คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวัน แต่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่16 สิงหาคม 2532 แต่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533ซึ่ง เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นค่าสินไหมทดแทน แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ ก็เนื่องจากโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมโดยอาศัยฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างและจำเลยเป็นนายจ้าง เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับจากจำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน หาใช่เป็นค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด ตามมาตรา42(13) ไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นค่าสินไหมทดแทน แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ ก็เนื่องจากโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมโดยอาศัยฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างและจำเลยเป็นนายจ้าง เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับจากจำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน หาใช่เป็นค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด ตามมาตรา 42(13) ไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นค่าสินไหมทดแทน แต่เป็นเงินได้จากการจ้างงาน ต้องเสียภาษี
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาศัยฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างและจำเลยเป็นนายจ้าง เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับจากจำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน หาใช่เป็นค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด ตามมาตรา 42(13) ไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องแรงงาน: การพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง และการฟังข้อเท็จจริงสอดคล้องกับฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันทุจริตกับจำเลยที่ 1 โดยนำน้ำมันหล่อลื่นจำนวน 2 ถัง ขนาดถังละ 209 ลิตรราคาถังละ 5,747.50 บาท รวมเป็นเงิน 11,495 บาท ไปขายและเป็นประโยชน์เพื่อตนเองโดยทุจริต แสดงว่าโจทก์มิได้เจาะจงชนิดและคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยที่ 2 นำไปขายโดยทุจริต เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้นำน้ำมันหล่อลื่น1 ถังไปจริง ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้นำน้ำมันหล่อลื่นตามฟ้องของโจทก์ไปแล้ว แม้จะปรากฏว่าน้ำมันหล่อลื่นถังดังกล่าวมีน้ำผสมอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าดำเนินธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับองค์กร ความรับผิดของกรรมการและผู้บริหาร
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่งอะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตามคำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอนใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้วในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายได้ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้องได้มีผู้มาติดต่อแนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนินธุรกิจเลย และตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยมิชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้ บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่ง อะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้ กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใด เคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตาม คำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอน ใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้ บรรยายโดย แจ้งชัดถึง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ ศาลแพ่งได้ จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้ มีคำวินิจฉัยของอธิบดี ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าต้อง ฟ้องตาม เรื่องเดิม คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วย ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้ว ในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตน เป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อ แผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่ง เป็นหัวหน้าแผนกขายได้ ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจโดย ไม่มีผู้มาขอรับ และจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ โดย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้อง ได้มีผู้มาติดต่อ แนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจเลยและตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อ โดย ไม่ได้ระบุชื่อ ผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่ง รักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้ไปโดย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้อง ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่ตรวจสอบหลักฐานและจ่ายเงินโดยมิชอบ ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่งอะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไร เมื่อใดและทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใด ไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาทั้งตามคำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอนใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา จึงไม่เคลือบคลุม.
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิดแต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะจำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อศาลแรงงานกลางในเรื่องใดย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นถึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจพ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อสั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เป็นการสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยตรง ไม่ผ่านการติดต่อของ ว.ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากข้อ 5 แล้ว ข้อ 7 กำหนดให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณา ตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายทำบันทึกเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ เสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนว่า ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ หรือไม่จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ ให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นหน้าที่ตามสัญญาจ้าง: ความรับผิดแม้มีการแปลงหนี้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โดยขายสินค้าเงินเชื่อให้แก่ลูกค้าของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเกินวงเงินที่โจทก์อนุญาต และเกินวงเงินที่ธนาคารมีหนังสือค้ำประกัน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ต่อมาจะมีการแปลงหนี้จากหนี้ที่ลูกค้าซื้อสินค้าเชื่อมาเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเดิมแทน ทำให้หนี้ค่าซื้อสินค้าระงับไปก็ตาม ก็หาทำให้มูลหนี้ที่จำเลยที่ 1จงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหมดสิ้นไปไม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างละเว้นหน้าที่ขายเชื่อเกินวงเงิน นายจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โดยขายสินค้าเงินเชื่อให้แก่ลูกค้าของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเกินวงเงินที่โจทก์อนุญาต และเกินวงเงินที่ธนาคารมีหนังสือค้ำประกันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ต่อมาจะมีการแปลงหนี้จากหนี้ที่ลูกค้าซื้อสินค้าเชื่อมาเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเดิมแทนทำให้หนี้ค่าซื้อสินค้าระงับไปก็ตาม ก็หาทำให้มูลหนี้ที่จำเลยที่ 1จงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหมดสิ้นไปไม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างได้.
of 17