คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดการทุจริต – เริ่มนับแต่วันที่นายจ้างรู้ตัวผู้กระทำผิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ จ. ละเลยไม่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ จ. อันเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ จ. ทุจริตเบียดบังรายได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดนั้นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายต่อศาลแรงงานได้แต่เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่ถูกต้องแท้จริงแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918-1919/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังศาลตัดสินเรื่องค่าชดเชยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
หลังจากถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ถูกต้องจากจำเลยศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพิ่มและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31 เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ เป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุจากการเลิกจ้างของจำเลยเป็นมูล ซึ่งเหตุนี้โจทก์อาจยกขึ้นได้เมื่อฟ้องจำเลยในคดีก่อนแต่มิได้ ฟ้องรวมไปในคราวเดียวกันกลับยกขึ้นฟ้องในภายหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การฟ้องก่อนเกิดข้อพิพาท, วินิจฉัยนอกฟ้อง, และผลกระทบต่อการพิจารณา
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 10 ตุลาคม 2526 ดังนี้ ขณะฟ้องยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การฟ้องก่อนเกิดข้อพิพาทจริง และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 10ตุลาคม 2526 ดังนี้ ขณะฟ้องยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ถูกเพิกถอน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคำสั่งเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าเสียหายโดยอาศัยคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นหลักแห่งข้อหา เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ขาดข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ให้จำเลยต้องรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างคำสั่งดังกล่าวมาเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ได้ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ถูกเพิกถอน ย่อมเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสิ้นสุดลง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าเสียหายโดยอาศัยคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นหลักแห่งข้อหา เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วเช่นนี้ถือว่าโจทก์ขาดข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ให้จำเลยต้องรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างคำสั่งดังกล่าวมาเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ได้ ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: ระเบียบวิธีปฏิบัติภายในบริษัทมิใช่เงื่อนไขตัดสิทธิ, สัญญาให้เสนอข้อพิพาทต่อเจ้าหน้าที่บรูไนมิได้ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลไทย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้นทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วยดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่าย หากมีข้อตกลงเรื่องการระงับข้อพิพาท ไม่ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาล
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้น ทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการฝึกอบรมและเบี้ยปรับ: เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้าง และอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
ธนาคารโจทก์มีระเบียบว่าผู้สอบคัดเลือกได้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้ง จำเลยสอบคัดเลือกได้ โจทก์จึงรับจำเลยเข้าทำการฝึกอบรมและให้จำเลยทำหนังสือรับรองว่า ในกรณีที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้วถ้าจำเลยลาออกจากงานภายใน 18 เดือน นับแต่วันเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมยอมชำระเบี้ยปรับแก่ โจทก์ ดังนี้การที่โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงว่า เป็นความประสงค์ของโจทก์ที่จะให้มีข้อตกลงอันเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน หรือประโยชน์ของโจทก์เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานด้วยหาใช่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยฝ่ายเดียวไม่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับรอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการฝึกอบรมและเบี้ยปรับ เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
ธนาคารโจทก์มีระเบียบว่าผู้สอบคัดเลือกได้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้ง จำเลยสอบคัดเลือกได้ โจทก์จึงรับจำเลยเข้าทำการฝึกอบรมและให้จำเลยทำหนังสือรับรองว่า ในกรณีที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้วถ้าจำเลยลาออกจากงานภายใน 18 เดือน นับแต่วันเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมยอมชำระเบี้ยปรับแก่ โจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงว่า เป็นความประสงค์ของโจทก์ที่จะให้มีข้อตกลงอันเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน หรือประโยชน์ของโจทก์เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานด้วยหาใช่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยฝ่ายเดียวไม่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับรอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
of 17