พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การพิจารณาตามกฎหมายในขณะนั้น และอำนาจฟ้อง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเลิกจ้าง จะนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ เมื่อสิทธิต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องนั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้างไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์จะต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ต้องรอขั้นตอน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้อยู่แล้วหากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง หาจำเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติพ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีกไม่ ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯแม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์ก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ แต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสั่งคืนงานกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงาน-รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการตรวจรับน้ำมันที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของน้ำมัน
จำเลยทั้งเจ็ดได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการตรวจรับน้ำมันให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีระเบียบในการนี้ว่ากรรมการตรวจรับน้ำมันทุกคนจะต้องร่วมกันตรวจรับ โดยตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถยนต์บรรทุกน้ำมันว่าตรงกับที่ตรวจสอบไว้แล้วหรือไม่ ตรวจวาล์วและตราที่ปิดผนึกไว้มีรอยชำรุดหรือไม่ เปิดฝาถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมันตรวจดูว่ามีน้ำมันท่วมแป้นหรือไม่ ตรวจในถังน้ำมันว่ามีน้ำปลอมปนหรือไม่ เมื่อตรวจถูกต้องแล้วให้เปิดท่อน้ำมันจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันต่อเข้าท่อสูบน้ำมันขึ้นไปสู่ถังเก็บน้ำมันใหญ่และดำเนินการให้น้ำมันในรถยนต์บรรทุกน้ำมันถ่ายลงจากรถทั้งหมด แล้วจึงจะมีการเข็นรับน้ำมันในใบรับของและใบส่งของ ระเบียบดังกล่าวมีไว้เพื่อตรวจสอบมิให้มีการส่งน้ำมันมาไม่ครบถ้วนและป้องกันไม่ให้มีการถ่ายน้ำมันออกจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่หมดแล้วถูกเบียดบังไปจำเลยทั้งเจ็ดจึงต้องร่วมกันตรวจรับและควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนหากแบ่งหน้าที่กันทำแล้วจะไม่สามารถควบคุมได้ การที่จำเลยทั้งเจ็ดไม่ร่วมกันตรวจสอบน้ำมันตามระเบียบของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้มีการส่งน้ำมันให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แม้จำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้ร่วมกันทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยไม่ต้องนำสืบว่าการบกพร่องต่อหน้าที่ของจำเลยแต่ละคนหรือแต่ละคราวดังกล่าวนั้น เป็นเหตุให้โจทก์สูญเสียน้ำมันไปจำนวนเท่าใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อการอนุมัติสินเชื่อผิดระเบียบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยเป็นลูกจ้างและกรรมการบริษัทโจทก์โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการ จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความว่าจำเลยเคยเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและตามทางนำสืบของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่
จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่
จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อนายจ้างจากความเสียหายอันเกิดจากการอนุมัติสินเชื่อผิดระเบียบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยเป็นลูกจ้างและกรรมการบริษัทโจทก์โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการ จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความว่าจำเลยเคยเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและตามทางนำสืบของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติ และจงใจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า 9 ราย รวมเป็นเงิน16,300,000 บาท โดยมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน 9 แปลง ตีราคาตามราคาประเมินได้ราคาไม่คุ้มหนี้ ลูกค้าทั้ง 9 ราย จึงไม่ยอมชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา โจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกค้าทั้ง 9 รายเพียง 31,041.09 บาท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ลูกค้าค้างชำระคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์รวมตลอดถึงค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยชัดแจ้งแล้วหาใช่เป็นกรณีที่ความเสียหายยังไม่เกิดและไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จำเลยอนุมัติให้ลูกค้ากู้เงินโดยผิดระเบียบ โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตีราคาตามราคาประเมิน แต่ที่ดินอาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมินที่โจทก์กล่าวอ้างจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับราคาประเมิน แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้จากตัวลูกหนี้และหลักประกัน จึงไม่อาจทราบความเสียหายที่แท้จริงได้ ดังนั้นถ้ามีการบังคับจำนองที่ดินที่เป็นหลักประกันได้ราคาที่ดินมามากกว่าราคาประเมินตามฟ้องโจทก์ ราคาที่ดินส่วนที่มากกว่านี้ย่อมเป็นคุณแก่จำเลย ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นค่าเสียหายที่เป็นหนี้เงินตามจำนวนที่จำเลยให้ลูกค้ากู้ยืมโดยฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก คืออัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี มิใช่ดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าของโจทก์ตามสัญญากู้ในทางการค้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ และการประเมินค่าเสียหายจากหลักประกัน
เมื่อฟัง ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และมีอายุความ 10 ปี จำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติสินเชื่อของบริษัทโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกค้าของโจทก์กู้เงินไปจากโจทก์โดยผิดขั้นตอนหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติจำนวน 16,300,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นประกันตามราคาประเมินเพียง 4,618,500 บาท โจทก์ติดตามขอรับชำระหนี้จากลูกค้าของโจทก์ได้เพียง 31,041.09 บาทเท่านั้นเช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้คืน เงินต้น ที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้จำนวน 16,268,958.91 บาท ให้แก่โจทก์ ส่วนที่ดิน 9 แปลงที่ลูกค้าจำนองไว้เป็นประกันนั้นโจทก์สามารถบังคับมาชำระหนี้ได้ส่วนหนึ่งจึงต้องนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยแต่เนื่องจากที่ดินทั้ง 9 แปลงนี้อาจจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับจำนอง ราคาประเมิน 4,618,500 บาท จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงในการประเมินค่าเสียหาย จะนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยเพียงเท่าราคาประเมินไม่ได้ ถ้า มีการบังคับจำนองที่ดินทั้ง 9 แปลงนั้นได้มากกว่าราคาประเมิน จะต้องนำราคาส่วนที่เกินนี้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ด้วย ดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 18ต่อปีนั้น เป็นอัตราที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้จากจำเลย คงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวันเลิกจ้าง แต่ฟ้องหลังมีข้อพิพาทแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง