พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การกระทำผิดกรรมเดียว แม้ชำระเงินต่างเวลากัน หากการรับเงินเป็นผลจากการกระทำเดิม
คดีฉ้อโกงประชาชนข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ค. พวกของจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคนละวันเวลากัน แต่สถานที่เกิดเหตุเป็นที่เดียวกันหรือบริเวณเดียวกัน ดังนั้น ถือว่าจำเลยกับพวกได้หลอกลวงพวกผู้เสียหายในเวลาเดียวกัน แม้พวกผู้เสียหายหลงเชื่อมาชำระเงินให้ ค. หรือจำเลยในภายหลังในวันเวลาที่ไม่ตรงกันก็ไม่เป็นการกระทำผิดหลายกรรม เพราะการรับเงินเป็นผลที่เกิดจากการกระทำ หาใช่การกระทำขึ้นใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การพิสูจน์เจตนาและบทบาทในการกระทำความผิดร่วม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แม้จำเลยจะฎีกาอ้างอิงข้อกฎหมายมาประกอบ แต่เป็นข้อกฎหมายที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: ศาลลงโทษตามกรรมเดียวได้หากฟ้องไม่ชัดเจน
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดการกระทำของจำเลยให้ปรากฏพอที่จะให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นแต่ละกรรมแยกตามจำนวนผู้เสียหายนอกเหนือไปจากคำฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องและการลงโทษจำเลยตามจำนวนผู้เสียหาย
เมื่อตาม คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดการกระทำของจำเลยให้ปรากฏพอที่จะให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นแต่ละกรรมแยกตาม จำนวนผู้เสียหายนอกเหนือไปจากคำฟ้องหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง-อายุความ-การหลอกลวงหางาน-ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ตัวแทนของจำเลยได้ติดต่อกับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตามมาตรา 341 ดังกล่าวซึ่งเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ให้รับผลตามคำพิพากษาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างฉ้อโกงประชาชนกับฉ้อโกงทั่วไป และอายุความ
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา 341 ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน vs. ฉ้อโกงธรรมดา และความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความเจตนาและองค์ประกอบความผิด
จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายให้ประกอบกิจการจัดหางาน แต่จำเลยได้ใช้การประกอบกิจการจัดหางานเป็นกลอุบายหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ผู้เสียหายหลงเชื่อเพื่อให้ส่งมอบเงินค่าบริการแก่จำเลย การหลอกลวงดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนโดยทั่วไป เพียงแต่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่บ้าน แล้วพวกผู้เสียหายก็ชวนกันไปสมัครงานกับจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับเงินค่าบริการจากคนหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยบรรยายฟ้องในข้อหาฉ้อโกงประชาชนว่า ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาและไม่สามารถที่จะจัดส่งผู้ใดไปทำงานได้ตามที่ได้หลอกลวงไว้แต่อย่างใด เช่นนี้แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายแต่ประการใด จำเลยเพียงแต่อ้างการจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชน แม้กฎหมายจัดหางานมีการแก้ไข
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 7 ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้ใช้คืนแก่ผู้เสียหาย เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อย ทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองหางาน พ.ศ.2511 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจำเลยกระทำในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3
แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองหางาน พ.ศ.2511 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจำเลยกระทำในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การรับสารภาพต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิด หากโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลมีความว่า "จำเลยได้มาอาศัยอยู่กับ ม.ซึ่งหลบหนีไปแล้ว วันเกิดเหตุผู้เสียหายมาสมัครไปทำงานต่างประเทศกับ ม. ม.ให้จำเลยเขียนใบรับเงินให้เนื่องจากเห็นว่าจำเลยมีความรู้และขณะนั้นเสมียนไม่มาทำงาน แล้วผู้เสียหายมอบเงินให้ ม. จำเลยไม่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด แต่เมื่อเป็นความผิดจำเลยก็รับสารภาพ ......" ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การที่รับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน - จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต - การรับฟังพยาน - ปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณาแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวและไม่สามารถจัดหางานตามที่โฆษณาได้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานก็เพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าไม่สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ ข้อความที่จำเลยแสดงต่อประชาชนเป็นความเท็จการที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยโฆษณาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเป็นความเท็จอย่างไร จึงลงโทษจำเลยไม่ได้นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ชาวบ้านหนองผักชีว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานยังเกาะไซปัน ประเทศฟิลิปปินส์ เงินเดือนสูง รายได้ดี ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นความจริงความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้สมัครไปทำงานตามที่จำเลยโฆษณาได้ จำเลยได้ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยการหลอกลวงดังกล่าวมีประชาชนไปสมัครงานกับจำเลย จำนวน 12 คน ได้เสียค่าบริการ ค่านายหน้าให้แก่จำเลย เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 แล้ว ไม่เคลือบคลุม
พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่จำเลยกับพวกได้ออกให้ผู้เสียหายโดยการถ่ายภาพรวมสำเนาไว้แล้ว แม้จะคืนต้นฉบับให้ผู้เสียหายไป ก็ถือได้ว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวน
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าไม่สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ ข้อความที่จำเลยแสดงต่อประชาชนเป็นความเท็จการที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยโฆษณาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเป็นความเท็จอย่างไร จึงลงโทษจำเลยไม่ได้นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ชาวบ้านหนองผักชีว่า จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครคนงานไปทำงานยังเกาะไซปัน ประเทศฟิลิปปินส์ เงินเดือนสูง รายได้ดี ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นความจริงความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานในกรุงเทพมหานคร และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้สมัครไปทำงานตามที่จำเลยโฆษณาได้ จำเลยได้ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยการหลอกลวงดังกล่าวมีประชาชนไปสมัครงานกับจำเลย จำนวน 12 คน ได้เสียค่าบริการ ค่านายหน้าให้แก่จำเลย เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 แล้ว ไม่เคลือบคลุม
พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่จำเลยกับพวกได้ออกให้ผู้เสียหายโดยการถ่ายภาพรวมสำเนาไว้แล้ว แม้จะคืนต้นฉบับให้ผู้เสียหายไป ก็ถือได้ว่าใบเสร็จดังกล่าวเป็นเอกสารส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวน