่นทุกปีที่ผ่านมาตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่จำเลยทั้งสองได้กำหนดขึ้น
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจรัฐมนตรีในคำวินิจฉัยอุทธรณ์แรงงาน: ศาลยืนตามคำวินิจฉัยหากไม่ขัดกฎหมาย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 23 ย่อมเป็นที่สุด คู่ความจะฟ้องขอให้เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อคำวินิจฉัยนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น และหามีกฎหมายบังคับว่าการวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว รัฐมนตรีจะต้องอาศัยหลักเกณฑ์อย่างไร หรือหากได้วางหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยไว้แล้วจะต้องถือหลักเกณฑ์นั้นตลอดไปไม่ การที่รัฐมนตรีจะนำพฤติการณ์ใดบ้างมาเป็นเหตุสนับสนุนการวินิจฉัยสั่งการ ย่อมเป็นดุลพินิจของรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การสิ้นสภาพข้อพิพาทเมื่อลูกจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และการโต้แย้งสิทธิจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุตำแหน่งจำเลยมาในฟ้อง แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่าจำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อาศัยความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งที่ มท 1206/9094 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2515 ของจำเลยโดยระบุตำแหน่งจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันลาพักผ่อนประจำปี: ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานของจำเลยเกี่ยวกับการนับวันลาพักผ่อน อ้างว่าระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยให้การว่าระเบียบนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย คำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้ว ปัญหาว่าคำวินิจฉัยของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงต้องวินิจฉัยว่าระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขัดต่อกฎหมายหรือไม่ มิใช่วินิจฉัยเพียงว่าจำเลยวินิจฉัยตรงตามระเบียบดังกล่าวแล้วจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้างดังนั้น การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯ กำหนดให้พนักงานต้องยื่นใบลาจึงเห็นได้ว่าเพื่อให้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานตรงกับความประสงค์ของพนักงานแต่ละคนยิ่งขึ้น และตามระเบียบก็ไม่ถือว่าวันลาพักผ่อนประจำปีเป็นวันลา ฉะนั้นวันลาพักผ่อนประจำปีก็คือวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั่นเอง
การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯให้นับวันหยุดประจำสัปดาห์เข้าเป็นวันลาด้วยนั้น ไม่มีผลทำให้พนักงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์เหลืออยู่เลยเพราะหากพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นช่วงๆ ไม่ให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประจำสัปดาห์ก็คงเหลืออยู่บริบูรณ์ ส่วนในกรณีพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานก็ยังเหลือวันหยุดพักผ่อนประจำปี8 วันทำงาน สูงกว่าขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งกำหนดไว้ 6 วันทำงาน และสิทธิที่พนักงานมีตามประกาศฯ ดังกล่าว เป็นสิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน หาใช่สิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีในวันทำงานโดยไม่จำกัดจำนวนวันไม่
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้างดังนั้น การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯ กำหนดให้พนักงานต้องยื่นใบลาจึงเห็นได้ว่าเพื่อให้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานตรงกับความประสงค์ของพนักงานแต่ละคนยิ่งขึ้น และตามระเบียบก็ไม่ถือว่าวันลาพักผ่อนประจำปีเป็นวันลา ฉะนั้นวันลาพักผ่อนประจำปีก็คือวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั่นเอง
การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯให้นับวันหยุดประจำสัปดาห์เข้าเป็นวันลาด้วยนั้น ไม่มีผลทำให้พนักงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์เหลืออยู่เลยเพราะหากพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นช่วงๆ ไม่ให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประจำสัปดาห์ก็คงเหลืออยู่บริบูรณ์ ส่วนในกรณีพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานก็ยังเหลือวันหยุดพักผ่อนประจำปี8 วันทำงาน สูงกว่าขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งกำหนดไว้ 6 วันทำงาน และสิทธิที่พนักงานมีตามประกาศฯ ดังกล่าว เป็นสิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน หาใช่สิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีในวันทำงานโดยไม่จำกัดจำนวนวันไม่