พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการยักยอกทรัพย์ ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นผู้เสียหาย
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ของหุ้นส่วนผู้จัดการทำให้หุ้นส่วนอื่นเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & อำนาจร้องทุกข์ของผู้อำนวยการนิติบุคคล: เพียงพอ & ชอบด้วยกม.
แม้หนังสือที่ผู้มอบอำนาจมีไปถึงสารวัตรใหญ่ จะไม่เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจทำไว้กับผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจมีไปถึงพนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้มอบอำนาจขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์แทน เมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือนั้นไปยื่นต่อพนักงานสอบสวนและร้องทุกข์แทนตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหนังสือนี้ย่อมเพียงพอที่พนักงานสอบสวนจะยึดถือไว้เป็นหลักฐานในสำนวนว่าคดีมีการร้องทุกข์โดยผู้มีอำนาจแล้ว การที่หนังสือดังกล่าวระบุว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจให้ใครมาร้องทุกข์เรื่องอะไร และมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจลงไว้ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ในหนังสือด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 1058/2520)
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคล เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลาย จะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนวยการของนิติบุคคล ถือได้ว่าเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคล และมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคล เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลาย จะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนวยการของนิติบุคคล ถือได้ว่าเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคล และมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & อำนาจร้องทุกข์ของผู้อำนวยการนิติบุคคล: เพียงพอสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้หนังสือที่ผู้มอบอำนาจมีไปถึงสารวัตรใหญ่ จะไม่เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจทำไว้กับผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจมีไปถึงพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งให้ทราบว่า ผู้มอบอำนาจขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์แทน เมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือนั้นไปยื่นต่อพนักงานสอบสวนและร้องทุกข์แทนตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หนังสือนี้ย่อมเพียงพอที่พนักงานสอบสวนจะยึดถือไว้เป็นหลักฐานในสำนวนว่า คดีมีการร้องทุกข์โดยผู้มีอำนาจแล้ว การที่หนังสือดังกล่าวระบุว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจให้ใครมาร้องทุกข์เรื่องอะไร และมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจลงไว้ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ในหนังสือด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 1058/2520)
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคลเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไป ของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลายจะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนายการของนิติบุคคล ถือได้วาเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลและมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคลเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไป ของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลายจะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนายการของนิติบุคคล ถือได้วาเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลและมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการยักยอกทรัพย์ ผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกความเสียหาย
กรรมการกับผู้อื่นยักยอกทรัพย์ของบริษัท กรรมการไม่ฟ้องคดีอาญา ผู้ถือหุ้นเป็นผู้เสียหายฟ้องกรรมการและผู้อื่นนั้น ขอให้ลงโทษฐานยักยอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้น เมื่อผู้บริหารนิติบุคคลกระทำผิดและไม่ฟ้องคดี
กรณีความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทนนั้นถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนเหล่านั้นเป็นผู้กระทำผิดต่อนิติบุคคลเสียเองดังนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นย่อมได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)ประกอบด้วยมาตรา 2(4)(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1742/2503 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของตัวแทนบริษัทต่างชาติในไทย: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการร้องทุกข์ทางอาญา
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศสาธารณรัฐเวียตนาม และประธานกรรมการบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาบริษัทของโจทก์ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทยมีอำนาจดำเนินการปฏิบัติแทนและในนามของบริษัทในเรื่องการสัมพันธ์ติดต่อรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชน สำนักงานหนังสือพิมพ์ และสาธารณชนทั่วไปได้ดังนั้น เมื่อต่อมาจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยทำหน้าที่พนักงานขายตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วไม่นำเงินค่าตั๋วส่งให้สาขาบริษัทโจทก์ ผู้จัดการสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจร้องทุกข์หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์แทนบริษัทต่างชาติ: ผู้จัดการสาขาชอบธรรมในการมอบอำนาจแจ้งความดำเนินคดีอาญา
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศสาธารณรัฐเวียตนาม และประธานกรรมการบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาบริษัทของโจทก์ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทย มีอำนาจดำเนินการปฏิบัติแทนและในนามของบริษัทในเรื่องการสัมพันธ์ติดต่อรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชน สำนักงานหนังสือพิมพ์ และสาธารณชนทั่วไปได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยทำหน้าที่พนักงานขายตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้ว ไม่นำเงินค่าตั๋วส่งให้สาขาบริษัทโจทก์ ผู้จัดการสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจร้องทุกข์หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเปลี่ยนแปลงตามผู้มีอำนาจของนิติบุคคล ต้องยึดทะเบียนนิติบุคคลเป็นหลัก
แม้ในขณะยื่นฟ้อง กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ได้ แต่ต่อมาผู้ที่มีอำนาจกระทำการเป็นผู้แทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว สิทธิที่จะจัดการแทนโจทก์ของกรรมการผู้จัดการคนเดิมย่อมสิ้นสุดลง
การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเปลี่ยนแปลงตามผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท: การถอนฟ้องโดยผู้มีอำนาจปัจจุบันชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในขณะยื่นฟ้องกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ได้ แต่ต่อมาผู้ที่มีอำนาจกระทำการเป็นผู้แทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว สิทธิที่จะจัดการแทนโจทก์ของกรรมการผู้จัดการคนเดิมย่อมสิ้นสุดลง
การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก