พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเพื่ออาศัยสิทธิเจ้าของ ไม่เกิดสิทธิครอบครอง แม้ครอบครองนานเกินหนึ่งปี โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ การครอบครองที่ดินของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมานานเกินกว่าหนึ่งปีก็หาได้เกิดสิทธิครอบครองของจำเลยเองไม่ หากโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในความเสียหายจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารและการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างนายจ้างกับผู้รับเหมา
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทที่มีผนังตึกร่วมกันแม้ข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความจะไม่ปรากฏชัดว่าผนังตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยึดถือและใช้สอยผนังตึกพิพาทร่วมกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองผนังตึกพิพาทร่วมกัน เมื่อโจทก์ ถูกกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผนังตึกแตกร้าว เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นสามโดยจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ทำให้สำเร็จตามความต้องการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการจ้างทำของ ดังนั้นการงานที่จำเลยที่ 2และลูกจ้างได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทำเกิดไปละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดเองจะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ดี เพียงแต่เลือกเอาผู้รับเหมาก่อสร้างธรรมดาที่ไม่มีความรู้ไม่มีเครื่องมือที่ดี จำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อในการหาผู้รับจ้าง แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของนายจ้างและผู้รับเหมาต่อความเสียหายจากละเมิด และขอบเขตการฟ้องคดี
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทที่มีผนังตึกร่วมกันแม้ข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความจะไม่ปรากฏชัดว่าผนังตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยึดถือและใช้สอยผนังตึกพิพาทร่วมกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองผนังตึกพิพาทร่วมกัน เมื่อโจทก์ ถูกกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผนังตึกแตกร้าว เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นสามโดยจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ทำให้สำเร็จตามความต้องการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการจ้างทำของ ดังนั้นการงานที่จำเลยที่ 2และลูกจ้างได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทำเกิดไปละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดเองจะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยไม่ได้
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ดี เพียงแต่เลือกเอาผู้รับเหมาก่อสร้างธรรมดาที่ไม่มีความรู้ไม่มีเครื่องมือที่ดี จำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อในการหาผู้รับจ้าง แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นสามโดยจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ทำให้สำเร็จตามความต้องการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการจ้างทำของ ดังนั้นการงานที่จำเลยที่ 2และลูกจ้างได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกระทำเกิดไปละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดเองจะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยไม่ได้
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ดี เพียงแต่เลือกเอาผู้รับเหมาก่อสร้างธรรมดาที่ไม่มีความรู้ไม่มีเครื่องมือที่ดี จำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อในการหาผู้รับจ้าง แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนการบุกรุกที่ดินสาธารณะของผู้ใหญ่บ้าน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครอง
ที่พิพาทซึ่ง เรียกว่าหนองอีเบี้ย โจทก์ทั้งสองได้ แจ้ง การครอบครองไว้แล้วจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ รับการร้องเรียนจากราษฎรประมาณ 92 คน ว่า โจทก์บุกรุกที่พิพาทอันเป็นหนองสาธารณะจำเลยจึงได้ ร้องเรียนนายอำเภอให้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบที่พิพาทตาม กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ มาตรา 122 การกระทำของจำเลย ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ หรือรบกวนการครอบครองของโจทก์แต่ อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้บุตรโดยการให้ครอบครอง และสิทธิการครอบครองเหนือที่ดินมรดก
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ พูดยกที่ดินมือเปล่าให้แก่บุตรแต่ละคน โดยบุตรคนไหนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินส่วนใด ก็ยกที่ดินส่วนนั้นให้ โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปขอรับมรดกที่ดินพิพาท ซึ่งมี ส.ค.1 แล้วขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จึงหาทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยการบอกกล่าวและการครอบครองปรปักษ์ แม้มี ส.ค.1 ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองของผู้อื่นสิ้นไป
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้ พูดยกที่ดินมือเปล่าให้แก่บุตรแต่ละคน โดย บุตรคนไหนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินส่วนใด ก็ยกที่ดินส่วนนั้นให้ โจทก์ซึ่ง เป็นบุตรเจ้ามรดกได้ ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปขอรับมรดกที่ดินพิพาท ซึ่ง มี ส.ค.1 แล้วขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แต่ เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จึงหาทำให้จำเลยได้ สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้บุตรโดยการครอบครอง และสิทธิในที่ดินเมื่อมีการรับมรดก
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้พูดยกที่ดินมือเปล่าให้แก่บุตรแต่ละคนโดยบุตรคนไหนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินส่วนใด ก็ยกที่ดินส่วนนั้นให้ โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปขอรับมรดกที่ดินพิพาท ซึ่งมี ส.ค.1 แล้วขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จึงหาทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920-2921/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยมิชอบและการฟ้องคดีเกินกำหนด การกระทำโดยใช้เอกสารปลอมไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่มีโฉนดและมอบให้ผู้อื่นเช่าทำนาอยู่ การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมยื่นเรื่องราวขอหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์และโอนที่พิพาทให้จำเลย จนเจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นของจำเลยนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาท โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920-2921/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาทุจริตและการฟ้องคดีเกิน 1 ปี การกระทำด้วยเอกสารปลอมไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่มีโฉนดและมอบให้ผู้อื่นเช่าทำนาอยู่ การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมยื่นเรื่องราวขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโอนที่พิพาทให้จำเลย จนเจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นของจำเลยนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาท โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649-2660/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การเข้าครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ และการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่พิพาทเป็นที่ดินของรัฐ อันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และการยึดถือครอบครองของโจทก์ก็มิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการยึดถือครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์จะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่า 1 ปีแล้ว และคงอยู่ตลอดมาจนถึงวันฟ้องก็ เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและหามีสิทธิที่จะขอห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินและขอให้จำเลยถอนคำขอที่ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออก น.ส.3 ก ได้ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ เนื่องจากถือได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้จำเลยครอบครองที่พิพาทได้แล้ว เพียงแต่อยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อออกหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินให้จำเลยเท่านั้น.