คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1374

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองที่ดิน เกินกำหนด 1 ปี หมดสิทธิฟ้อง
เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ดินแทนโจทก์ได้ไปล้อมรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้าน จำเลยที่ 1 และ ส.ซึ่งเป็นบุตรสาวจำเลยที่ 2 ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า จ.ได้ขุดดินเพื่อฝังเสาจะทำรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยทั้งสองครอบครองอยู่ และเจ้าพนักงานตำรวจได้เรียก จ. มาสอบถามแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินทางแพ่ง จึงแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายไปดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินก่อน และให้ทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ในการไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองอันเป็นการรบกวนและแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ โจทก์ทราบการแสดงเจตนาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ฝ่ายจำเลยไปแจ้งความเสียหาย และโจทก์ชอบที่จะฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกรบกวนและถูกแย่งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374,1375 แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนด 1 ปีแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - การรบกวนการครอบครอง - ข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการเกษตร - ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า น.สละการครอบครองและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จำเลยทั้งสองได้สิทธิครอบ-ครองแล้วนั้น ฎีกาประเด็นดังกล่าวจำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จะตกอยู่ในบังคับตามเงื่อนไขห้ามโอนตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ.2511ก็ตาม โจทก์คงมีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวได้ ส่วนจะได้กรรมสิทธิหรือไม่เพียง-ใดเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์ แต่ราษฎรด้วยกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาทอันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า & อำนาจฟ้องขับไล่ - กรณีที่ดินจัดสรรเพื่อการเกษตร
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า น. สละการครอบครองและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จำเลยทั้งสองได้สิทธิครอบครองแล้วนั้น ฎีกาประเด็นดังกล่าวจำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จะตกอยู่ในบังคับตามเงื่อนไขห้ามโอนตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. 2511 ก็ตาม โจทก์คงมีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวได้ ส่วนจะได้กรรมสิทธิ์หรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์ แต่ราษฎรด้วยกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาทอันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินแม้มีข้อจำกัด โจทก์ยังมีสิทธิขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองได้
แม้การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จะตกอยู่ในบังคับตามเงื่อนไขห้ามโอนที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ก็ตาม แต่โจทก์ยังคงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท และย่อมมีสิทธิขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในห้องแถวบนป่าสงวน: สัญญาเช่าผูกพันแม้ราษฎรยึดครองโดยมิชอบ สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่า
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของ เมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอมรับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลยเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในห้องแถวบนที่ดินป่าสงวน: สิทธิระหว่างเอกชนย่อมมีผลผูกพัน แม้ที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันเมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอม รับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาท จากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิก สัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกีดขวางทางเข้าออกร้านค้าด้วยแผงลอยเป็นการละเมิด ทำให้เจ้าของร้านมีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
แผงลอยกับรถเข็นของจำเลยวางอยู่ริมทางเท้าของถนนสาธารณะแต่ปิดบังหน้าร้านและข้างร้านของโจทก์บางส่วน แม้โจทก์จะผ่านเข้าออกร้านของโจทก์ในส่วนอื่นได้บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการไม่สะดวกเท่าที่ควร เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันทายาท ผู้รับโอนสิทธิครอบครองย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินที่ตกลงแบ่งให้
มารดาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้จำเลยตามบันทึกข้อตกลง ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลย จำเลยย่อมได้สิทธิในที่ดินส่วนนี้ดังที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรืออีกนัยหนึ่ง มารดาโจทก์ยอมเสียสิทธิในที่ดินส่วนที่ได้ตกลงทำบันทึกไว้แสดงว่าเป็นของจำเลยนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนการครอบครองจากมารดาก็ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินส่วนดังกล่าวที่ตกเป็นของจำเลยนั้นแล้ว จึงไม่มีอำนาจห้ามจำเลยเข้ามาเกี่ยวข้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ยื่นคำขอประทานบัตรและการฟ้องร้องกรณีบุกรุกพื้นที่ทำเหมืองแร่
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรเท่านั้น ซึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขอประทานบัตรเสียได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ ถ้ามีผู้มาขุดแร่ต้องถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในพื้นที่คำขอประทานบัตร: ผู้ยื่นคำขอไม่มีอำนาจฟ้องผู้บุกรุก เนื่องจากสิทธิยังไม่สมบูรณ์และแร่เป็นสมบัติของรัฐ
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรเท่านั้น ซึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขอประทานบัตรเสียได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ ถ้ามีผู้มาขุดแร่ต้องถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 25