พบผลลัพธ์ทั้งหมด 400 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การรับทรัพย์ที่ได้จากการชิงทรัพย์และแบ่งเงินกับผู้กระทำผิด
การที่จำเลยที่ 2,3 เห็นการกระทำการชิงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ใช้ปืนขู่ชิงรถจักรยานและไก่ 10 ตัวของเจ้าทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 2,3 ยังรับเอารถจักรยานและไก่ 10 ตัว เอาไปจำหน่ายขายให้แก่ชายแปลกหน้า แล้วนำเงินมาแบ่งระหว่างจำเลยด้วยกัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2,3 จึงมีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การเรียกค่าไถ่กระบือที่ถูกลักไป แม้รายละเอียดวันเวลาในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
ในคดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ข้อ 1 วันที่ 17 เมษายน 2507 มีคนร้ายลักกระบือไป ข้อ 2 วันที่ 19 เมษายน 2507 จำเลยได้รับเงินเป็นค่าไถ่กระบือแล้วนำกระบือมาคืน ทั้งนี้ตามวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1 จำเลยเป็นคนร้ายลักเอากระบือไปโดยทุจริต หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าวใน ข้อ 1 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2507 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยรับเอากระบือรายนี้ไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้ายได้มาโดยการกระทำผิดต่อกฎหมายอันเข้าลักษณะลักทรัพย์ จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบต่อสู้ว่าไถ่มาจากบุคคลอื่น เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยได้นำกระบือของผู้เสียหายไปซ่อนแล้วเรียกค่าไถ่จริง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 (ฐานรับของโจร) เช่นนี้ การที่โจทก์กล่าวในฟ้องข้อ 2 ว่าจำเลยรับเงินค่าไถ่และคืนกระบือให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 19 เมษายน 2507 แต่ทางพิจารณาได้ความเป็นวันที่ 18 เมษายน 2507 นั้น ถือว่าเป็นการบรรยายรายละเอียดมิใช่ข้อสารสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ คดีลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การเรียกค่าไถ่กระบือที่ถูกลักย้อมทรัพย์ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357
ในคดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าข้อ 1. วันที่ 17 เมษายน 2507 มีคนร้ายลักกระบือไป ข้อ 2. วันที่ 19 เมษายน 2507 จำเลยได้รับเงินเป็นค่าไถ่กระบือแล้วนำกระบือมาคืน ทั้งนี้ตามวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1. จำเลยเป็นคนร้ายลักเอากระบือไปโดยทุจริต หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1.ถึงวันที่ 19 เมษายน 2507 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยรับเอากระบือรายนี้ไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้ายได้มาโดยการกระทำผิดต่อกฎหมายอันเข้าลักษณะลักทรัพย์จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบต่อสู้ว่าไถ่มาจากบุคคลอื่นเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยได้นำกระบือของผู้เสียหายไปซ่อนแล้วเรียกค่าไถ่จริงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 (ฐานรับของโจร) เช่นนี้ การที่โจทก์กล่าวในฟ้องข้อ 2.ว่าจำเลยรับเงินค่าไถ่และคืนกระบือให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 19 เมษายน 2507 แต่ทางพิจารณาได้ความเป็นวันที่ 18 เมษายน 2507 นั้น ถือว่าเป็นการบรรยายรายละเอียดมิใช่ข้อสารสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้คดีลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษที่รอการกำหนดโทษ จำเป็นต้องมีการลงโทษจำคุกจริง จึงจะสามารถทำได้
ตามมาตรา 58 ประมวลกฎหมายอาญาคำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด"นั้น หมายความว่า จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริง ๆ คดีนี้ ศาลวางโทษจำคุก 3 เดือน แต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางไม่เรียกว่าให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น โจทก์จะขอให้ศาลกำหนดโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีที่ศาลรอการลงโทษ เมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม
