พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ และการซื้อที่ดินโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์วันอื่นที่มิใช่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 โดยไม่ได้ส่งหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ เท่ากับเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งเหตุเลิกจ้างแก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอุทธรณ์ที่หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่กล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองและมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระบวนการผลิตแร่ที่เหมืองแร่ของจำเลยที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ ได้จัดทำบันทึกในนามของจำเลยว่าจำเลยซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยทำเหมืองแร่รุกล้ำที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งแม้โจทก์จะใช้เงินส่วนตัวซื้อที่ดิน ก็เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองของจำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จำเลยได้สัมปทานทำเหมืองแร่หลังจากหมดอายุประทานบัตรซึ่งโจทก์รู้ว่าจะหมดอายุในเวลาอีกไม่นาน และต่อมาอีกประมาณ 1 ปี โจทก์ก็เข้าครอบครองที่ดินทันทีที่หมดอายุประทานบัตรของจำเลยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองและมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระบวนการผลิตแร่ที่เหมืองแร่ของจำเลยที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ ได้จัดทำบันทึกในนามของจำเลยว่าจำเลยซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยทำเหมืองแร่รุกล้ำที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งแม้โจทก์จะใช้เงินส่วนตัวซื้อที่ดิน ก็เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองของจำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จำเลยได้สัมปทานทำเหมืองแร่หลังจากหมดอายุประทานบัตรซึ่งโจทก์รู้ว่าจะหมดอายุในเวลาอีกไม่นาน และต่อมาอีกประมาณ 1 ปี โจทก์ก็เข้าครอบครองที่ดินทันทีที่หมดอายุประทานบัตรของจำเลยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182-184/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุร้ายแรง การขาดงานและการยื่นใบลาช้าอาจไม่ถึงขั้นเลิกจ้างได้
การกระทำผิดของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกันหลายประการ อาทิเช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำผิดของลูกจ้าง ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดว่ามีมากน้อยเพียงใด ผู้คัดค้านที่ 2 มิได้มีตำแหน่งที่สำคัญในบริษัทผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้มาทำงานในวันที่ 18 ธันวาคม 2547 และยื่นลากิจกรรมสหภาพในวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่อนุมัติ เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การยื่นใบลากิจกรรมสหภาพที่ให้ยื่นใบลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 วัน และถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ขาดงานในวันดังกล่าว การกระทำของผู้คัดค้านที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8417/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ชื่อตรง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการสอบสวนนั้นโจทก์แจ้งว่า โจทก์ได้รับกล้องที่เป็นของสมนาคุณมาจริงแล้วนำไปไว้ในที่เก็บสินค้าของจำเลยยังมิได้นำออกใช้ แต่เมื่อตรวจดูหน่วยความจำที่บันทึกภาพถ่ายในกล้องปรากฏว่ามีภาพอยู่จำนวน 26 ภาพ เป็นภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัวโจทก์จึงยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้จริง การที่โจทก์ยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้แล้วจึงเป็นเพราะโจทก์จำนนต่อหลักฐานนั่นเอง ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการนำไปใช้โดยถือวิสาสะ เพราะหากโจทก์คิดว่าโจทก์มีสิทธิจะนำไปใช้ได้ โจทก์ก็น่าจะยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจริงตั้งแต่ต้น ไม่น่าจะต้องให้ตรวจดูหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้เสียก่อน เมื่อปรากฏว่ามีภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัว โจทก์จึงเพิ่งจะยอมรับว่ากล้องดังกล่าวเป็นของสมนาคุณที่จำเลยได้มาและมีไว้เพื่อให้พนักงานของจำเลยจับรางวัลในงานวันขึ้นปีใหม่ การที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้กล้องดังกล่าวมา ทั้งยังนำไปใช้โดยพลการ เมื่อมีการสอบสวนก็ยังไม่ยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจนต้องมีการตรวจสอบหาความจริงจากหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้ด้วยเช่นนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) ทั้งยังเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ทั้งการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในกรณีนี้เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6945/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องระบุเหตุผลเลิกจ้างชัดเจน หากมิได้ระบุเหตุผลตั้งแต่แรก จะไม่อาจยกเหตุภายหลังได้
จำเลยระบุพฤติกรรมของโจทก์และเหตุผลในการเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีที่ร้ายแรงเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายซึ่งระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นอ้างในคำให้การและอุทธรณ์ได้ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อนและโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ต้องทำงานในเวลาปกติ แล้วนำงานเหมาที่จำเลยให้พนักงานรับไปทำในเวลาทำงานปกติเป็นแต่เพียงการละทิ้งหน้าที่ในเวลาไม่นานนัก แม้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานปกติไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนแต่ก็เป็นไปเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์จากงานเหมาของตนเอง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) แม้โจทก์จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างยังสามารถตักเตือนเป็นหนังสือได้ การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อนและโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ต้องทำงานในเวลาปกติ แล้วนำงานเหมาที่จำเลยให้พนักงานรับไปทำในเวลาทำงานปกติเป็นแต่เพียงการละทิ้งหน้าที่ในเวลาไม่นานนัก แม้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานปกติไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนแต่ก็เป็นไปเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์จากงานเหมาของตนเอง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) แม้โจทก์จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างยังสามารถตักเตือนเป็นหนังสือได้ การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยการรับสินบนจากตัวแทนขาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงนายจ้าง
