พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้างจากค่าเที่ยว และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเนื่องจาก ส. ประสบอุบัติเหตุตกจากรถและแขนขวาได้รับบาดเจ็บ ส. จึงไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเพราะได้รับค่าเที่ยวน้อยลง และ ส. แสดงใบรับรองแพทย์ภายหลังโจทก์เลิกจ้าง ส. แล้ว ส. จึงมีเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่ศาลสั่งจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อนุมัติให้สมาชิกกู้โดยไม่มีผู้ค้ำประกันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แต่มิใช่กรณีร้ายแรง และไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) กรณีผิดนัดไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 6458-6461/2544 ให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับคดีเกี่ยวกับการกู้เงินซึ่งอาจทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงมีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับคดีเกี่ยวกับการกู้เงินซึ่งอาจทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงมีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055-4056/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน
ศาลแรงงานกลางตรวจสำนวนโดยพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานที่คู่ความส่งต่อศาลและสอบถามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้นั้น เป็นการรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 และ 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงาน โจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบโจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย การกระทำของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 (2) และ (3)
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงาน โจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบโจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย การกระทำของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 (2) และ (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055-4056/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีแรงงาน และการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยกรณีฝ่าฝืนระเบียบ
ป.วิ.พ. มาตรา 84 หมายความว่า คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดคู่ความฝ่ายนั้นต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์สนับสนุนข้อเท็จจริงนั้น แต่ว่าคู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้หรือซึ่งศาลเห็นว่าไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เนื่องจากข้อเท็จจริงนั้นอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว การที่ศาลแรงงานกลางได้ตรวจสำนวนโดยพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความส่งต่อศาลและสอบถามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้นั้น เป็นการรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 และ 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 แล้ว
การฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ต้องเป็นการฝ่าฝืนในกรณีร้ายแรงหรือกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนสำหรับการฝ่าฝืนในกรณีไม่ร้ายแรง ปรากฏว่าในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงานโจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบ โจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย เป็นการกระทำที่มีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อน จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (2) และ (3)
การฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ต้องเป็นการฝ่าฝืนในกรณีร้ายแรงหรือกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนสำหรับการฝ่าฝืนในกรณีไม่ร้ายแรง ปรากฏว่าในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงานโจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบ โจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย เป็นการกระทำที่มีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อน จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (2) และ (3)