คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 343

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนและ พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ การกระทำต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว แต่ผิดหลายบท
จำเลยทั้งสองกับพวกจัดตั้งบริษัทขึ้นและหลอกลวงประชาชนโดยกระทำต่อเนื่องกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนมอบเงินให้จำเลยทั้งสองกับพวกคนละคราวกัน ก็ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 กระทงหนึ่ง และเมื่อพ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงกระทำผิดต่อไปอีก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามมาตรา 4, 5, 12 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว อีกกระทงหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ แม้หลอกลวงหลายกลุ่ม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 มีกำหนด 1 เดือน และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 5 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวและลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี ความผิดทั้งสองฐานจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนต่างกรรมต่างวาระ: ศาลฎีกาแก้โทษเพิ่มกระทงความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 มีกำหนด 1 เดือน และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 5 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวและลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี ความผิดทั้งสองฐานจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานทราบการหลอกลวง แต่ยังรับสมัครงานต่อ เข้าข่ายสนับสนุนการฉ้อโกง
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงาน ของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมาตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงานการรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กระทำผิดจำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการหลอกลวงประชาชนเพื่อเงินประกันการเข้าทำงาน จำเลย 4 มีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงานของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมา ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงาน การรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 กระทำผิด จำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญา – มาตรา 341 และ 343 ต้องระบุวรรคความผิดให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 และ 343จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ จะปรับบทลงโทษทั้งสองมาตราโดยไม่ระบุว่ามาตรา 343 เป็นความผิดวรรคใด นั้นไม่ ถูกต้อง เพราะเมื่อลงโทษตาม มาตรา 343 แล้วก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 341 อีกแต่ ต้อง ระบุวรรคด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ในการทำงานต่างประเทศถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดย วิธี ประกาศโฆษณา ณที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดย ทางหนังสือพิมพ์ หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศ กับจำเลยตาม ที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ทางการเงินถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดยวิธีประกาศโฆษณา ณ ที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดยทางหนังสือพิมพ์หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศกับจำเลยตามที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยแสวงหาผู้ฝากเงินโดยแจ้งเงื่อนไขเท็จ แต่ไม่ได้ทรัพย์สิน และการกระทำไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดของพนักงานในหน่วยงานของรัฐ
ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า จำเลยได้ทำการหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงของจำเลยดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน และธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคาร ออมสิน แก่จำเลย กรณีดังกล่าวแม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลยการหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์นั้น ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นแม้จะฟังได้ว่าจำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโดยตรง แต่ธนาคารจ่ายเงินตามระเบียบ ไม่ใช่ผลจากการหลอกลวง และการหาผู้ฝากไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินและธนาคารออมสินได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินแก่จำเลย แม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคารออมสินได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลย การหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินเท่านั้นจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยเป็นพนักงานธนาคารออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวดังนั้น แม้จำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11
of 21