คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีขัดทรัพย์ต้องเป็นไปตามมาตรา 54 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ภายใน 15 วัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลแรงงานกลาง คดีจึงเป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามวิธีที่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54กล่าวไว้โดยเฉพาะ นั่นคือ จะกระทำได้ก็แต่เฉพาะ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น จะอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หลังจากพ้นกำหนดให้อุทธรณ์นั้นแล้วมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้างจากละเมิดและสัญญาจ้าง: คดีแรงงานหรือไม่
ลูกจ้างกระทำความผิดอาญา ศาลพิพากษาปรับ นายจ้างได้ชำระค่าปรับและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแทนลูกจ้าง แล้วลูกจ้างทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวแก่นายจ้างแต่ไม่ชำระ ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาในสัญญาจ้างข้อ 11 ว่า หากลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ลูกจ้างยอมชดใช้จนครบถ้วนก็ตาม คดีที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างให้ชำระหนี้ดังกล่าวก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1)ทั้งมิใช่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพราะการชำระค่าปรับเป็นหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างหาจำต้องรับโทษปรับร่วมกับลูกจ้างไม่ นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคดีแรงงาน
ลูกจ้างขับรถยนต์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกโดยละเมิดตามทางการที่จ้าง นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นเรื่องที่ลูกจ้างได้กระทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 11 ของสัญญาจ้างดังกล่าวแล้ว คดีที่นายจ้างฟ้องเรียกเงินที่ตนได้ชำระแก่บุคคลภายนอกแทนลูกจ้างไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 นายจ้างมีอำนาจฟ้องเป็นคดีแรงงานได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคดีแรงงาน: ความเสียหายจากละเมิดและสัญญาจ้าง, อำนาจฟ้องศาลแรงงาน
ลูกจ้างกระทำความผิดอาญา ศาลพิพากษาปรับ นายจ้างได้ชำระค่าปรับและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแทนลูกจ้าง แล้วลูกจ้างทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวแก่นายจ้างแต่ไม่ชำระ ดังนี้ แม้จะมีข้อสัญญาในสัญญาจ้างข้อ 11 ว่า หากลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ลูกจ้างยอมชดใช้จนครบถ้วนก็ตาม คดีที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างให้ชำระหนี้ดังกล่าวก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8 (1) ทั้งมิใช่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพราะการชำระค่าปรับเป็นหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างหาจำต้องรับโทษปรับร่วมกับลูกจ้างไม่ นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคดีแรงงาน
ลูกจ้างขับรถยนต์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกโดยละเมิดตามทางการที่จ้าง นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นเรื่องที่ลูกจ้างได้กระทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 11 ของสัญญาจ้างดังกล่าวแล้ว คดีที่นายจ้างฟ้องเรียกเงินที่ตนได้ชำระแก่บุคคลภายนอกแทนลูกจ้างไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 นายจ้างมีอำนาจฟ้องเป็นคดีแรงงานได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ไม่ต้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่า โจทก์กระทำผิดวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ปัญหาจึงมีเพียงว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ คดีไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่าเมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้วหากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใดจำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่า เมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้ว หากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใด จำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วน ต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์ โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม มาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: การรับผิดของลูกจ้างและนายจ้างจากการกระทำละเมิด
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่า เมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้ว หากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใด จำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน, ฟ้องซ้อน, ตัวแทนสัญญาจ้าง, ความรับผิดจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัท ท. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศ บริษัท ท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ ดังนี้เป็นคดีพิพาทด้วยนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 (1) อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานส่วนจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์หรือไม่หรือรับผิดเท่าใดเป็นอีกกรณีหนึ่ง มิได้หมายความว่า เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดแล้ว คดีไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 วรรคสอง ห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนไปแล้ว คดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณา แม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทตัวการ ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบหมายอำนาจแต่เฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตาม จำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ไม่ทำให้ฐานะของจำเลยเปลี่ยนเแปลงไปโดยไม่เป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปได้
บริษัทตัวการไม่สามารถให้โจทก์ทำงานในต่างประเทศได้ตามปกติจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างแรงงานโดยจัดให้โจทก์เข้าทำงานในเดือนแรก ส่วนเดือนต่อ ๆ มาโจทก์มิได้เข้าทำงานและมิได้รับค่าจ้างซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่ เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวแทน, ฟ้องซ้อน, และการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศต่อมาบริษัทท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริงเพียงแต่ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุอื่นจึงเป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ป.วิ.พ.มาตรา173วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีนั้นแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งจะถือว่าคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้าม จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบอำนาจเฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการแม้ว่าจำเลยจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ก็ไม่ทำให้ฐานะความเป็นตัวแทนของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปการที่บริษัทตัวการจัดให้โจทก์เข้าทำงานได้ในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้ทำงานและมิได้รับค่าจ้างโดยมิใช่เป็นความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามป.พ.พ.มาตรา824.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้มีการถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศบริษัทท.ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทด้วยนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานส่วนจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์หรือไม่หรือรับผิดเท่าใดเป็นอีกกรณีหนึ่งมิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดแล้วคดีไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา73วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้งอคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนก็ตามเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทตัวการไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบหมายอำนาจแต่เฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา797การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ไม่ทำให้ฐานะของจำเลยเปลี่ยนเแปลงไปโดยไม่เป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปได้ บริษัทตัวการไม่สามารถให้โจทก์ทำงานในต่างประเทศได้ตามปกติจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างแรงงานโดยจัดให้โจทก์เข้าทำงานในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้เข้าทำงานและมิได้รับค่าจ้างซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824.
of 17