พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์ตามกฎหมายประกันสังคมส่งผลต่อการมีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมาตรา 85แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ประกันสังคม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 บัญญัติให้ นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นใดที่ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว กรณีของโจทก์เป็นการยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาซึ่งศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 2 แล้ว ซึ่งหากกรณีฟังได้ดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังที่พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8วรรคท้าย บัญญัติไว้ ศาลแรงงานกลางจึงควรพิจารณาในประเด็นข้อ 2 ก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ก่อน ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงาน ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องกรณีลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลา หากไม่ยื่นตามกำหนด จะไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมาตรา 85แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537บัญญัติให้ นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นใดที่ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว กรณีของโจทก์เป็นการยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาซึ่งศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 2 แล้วซึ่งหากกรณีฟังได้ดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ ศาลแรงงานจึงควรพิจารณาในประเด็นข้อ 2 ก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ก่อน ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงาน ให้ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีค่าจ้างและค่าชดเชยโดยไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้
กรณีที่จะต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนแล้วจึงจะฟ้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสองนั้นจะต้องเป็นกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นแต่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยจาก จำเลยทั้งสอง นอกจากจะมิใช่คดีเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โดยเป็นคดีเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว ในการฟ้องเรียกเงินดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามวิธีการที่กำหนด โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหาอำนาจฟ้องก่อน
เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนั้นจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ต้องตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลแรงงานกลางหามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองไม่เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิพนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องคดีโดยไม่ต้องร้องทุกข์ก่อน: อำนาจฟ้องมีได้แม้เป็นฝ่ายบริหาร
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ พ.ศ. 2534 มิได้มีบทบัญญัติใดบังคับว่าก่อนฟ้องคดีต่อศาลพนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ และอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสียก่อน บทบัญญัติมาตรา 11(3)และมาตรา 18(2) เป็นเพียงแต่กำหนดไว้ว่าคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงาน (หากมีการร้องทุกข์) และพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของพนักงานที่อุทธรณ์ขึ้นมาเท่านั้น ดังนี้ แม้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องคดีโดยไม่ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์และอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสียก่อน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคแรกที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้น ฯลฯ" ส่วนในวรรคสี่และวรรคหก บัญญัติไว้เป็นใจความว่า ผู้ร้องหรือสมาคมซึ่งไม่พอใจผลการพิจารณาคำร้องทุกข์ดังกล่าวของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบผลการพิจารณา คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด เห็นได้ว่าคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์จะมีอำนาจหน้าที่พิจารณาในการนี้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์เท่านั้นไม่ได้หมายความว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บังคับให้จำต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ไม่ จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดี มาสู่ศาล ตามนัยมาตรา 8 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522เมื่อคดีนี้สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข: การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการละเมิดสัญญาจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ หากศาลฟังว่าเป็นการเลิกจ้าง ก็เป็นการเลิกจ้างด้วยความเป็นธรรมเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากโรงงานผู้ขายสินค้ากับประกอบกิจการค้าอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับจำเลยและเปิดเผยความลับในทางการค้าของจำเลย ทำให้จำเลยเสียหาย ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเพราะเหตุละเมิดดังกล่าวให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการไม่ยอมรับว่ามีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามฟ้องเดิมของโจทก์เลย เว้นแต่ศาลจะฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เสียก่อน จึงจะไปพิจารณาในปัญหาข้อพิพาทอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ภายหลังฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขที่ไม่สมควรจะรับไว้พิจารณากับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ไม่ใช่กฎหมายแรงงาน การฟ้องคดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองการทำงาน ไม่เป็นเหตุฟ้องไม่รับ
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างหรือลูกจ้าง ดังนั้น จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีโดยไม่รอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยก่อนก็ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานต้องมีความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิม หากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างกัน ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแม้ว่าทิ้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตามแต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่นำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีวินัย – การสอบสวนทางวินัยไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยโจทก์ทั้งสองข้อหากระทำผิดวินัยเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ โจทก์ทั้งสองจะมีความผิดหรือไม่ก็ต้องรอผลการสอบสวนก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง