พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างอดีตภรรยา (โดยไม่ได้จดทะเบียน) และภรรยาที่จดทะเบียนเมื่อทรัพย์สินมาจากหลายแหล่ง
จำเลยมีภริยาชื่อ อ.โดยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาจำเลยกับโจทก์ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และได้รับจ้างทำทองรูปพรรณและดูแลกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณจนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2536 แล้วได้เลิกร้างกันในระหว่างที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยนั้น จำเลยได้ทรัพย์สินมาคือ ที่ดินมีโฉนดและอาคารพาณิชย์และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 2 คัน สิทธิตามสัญญาเช่าอาคารศูนย์การค้า เครื่องทองรูปพรรณในร้านทองเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ วิทยุ นาฬิกาข้อมือวิทยุโทรศัพท์ และเข็มขัดเงิน การที่โจทก์กับจำเลยได้ประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณร่วมกัน แม้โจทก์จะไม่ได้ร่วมลงทุนเป็นทรัพย์สิน แต่โจทก์ก็ได้ลงทุนด้วยแรงงาน ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ระหว่างที่อยู่กินร่วมกันดังกล่าวย่อมเป็นของโจทก์และจำเลยคนละเท่า ๆ กันโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ แต่การประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณของโจทก์ที่ทำร่วมกับจำเลยได้แยกต่างหากจากการที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณร่วมกับ อ. ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยได้นำเงินส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์ กับเงินส่วนที่เป็นสินสมรสของจำเลยกับอ.ไปซื้อทรัพย์ที่พิพาทระคนปนกัน ไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นเงินส่วนใดมากกว่ากันจึงต้องแบ่งทรัพย์ที่พิพาทดังกล่าวเป็นสี่ส่วน เป็นของจำเลยสองส่วน คือส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์หนึ่งส่วน และส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในฐานะที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ อ.อีกหนึ่งส่วน โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงหนึ่งในสี่ส่วน สำหรับทรัพย์ที่พิพาทส่วนที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำเลยได้มาหลังจากที่โจทก์อยู่กินเป็นภริยาจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิหนึ่งในสี่ส่วน ส่วนดินและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารมาซื้อ และจำเลยได้จำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคาร โจทก์ต้องรับผิดชอบในหนี้จำนองดังกล่าวร่วมกับจำเลยตามส่วนของโจทก์ที่มีอยู่ในทรัพย์สินดังกล่าว คือจำนวนหนึ่งในสี่ส่วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกคบ การพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินโดยคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสี่ของทรัพย์สินทั้งหมด
จำเลยมีภริยาชื่อ อ. โดยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาจำเลยกับโจทก์ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และได้รับจ้างทำทองรูปพรรณและดูแลกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณจนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2536 แล้วได้เลิกร้างกันในระหว่างที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยนั้น จำเลยได้ทรัพย์สินมาคือ ที่ดินมีโฉนดและอาคารพาณิชย์และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 2 คัน สิทธิตามสัญญาเช่า อาคารศูนย์การค้า เครื่องทองรูปพรรณในร้านทองเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ วิทยุ นาฬิกาข้อมือวิทยุโทรศัพท์และเข็มขัดเงิน การที่โจทก์กับจำเลยได้ประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณร่วมกัน แม้โจทก์จะไม่ได้ร่วมลงทุนเป็นทรัพย์สิน แต่โจทก์ก็ได้ลงทุนด้วยแรงงาน ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ระหว่างที่อยู่กินร่วมกันดังกล่าวย่อมเป็นของโจทก์และจำเลยคนละเท่า ๆ กันโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้แต่การประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณของโจทก์ที่ทำร่วม กับจำเลยได้แยกต่างหากจากการที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้าง ทำทองรูปพรรณร่วมกับ อ. ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยได้นำเงินส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์ กับเงินส่วนที่ เป็นสินสมรสของจำเลยกับ อ. ไปซื้อทรัพย์ที่พิพาทระคนปนกัน ไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นเงินส่วนใดมากกว่ากัน จึงต้องแบ่งทรัพย์ที่พิพาทดังกล่าวเป็นสี่ส่วน เป็นของจำเลย สองส่วน คือส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์หนึ่งส่วน และส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในฐานะที่เป็นสินสมรสระหว่าง จำเลยกับ อ. อีกหนึ่งส่วน โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงหนึ่งในสี่ส่วน สำหรับทรัพย์ที่พิพาท ส่วนที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำเลยได้มาหลังจาก โจทก์อยู่กินเป็นภริยาจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิ หนึ่งในสี่ส่วน ส่วนดินและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยกู้เงิน จากธนาคารมาซื้อ และจำเลยได้จำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคาร โจทก์ต้องรับผิดชอบในหนี้จำนองดังกล่าวร่วมกับจำเลย ตามส่วนของโจทก์ที่มีอยู่ในทรัพย์สินดังกล่าว คือจำนวน หนึ่งในสี่ส่วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ: กรรมสิทธิ์เดิมสิ้นสุด แต่มีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่าจะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม
ช.เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณ-ประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้ว แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช.เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