ตามมาตรา 58 ประมวลกฎหมายอาญาคำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด" นั้น หมายความว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริงๆ คดีนี้ศาลวางโทษจำคุก 3 เดือน แต่ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ไม่เรียกว่าให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น โจทก์จะขอให้ศาลกำหนดโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้อ้างอิงข้อกฎหมายชัดเจน
ฎีกาของจำเลยมีเพียงว่า "ข้าพเจ้าถือเอาคำอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลยด้วย" จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยบทกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การอ้างอิงคำอุทธรณ์แทนการแสดงข้อกฎหมายในฎีกา
ฎีกาของจำเลยมีเพียงว่า "ข้าพเจ้าถือเอาคำอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลยด้วย" จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลสูงมีอำนาจกำหนดโทษกระทงเบาได้ แม้กระทงหนักถูกยกฟ้อง
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 และพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนตามมาตรา 371 แต่ให้ลงโทษกระทงหนักตามมาตรา 357 และจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เฉพาะข้อฐานรับของโจร นั้น ความผิดของจำเลยฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมนุมชนตามมาตรา 371 ที่ยุติแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลสูง(ศาลอุทธรณ์)พิพากษายกฟ้องฐานรับของโจรอันเป็นกระทงหนัก ศาลสูง(ศาลอุทธรณ์)ก็มีอำนาจกำหนดโทษในความผิดกระทงเบาฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนที่ยังมีอยู่นั้นได้ ไม่เป็นการนอกเหนือกฎหมาย ตามนัยฎีกาที่ 1196/2502 และเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดโทษ ศาลฎีกาก็กำหนดโทษไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์กำหนดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสูงในการกำหนดโทษกระทงเบาหลังยกฟ้องกระทงหนัก และการยุติของความผิดที่ยังคงมีอยู่
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 และพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนตามมาตรา 371แต่ให้ลงโทษกระทงหนักตามมาตรา 357 และจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เฉพาะข้อหาฐานรับของโจร นั้น ความผิดของจำเลยฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมนุมชนตามมาตรา 371 ที่ยุติแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลสูง(ศาลอุทธรณ์) พิพากษายกฟ้องฐานรับของโจรอันเป็นกระทงหนัก ศาลสูง (ศาลอุทธรณ์) ก็มีอำนาจกำหนดโทษในความผิดกระทงเบาฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนที่ยังมีอยู่นั้นได้ ไม่เป็นการนอกเหนือกฎหมาย ตามนัยฎีกาที่ 1196/2502 และเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดโทษ ศาลฎีกาก็กำหนดโทษไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์กำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลที่ไม่เชื่อพยานส่งผลถึงจำเลยที่ไม่ยื่นอุทธรณ์หรือไม่: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่เชื่อคำพยานโจทก์และปล่อยจำเลยอื่นที่อุทธรณ์ แต่จำเลยนี้ถูกฟ้องในข้อหาเดียวกันมิได้อุทธรณ์ จำเลยนี้จะฎีกาว่าควรจะปล่อยจำเลยนี้ผู้ที่มิได้อุทธรณ์นั้นด้วย ย่อมไม่ได้เพราะปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่เชื่อพยานโจทก์และปล่อยจำเลยอื่นที่ยื่นอุทธรณ์ขึ้นมานั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่พยานเบิกความพาดพิงถึงจำเลยที่อุทธรณ์ขึ้นมาเป็นคน ๆ ไป ทั้งยังมีคำรับสารภาพของจำเลยแต่ละคนอีกด้วย ดังนี้ จึงมิใช่เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี.
หมายเหตุ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานรับของโจร จำเลยที่ 2, 3, 4 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยที่ 2, 3, 4 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ควรพิพากษาปล่อยจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี เช่นนี้ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้.
หมายเหตุ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานรับของโจร จำเลยที่ 2, 3, 4 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยที่ 2, 3, 4 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ควรพิพากษาปล่อยจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี เช่นนี้ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้.