พบผลลัพธ์ทั้งหมด 400 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน จำเลยต้องพิสูจน์ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง จึงจะลงโทษได้
ฟ้องขอให้ลงโทษ ลักทรัพย์หรือ รับของโจร แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะเป็นความผิดคนละฐานกันจำเลยให้การ รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดฐานใดแม้จะเป็น แบบพิมพ์ คำให้การที่โรเนียวล่วงหน้าไว้ก็ตามก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้อง สืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลยมิฉะนั้นลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต้องฟังว่าจำเลยทราบว่าเป็นทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์
คำเบิกความของพยานโจทก์ไม่สามารถยืนยันว่าจำเลยได้รับไว้ซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักมาอย่างไรและจำเลยทราบหรือไม่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่สามารถฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริต - ยักยอกทรัพย์ - รับของโจร: การมอบทรัพย์สินด้วยความจำยอมมิใช่เจตนาทุจริต
การที่ ส. เช่ารถยนต์ของกลางมาจากโจทก์ร่วม ต่อมาเจ้าหนี้ของ ส. ยึดรถยนต์ของกลางไป และจำเลยได้ครอบครองรถยนต์ของกลางนั้นไว้ แสดงว่า ส. มิได้สมัครใจในการมอบรถยนต์ของกลางให้เจ้าหนี้ไป หากแต่เกิดเพราะความจำยอม จึงฟังไม่ได้ว่า ส. มีเจตนาทุจริตกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดฐานรับของโจรจากผู้กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีนี้มิได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติความว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้... เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้..." เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเอกสารหมายป.จ.2 ของศาลอาญา เป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้นายสวัสดีวงศ์อริยจิต ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวก และนายสวัสดีได้ไปร้องทุกข์ตามหนังสือมอบอำนาจนี้ จึงเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจแจ้งความไม่สมบูรณ์ไม่กระทบการฟ้องคดีอาญา และพยานหลักฐานเชื่อมโยงความผิดฐานรับของโจร
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีนี้มิได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 บัญญัติความว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้" เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้นไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเอกสารหมาย ป.จ.2ของศาลอาญา เป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้นายสวัสดีวงศ์อริยจิต ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวก และนายสวัสดีได้ไปร้องทุกข์ตามหนังสือมอบอำนาจนี้ จึงเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้าม, การรับของโจร, และอำนาจริบของกลาง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องไม้หวงห้าม, การชดใช้ค่าเสียหาย, และการริบของกลาง
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 7 วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชการอาณาจักร จึงไม่จำต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69 แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33ประกอบพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมาย แม้ไม่ได้มี พ.ร.ฎ. กำหนด ศาลไม่มีอำนาจริบหากเจ้าของไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร จึงไม่จำต้องมี พ.ร.ฎ.กำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ
แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 ประกอบ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ
แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 ประกอบ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียว การแยกฟ้องหลายคดี สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้ถูกจับพร้อมกัน เหตุเกิดต่างเวลากัน
โจทก์ฟ้องคดีทั้งสามสำนวนข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายว่าระหว่างเวลาที่ทรัพย์ถูกลักไปซึ่งแตกต่างกัน จนถึงวันที่เจ้าพนักงานจับจำเลยได้วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยรับของโจรจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน เพราะว่าเวลาที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรแตกต่างกัน แม้จำเลยทั้งสองจะถูกจับพร้อมรถจักรยานยนต์ทั้งสามคันในขณะเดียวกัน ก็หาทำให้การกระทำดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง กลายเป็นความผิดกระทงเดียวและกรรมเดียวกัน