ช.เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณ-ประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้ว แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช.เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้ เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ แม้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และจำกัดสิทธิการโอน/ใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่า จะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม ช. เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้วแม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช. เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคืนการครอบครองที่ดิน: การแยกแยะ 'การถูกรบกวน' กับ 'การถูกแย่ง' และการชำระค่าธรรมเนียมในนามโจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องเป็นคำให้การต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครอง เป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375 วรรคสอง การถูกรบกวน การครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกันเมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องการครอบครองที่ดิน และข้อผิดพลาดในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครองโจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้อง เป็นคำให้การต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1374วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครองเป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375วรรคสอง การถูกรบกวนการครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้องโดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้องโดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก การสิ้นสุดประทานบัตรไม่ทำให้สิทธิครอบครองเดิมสิ้นสุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย โดยโจทก์ซื้อสิทธิในกิจการเหมืองแร่และสิทธิในการครอบครองที่ดินจากบริษัท ซ. และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนเองมาโดยตลอด ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตามประทานบัตรแล้ว ยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิมอีกด้วย สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่แต่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตประทานบัตรการทำเหมืองแร่ได้
โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดินที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละรายให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการสละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ.เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ. ผู้รับโอนมาจากบริษัท อ. อีกต่อหนึ่ง จึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดินที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละรายให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการสละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ.เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ. ผู้รับโอนมาจากบริษัท อ. อีกต่อหนึ่ง จึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินและสิทธิทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ประทานบัตรหมดอายุ สิทธิครอบครองยังคงอยู่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วยโดยโจทก์ซื้อสิทธิในกิจการเหมืองแร่และสิทธิในการ ครอบครองที่ดินจากบริษัท ซ. และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนเองมาโดยตลอด ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตาม ประทานบัตรแล้ว ยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิม อีกด้วย สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้น เป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหาก จากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใด โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาต ให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครอง ซึ่งมีอยู่แต่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย โจทก์จึงสามารถ มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขต ประทานบัตรการทำเหมืองแร่ได้ โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดิน ที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอ ให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการ ครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละราย ให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการ สละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้ โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือ ครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิ ครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็น ที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ. เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ.ผู้รับโอนมาจากบริษัทอ. อีกต่อหนึ่งจึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์ สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์: จำเลยต้องโต้แย้งสิทธิครอบครองโจทก์จึงจะพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองตลอดมาโจทก์ขอรังวัดออกโฉนดทั้งแปลง เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่ารังวัดล้ำที่ดินจำเลยไม่ออกโฉนดให้โจทก์ จำเลยทอดทิ้งไม่เคยทำประโยชน์พิพาท โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองที่ดินของจำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินของจำเลยจนได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 และ 1375 แล้วก็ตามแต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองของโจทก์ดังกล่าวอย่างใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์ - จำเลยไม่โต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองตลอดมาโจทก์ขอรังวัดออกโฉนดทั้งแปลง เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่ารังวัดล้ำที่ดินจำเลยไม่ออกโฉนดให้โจทก์ จำเลยทอดทิ้งไม่เคยทำประโยชน์พิพาท โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองที่ดินของจำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินของจำเลยจนได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 และ 1375 แล้วก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองของโจทก์ดังกล่าวอย่างใด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้