คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้หนี้เป็นเรื่องกู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับหนี้ ศาลไม่รื้อฟื้นประเด็นอำนาจศาล
แม้หนี้ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแรงงานจะเป็นเรื่องกู้ยืมเงินอันไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งในปัญหาข้อนี้ไว้ทั้งยอมรับว่าเป็นหนี้จำเลยตามฟ้องแย้งจริงเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำฟ้องแย้งแก่จำเลยศาลฎีกาเห็นไม่สมควรยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นอำนาจศาลแรงงานในคดีกู้ยืมเงิน เพราะโจทก์ไม่โต้แย้งตั้งแต่แรก
แม้หนี้ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแรงงานจะเป็นเรื่องกู้ยืมเงินอันไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งในปัญหาข้อนี้ไว้ทั้งยอมรับว่าเป็นหนี้จำเลยตามฟ้องแย้งจริงเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำฟ้องแย้งแก่จำเลยศาลฎีกาเห็นไม่สมควรยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามอุทธรณ์ประเด็นที่ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว และประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟัง
ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมและคดีขาดอายุความไปแล้ว และย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาในประเด็นข้ออื่น เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีใหม่ จำเลยจะยกปัญหาดังกล่าวซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยยุติไปแล้วขึ้นอุทธรณ์อีกไม่ได้ ต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เมื่อโจทก์จำเลยมิใช่นายจ้างลูกจ้างกันแล้ว กรณีโจทก์จำเลยจึงไม่ใช่คดีพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ที่จำนำคดีมาฟ้องยังศาลแรงงานได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การเลิกจ้างของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหาย พิพากษายกคำขอของโจทก์ในข้อนี้และโจทก์มิได้อุทธรณ์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง จำเลยมีสิทธิ์เลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายและถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์มิใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าชดเชย ฯลฯ แก่โจทก์ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาระสำคัญของฟ้องคือผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุฐานความผิดเป็นละเมิด ศาลต้องพิจารณาอายุความตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า "ละเมิดเรียกค่าเสียหาย"ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า "ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย" แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน"เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะของฟ้องผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุข้อหาละเมิด สารัตถะยังคงเป็นเรื่องผิดสัญญา อายุความใช้ตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า 'ละเมิดเรียกค่าเสียหาย'ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า 'ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย' แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า 'จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน'เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์จ้างแรงงาน: คนงานเหมาประจำมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อเกษียณอายุ
โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นคนงานเหมาประจำได้ค่าจ้างเป็นรายเทการทำงานต้องเซ็นชื่อไปและกลับแม้ไม่มีงานให้ทำการ ลางานต้องยื่นใบลาการบังคับบัญชาขึ้นต่อหมวดพัสดุมี สิทธิได้รับค่าครองชีพเบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียนบุตร ได้ มีสิทธิทำงานไปจนเกษียณอายุคนงานประเภท เหมาชั่วคราวของจำเลยไม่มีสิทธิต่าง ๆ ดังกล่าว การจ่ายค่าแรงของคนงานเหมาประจำหากได้ค่าแรงน้อยกว่าเดือนละ 530 บาท ก็จะได้รับ 530 บาท แสดงว่าจำเลยมิได้คำนึงถึงผลสำเร็จ แห่งงานที่โจทก์ทำให้จำเลยแม้การจ่ายค่าแรงจำเลยจะคิด ให้แก่ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุราจากจำนวนเทของสุราที่บรรจุขวดและผู้ทำหน้าที่ล้างขวดสุราจำเลยจ่ายค่าแรงให้เท่ากับ ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุรา การคิดค่าแรงตามจำนวนเทจึงเป็นเพียงวิธีการคำนวณค่าจ้างเท่านั้นไม่ใช่การคิดค่าแรงงานตาม ผลงานที่คนงานประจำทำได้ในแต่ละวันความสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน
เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ปัญหาว่าการที่โจทก์จะมีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จหรือไม่ ก็ไม่ทำให้สภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์เปลี่ยน ไปเป็นไม่ใช่ลูกจ้างปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่เป็นสาระแก่การ วินิจฉัย
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน การคำนวณค่าชดเชยของโจทก์จึงต้องคิดจากค่าจ้างของการทำงานที่ โจทก์ได้รับจริงในหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเหมาประจำมีสิทธิค่าชดเชย แม้จ่ายค่าแรงตามผลงาน การคำนวณต้องใช้ค่าจ้าง 180 วันสุดท้าย
โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นคนงานเหมาประจำได้ค่าจ้างเป็นรายเทการทำงานต้องเซ็นชื่อไปและกลับแม้ไม่มีงานให้ทำการ ลางานต้องยื่นใบลาการบังคับบัญชาขึ้นต่อหมวดพัสดุมี สิทธิได้รับค่าครองชีพ เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียนบุตร ได้ มีสิทธิทำงานไปจนเกษียณอายุคนงานประเภท เหมาชั่วคราวของจำเลยไม่มีสิทธิต่างๆดังกล่าว การจ่ายค่าแรงของคนงานเหมาประจำหากได้ค่าแรงน้อยกว่าเดือนละ530บาทก็จะได้รับ 530 บาทแสดงว่าจำเลยมิได้คำนึงถึงผลสำเร็จ แห่งงานที่โจทก์ทำให้จำเลยแม้การจ่ายค่าแรงจำเลยจะคิด ให้แก่ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุราจากจำนวนเทของสุราที่บรรจุขวดและผู้ทำหน้าที่ล้างขวดสุราจำเลยจ่ายค่าแรงให้เท่ากับ ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุรา การคิดค่าแรงตามจำนวนเทจึงเป็นเพียงวิธีการคำนวณค่าจ้างเท่านั้นไม่ใช่การคิดค่าแรงงานตาม ผลงานที่คนงานประจำทำได้ในแต่ละวันความสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ปัญหาว่าการที่โจทก์จะ มีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จหรือไม่ ก็ไม่ทำให้สภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์เปลี่ยน ไปเป็นไม่ใช่ลูกจ้างปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่เป็นสาระแก่การ วินิจฉัย ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน การคำนวณค่าชดเชยของโจทก์จึงต้องคิดจากค่าจ้างของการทำงานที่ โจทก์ได้รับจริงในหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับ – การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานให้ทำช่วงเวลาที่อยู่เวร
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานจริง การอยู่เวรก็ถือเป็นการทำงาน
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดการทุจริตของผู้อื่น โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ จ. ละเลยไม่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ จ. อันเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ จ. ทุจริตเบียดบังรายได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดนั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายต่อศาลแรงงานได้ แต่เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่ถูกต้องแท้จริงแล้วหรือไม่
of 17