พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การสิ้นสภาพข้อพิพาทเมื่อลูกจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และการโต้แย้งสิทธิจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุตำแหน่งจำเลยมาในฟ้อง แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่าจำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อาศัยความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งที่ มท 1206/9094 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2515 ของจำเลยโดยระบุตำแหน่งจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์แบ่งรายได้ระหว่างคนขับแท็กซี่กับเจ้าของกิจการ ไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
จำเลยเป็นผู้ผูกขาดกิจการรถแท็กซี่ประจำโรงแรมมีบุคคลนำรถเข้ามาร่วมพร้อมทั้งพนักงานขับรถ ถ้าไม่มีพนักงานขับรถจำเลยจะจัดหาให้ พนักงานขับรถจะต้องจ่ายค่าจอดรถให้จำเลย และต้องจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าซ่อมและค่าบำรุงรักษารถคนละครึ่งกับจำเลยพนักงานขับรถมีรายได้จากผู้ใช้บริการรถที่ตนขับซึ่งจำเลยจะเป็นผู้เก็บรวบรวมไว้เมื่อหักค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกันแล้วจำเลยจึงจัดแบ่งให้ทุกต้นเดือนโดยจำเลยมีสิทธิได้รับ 70 เปอร์เซ็นต์ พนักงานขับรถมีสิทธิได้รับ30 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้ เงินที่พนักงานขับรถมีสิทธิจะได้รับมิใช่เงินของจำเลยมีลักษณะต่างไปจากค่าจ้างซึ่งเป็นเงินของนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับพนักงานขับรถก็มิใช่ความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการใช้ดุลพินิจนายจ้างในการงดเลื่อนขั้นเงินเดือน: การพิจารณาผลงานตามระเบียบ
ระเบียบว่าด้วยการขอเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีมิได้กำหนดขีดขั้นไว้ชัดแจ้งว่า การปฏิบัติงานของลูกจ้างอย่างไรจึงจะถือว่าได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องให้อำนาจแก่นายจ้างโดยเฉพาะที่จะพิจารณาใช้ดุลพินิจ เมื่อนายจ้างได้ใช้ดุลพินิจแล้วว่าโจทก์ปฏิบัติงานไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่ง เป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องงดบำเหน็จจึงเป็นการชอบด้วยระเบียบและเป็นอันยุติตามนั้น ลูกจ้างหามีอำนาจฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยสั่งเป็นอย่างอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการใช้ดุลพินิจนายจ้างในการงดเลื่อนขั้นเงินเดือนและการไม่อาจฟ้องร้องได้หากเป็นการใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
ระเบียบว่าด้วยการขอเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีมิได้กำหนดขีดขั้นไว้ชัดแจ้งว่าการปฏิบัติงานของลูกจ้างอย่างไรจึงจะถือว่าได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องให้อำนาจแก่นายจ้างโดยเฉพาะที่จะพิจารณาใช้ดุลพินิจ เมื่อนายจ้างได้ใช้ดุลพินิจแล้วว่าโจทก์ปฏิบัติงานไม่ได้ผลสมบูรณ์ตามคุณภาพและปริมาณของงานในตำแหน่ง เป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องงดบำเหน็จ จึงเป็นการชอบด้วยระเบียบและเป็นอันยุติตามนั้นลูกจ้างหามีอำนาจฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยสั่งเป็นอย่างอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีบังคับใช้แรงงานที่ไม่ใช่สัญญาจ้าง: ไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องการบังคับใช้แรงงาน มิได้เกิดจากการตกลงจ้างระหว่างโจทก์จำเลย และโจทก์จำเลยก็มิได้มีความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างและนายจ้างกันด้วย ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือ มีคำสั่งของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทน และการพิจารณาความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทนและการพิสูจน์ความเสียหายจากการทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วย เงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานและการแยกพิจารณาค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โดยไม่มีความผิดและมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งยังไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายนั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ด้วย เมื่อนายจ้างและลูกจ้างประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกจ้างยอมรับค่าชดเชย ค่าครองชีพและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตกลงยอมสละข้ออ้างและคำขออื่นทั้งหมด จะไม่รื้อร้องฟ้องคดีเกี่ยวกับมูลความเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการตกลงระงับสิทธิของลูกจ้าง ที่จะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์เลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าวอีก
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยังศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยังศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานและการระงับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โดยไม่มีความผิดและมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าทั้งยังไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายนั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ด้วย เมื่อนายจ้างและลูกจ้างประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกจ้างยอมรับค่าชดเชย ค่าครองชีพและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและตกลงยอมสละข้ออ้างและคำขออื่นทั้งหมด จะไม่รื้อร้องฟ้องคดีเกี่ยวกับมูลความเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการตกลงระงับสิทธิของลูกจ้าง ที่จะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์เลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมดังกล่าวอีก
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยัง ศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่
แม้ลูกจ้างจะนำคดีเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมมาฟ้องยัง ศาลแรงงานกลางก่อนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการ ข้ามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 และขัดกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้ายก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลาง พิพากษาตามยอมและไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดีถึงที่สุดคำพิพากษาตามยอม ย่อมมีผลบังคับและผูกพันคู่ความ
คำฟ้องของลูกจ้างที่กล่าวว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า การคำนวณค่าชดเชยไม่ถูกต้องและไม่ยอมจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการฟ้องบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอันเป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแม้ลูกจ้างจะยอมความกับนายจ้างโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรต่อกันอีก ก็หมายถึงค่าเสียหายที่เรียกร้องกันได้ในคดีดังกล่าวเท่านั้นหาหมายความถึงค่าเสียหายในกรณีเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างในตำแหน่งกรรมการจัดการ: การจ่ายค่าจ้าง เงินสะสม และการคาดคะเนการทุจริต
การที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและมีตำแหน่งเป็นกรรมการจัดการบริษัทจำเลยนั้น แม้โจทก์จะได้รับตำแหน่งด้วยการเลือกจากผู้ถือหุ้น และต้องอยู่ในตำแหน่งตามวาระที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์คือผู้บริหารงานของบริษัทซึ่งมีรายได้เป็นเงินเดือนหรือที่เรียกว่าค่าตอบแทนรายเดือน และโจทก์ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ในสวัสดิการของบริษัทเช่นเดียวกับพนักงานอื่นอีกด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทเพื่อรับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรายเดือน อันนับได้ว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกันเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกันเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์