พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาหลอกลวงต้องเป็นการโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป ไม่ใช่บุคคลที่รู้จักกันดี จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองโฆษณาหลอกลวงผู้ที่มาเข้าโบสถ์ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนในบริษัท ท. สามารถส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศได้แต่บุคคลเหล่านั้นต่างเป็นคนหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันนับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกัน ปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันจำเลยทั้งสองเป็นครูย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้าน การโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี ย่อมมิใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใด จึงยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาต่อกลุ่มบุคคลที่รู้จัก ไม่ถือเป็นการฉ้อโกงต่อสาธารณชน
จำเลยทั้งสองเป็นครู รู้จักหรือเป็นที่รู้จักของบุคคลในหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันเป็นอย่างดี นับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกันปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี หาใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใดไม่ การโฆษณาของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีฉ้อโกง: วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายจำนวนมาก และการพิจารณาโทษจำเลย
แม้วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายคดีนี้ พนักงานสอบสวนจะกระทำแตกต่างกับการสอบปากคำในคดีอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป เพราะผู้เสียหายคดีนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนองเดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงิน และวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและพนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียกเข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ยืนยันว่าได้สอบถามผู้เสียหาย ผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้างถ้าไม่ผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้ ก็ไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวนหรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจ หรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่นอันจะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงโดยไม่จำกัดตัวผู้ถูกหลอกลวง
จำเลยมีเจตนาหลอกลวงบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดตัวผู้ถูกหลอกลวงว่าเป็นผู้ใด จำเลยมีเจตนาหลอกลวงทุกคนที่ทราบเรื่องแล้วมาสมัครงานกับจำเลยและพวก โดยมิได้มีเจตนาที่จะหลอกลวงเฉพาะผู้เสียหายบางคนที่จำเลยเป็นผู้ชักชวนให้ไปทำงานที่ประเทศอังกฤษเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในประเด็นการประกาศโฆษณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343,86 ให้จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าการหลอกลวงของจำเลยมิได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่วไปพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,86จำคุก 1 ปี 4 เดือน แม้เป็นการแก้ไขมากแต่จำคุกไม่เกิน 2 ปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาว่า พฤติการณ์ของจำเลยตามคำเบิกความของพยานโจทก์แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่วไปแล้วฎีกาของโจทก์เท่ากับโต้เถียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่าจำเลยมิได้ประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่วไปไม่ถูกต้องเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงในการแนะนำรักษาพยาบาล และการสิ้นผลของกฎหมายเก่าเมื่อมีกฎหมายใหม่
จำเลยที่ 4 เคยรักษาโรคเบาหวานกับจำเลยที่ 1 โดยเชื่อว่าเป็นแพทย์สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ ต่อมาอาการเจ็บป่วยของจำเลยที่ 4 ทุเลาลง ทำให้เกิดความเลื่อมใสในความสามารถรักษาโรคของจำเลยที่ 1 จึงได้แนะนำให้ ล. รักษาโรคกับจำเลยที่ 1 จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 มีเจตนาหลอกลวง ล.ให้รักษาโรคกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมและตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวมิใช่คนละกรรม และตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5934/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกซ้อนทับในคดีอาญาหลายกระทง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโทษไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
คดีแรกศาลพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาฉ้อโกง จำคุก 4 ปี นับแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2528 คดีหลังศาลพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหา ฉ้อโกงประชาชน ความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน รวมจำคุก 20 ปี นับแต่วันที่ 8 เมษายน2528 เมื่อศาลมิได้พิพากษาให้นับโทษ ในคดีหลังต่อจากคดีแรกโทษจำคุกในคดีแรกจึงซ้อนและเกลื่อนกลืน ไปกับโทษจำคุกในคดีหลัง จำเลยจึงมิได้รับโทษเกินกว่า 20 ปี ไม่ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกง - การแอบอ้างชื่อบริษัทเพื่อรวบรวมใบยาสูบ ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริตเพื่อไม่ชำระค่าสินค้า
จำเลยที่ 1 ได้เปิดกิจการรับซื้อใบยาสูบที่โกดังของจำเลยที่ 1 โดยแอบอ้างขึ้นป้ายโฆษณาว่าเป็นสถานที่รวบรวมใบยาสูบของบริษัท บ. มีจำเลยที่ 4 ออกทุนให้ดำเนินการแล้วรวบรวมใบยาสูบส่งไปให้ ส.กับพวกนำไปขายแก่บริษัท บ.ในโควตาของจำเลยที่ 5 ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ไม่เคยค้างชำระค่าใบยาสูบแก่ผู้ขายรายใด ผู้เสียหายได้ปลูกใบยาสูบโดยไม่ชอบและได้นำไปขายที่โกดังของจำเลยที่ 1 โดยรู้ดีว่าไม่ใช่สถานที่รับซื้อใบยาสูบของบริษัท บ. แต่ไม่ได้รับชำระค่าใบยาสูบจากจำเลยที่ 1 เพราะ ส.ยังขายใบยาสูบของผู้เสียหายไม่ได้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้เพียงว่า จำเลยแอบอ้างชื่อบริษัท บ.ใช้โฆษณาเพื่อให้ประชาชนนำใบยาสูบมาขายให้เท่านั้น จำเลยหาได้มีเจตนาจะไม่ชำระค่าใบยาสูบอันจะถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริตแต่อย่างใดไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ไม่ได้ฎีกาให้ไม่ต้องรับโทษด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่ชำระหนี้และการฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาหลอกลวงแต่ไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยที่ 1 ได้เปิดกิจการรับซื้อใบยาสูบที่โกดังของจำเลยที่ 1โดยแอบอ้างขึ้นป้ายโฆษณาว่าเป็นสถานที่รวบรวมใบยาสูบของบริษัทบ. มีจำเลยที่ 4 ออกทุนให้ดำเนินการแล้วรวบรวมใบยาสูบส่งไปให้ส.กับพวกนำไปขายแก่บริษัทบ.ในโควตาของจำเลยที่ 5ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ไม่เคยค้างชำระค่าใบยาสูบแก่ผู้ขายรายใดผู้เสียหายได้ปลูกใบยาสูบโดยไม่ชอบและได้นำไปขายที่โกดังของจำเลยที่ 1 โดยรู้ดีว่าไม่ใช่สถานที่รับซื้อใบยาสูบของบริษัท บ.แต่ไม่ได้รับชำระค่าใบยาสูบจากจำเลยที่ 1 เพราะ ส. ยังขายใบยาสูบของผู้เสียหายไม่ได้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้เพียงว่า จำเลยแอบอ้างชื่อบริษัท บ. ใช้โฆษณาเพื่อให้ประชาชนนำใบยาสูบมาขายให้เท่านั้น จำเลยหาได้มีเจตนาจะไม่ชำระค่าใบยาสูบอันจะถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริตแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ไม่ได้ฎีกาให้ไม่ต้องรับโทษด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง vs. ฉ้อโกงประชาชน: การเช่าพระเครื่องแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ และความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหาย 4 คนได้ทราบว่าที่วัด พ. มีพระเครื่องซึ่งเป็นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีให้เช่าบูชา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นผู้นำออกให้เช่าผู้เสียหายทั้งสี่จึงไปเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1รับรองว่าพระเครื่องดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ได้มาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งความจริงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เคยทรงจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวและไม่เคยทรงพระราชทานแก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โฆษณาให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการให้เช่าพระเครื่อง หากเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายทั้งสี่ทราบข่าวมาเองแล้วมาติดต่อขอเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้จากการให้เช่าพระเครื่องส่วนหนึ่งไปปรับปรุงซ่อมศาลากรรมฐานของวัดดังกล่าว แต่พฤติการณ์การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการร้ายแรงนำความเสื่อมเสียมาสู่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและพุทธศาสนาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1.