พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7097/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อนายจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์จำนวน 50,000 บาท ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 ซึ่งตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง" และวรรคสองบัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด" เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 13/2546 ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างเป็นเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ แล้วจำเลยทั้งสองไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 13/2546 จึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 วรรคสอง บทบัญญัติดังกล่าวยังถือเป็นขั้นตอนและวิธีการนำคดีไปสู่ศาลตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 8 วรรคท้าย ดังนั้น จำเลยทั้งสองจะดำเนินการใดในเรื่องเดียวกันที่ศาลแรงงานกลางอีกไม่ได้ ซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้คดี จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 13/2546 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7097/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดหากไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน จำเลยหมดสิทธิต่อสู้คดี
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินค่าจ้างเป็นเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ แล้วจำเลยทั้งสองไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง บทบัญญัติดังกล่าวยังถือเป็นขั้นตอนและวิธีการนำคดีไปสู่ศาลตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงจะดำเนินการใดในเรื่องเดียวกันนี้ในศาลแรงงานกลางอีกไม่ได้ ซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้คดี จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041-6048/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ไม่ต้องยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนฟ้อง
แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้ตอนหนึ่งว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน แต่จำเลยมีกำไรและมีทรัพย์สินนับพันล้านบาทสามารถหามาตรการหรือวิธีการอื่นแทนการเลิกจ้างได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดและไม่มีเหตุผลเพียงพอเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและรับผิดจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 124แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ก่อน และไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันสังคมต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อ 2 ตรงตามที่ศาลฎีกาได้กำหนดให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากไม่อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม ฯ มาตรา 85 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติก่อนฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อ 4 ต่อไปอีก จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลที่ศาลแรงงานพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง และขอบเขตของการประนีประนอมยอมความ
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าสิทธิของจำเลยที่1ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่1ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้วเมื่อสิทธิของจำเลยที่1ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วและด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกันศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่1ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน10วันแต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดีทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ตามมาตรา8วรรคท้ายเมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้ คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2และที่3ระบุชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่2กับที่3ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใดๆมากกว่านั้นอีกแสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภทจึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่2และที่3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 60
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของจำเลย อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้องจึงจะฟ้องคดีได้ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ และสิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
บัญญัติในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นเพียงบทที่กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องการพิจารณาข้อร้องทุกข์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจประสงค์จะให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาเท่านั้น มิใช่การกำหนดขั้นตอนซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายก่อนจึงจะมีอำนาจฟ้อง ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะมิได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ โจทก์ทั้งสี่ก็มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 นั้นเป็นการให้โจทก์ทั้งสี่ออกจากงาน ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิให้แก่โจทก์ทั้งสี่