อ. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักร และบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาจัดซื้อ โดยพิจารณาสินค้าจากตัวแทนขายต่าง ๆ การที่ อ. นัดหมายตัวแทนขายรับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ อ. ก็ตาม แต่ อ. ก็ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยและได้เรียกรับเงินจากตัวแทนขายอันเป็นบุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์ เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่: การพิจารณาความหมายของ 'ทุจริต' ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์ที่ได้สุรา 4 ขวดมาจากคู่ค้าของจำเลย เพราะโจทก์เรียกรับเอาเองในขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของจำเลย อันเป็นตำแหน่งที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจ จำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริงทั้งการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจะนำเที่ยวในวันดังกล่าว คู่ค้าหลงเชื่อจึงให้สุราไปความจริงโจทก์กับเพื่อนร่วมงานนำสุราทั้ง 4 ขวด ใช้ในการเที่ยวส่วนตัว การกระทำของโจทก์จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื้อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ และขอบเขตความหมายของคำว่า 'ทุจริต' ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง ก. เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของบริษัท ฮ. เรียกรับสุรา 4 ขวด จากคู่ค้าของบริษัท ฮ. โดยอ้างว่าบริษัท ฮ. จะนำสุราดังกล่าวใช้ในการพาพนักงานเที่ยว แท้จริงแล้ว ก. กับเพื่อนร่วมงานนำสุราทั้ง 4 ขวด ใช้ในการเที่ยวส่วนตัว การกระทำของ ก. ทำในขณะที่ ก. มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจจำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริง จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรงและการจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นวิศวกรฝ่ายผลิตไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารบัญชีการเงิน การที่โจทก์ได้ให้ ส. ลูกจ้างของจำเลยไปเอาบัญชีค่าจ้างมาถ่ายสำเนา เสร็จแล้วก็ได้นำกลับไปคืนที่เดิม แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะเอาบัญชีค่าจ้างนั้นไปเป็นของตน จึงยังไม่เข้าข่ายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลย ส่วนที่โจทก์ถ่ายสำเนาโดยใช้กระดาษและเครื่องถ่ายเอกสารของจำเลย ก็ปรากฏว่าลูกจ้างคนอื่นที่เคยใช้เครื่องถ่ายเอกสารของจำเลยถ่ายเอกสารส่วนตัวเพียงแต่ถูกจำเลยตักเตือนด้วยวาจาเท่านั้น แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรง การกระทำของโจทก์เป็นการถือวิสาสะมากกว่า ไม่มีเจตนาทุจริต ส่วนระเบียบข้อบังคับหมวด 6 ของจำเลยเรื่องความลับเกี่ยวกับข้อมูลบัญชีอัตราค่าจ้างของลูกจ้างมีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังบุคคลภายนอกซึ่งอาจทำให้คู่แข่งทราบถึงรายได้ของพนักงานแล้วเกิดการดึงตัวพนักงานที่มีความรู้ความสามารถไป โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำบัญชีค่าจ้างไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกหรือพนักงานคนใดในบริษัท หรือนำออกนอกบริษัท หรือมีบุคคลภายนอกล่วงรู้ความลับดังกล่าวหรือมีบริษัทใดมาชักชวนพนักงานที่มีความรู้ความสามารถของจำเลยออกไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้างในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นิยามทรัพย์สินใช้สิ้นเปลืองตาม ป.พ.พ. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้ตำแหน่งหน้าที่พิจารณาอนุมัติการยืมทรัพย์สินที่ไม่สามารถยืมได้ เพราะเป็นทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลืองออกนอกบริเวณโรงงาน แต่จำเลยไม่ได้นำระเบียบข้อบังคับมาแสดง ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยก็มิได้ระบุนิยามคำว่า ทรัพย์สินประเภทใช้สิ้นเปลืองไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 ซึ่งหมายถึงทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป แต่ทรัพย์สินที่โจทก์อนุมัติให้ พ. ยืม คือ สายไฟฟ้า ท่อหุ้มสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้าตัวผู้ ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย เบ้าปลั๊กไฟฟ้า ไม่ใช่ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป จึงไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่: การตีความคำว่า 'ทุจริต' ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และความหมายตามพจนานุกรม
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง ถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้ คำว่า "โดยทุจริต" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง โจทก์รับเงิน 100 บาท ที่ ว. ลูกค้าของจำเลยนำมามอบให้โจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขับรถโฟล์กลิฟท์ยกสินค้าให้ ว. ตามปกติเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายเรียกร้องหรือสร้างเงื่อนไขจนเป็นเหตุให้ ว. ต้องมอบเงินดังกล่าวให้โจทก์ กรณียังไม่พอถือว่าโจทก์มีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) และ (4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์