คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 343

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของพนักงานรัฐ: การหลอกลวงเพื่อหาผู้ฝากเงินไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหากไม่ได้ทรัพย์สิน
ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า จำเลยได้ทำการหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงของจำเลยดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน และธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคาร ออมสิน แก่จำเลย กรณีดังกล่าวแม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลยการหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์นั้น ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นแม้จะฟังได้ว่าจำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะใช้แบบพิมพ์คำร้องเป็นคำฟ้องอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นข้ออื่น จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาไม่ได้
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้เถียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวนและยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์เกินกรอบคำขอเดิม และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะใช้แบบพิมพ์คำร้องเป็นคำฟ้องอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นข้ออื่น จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาไม่ได้ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้เถียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดไต่สวนและยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจัดหางานต่างประเทศ: จำเลยชักจูงผู้เสียหายรับเงิน แต่ไม่ได้จัดหางานจริง มีความผิดทั้งฉ้อโกงและประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยเป็นผู้ติดต่อชักจูงให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศ และรับเงินบางส่วนจากผู้เสียหายไว้ ทั้งยังเป็นผู้เขียนแผนที่ให้ผู้เสียหายเดินทางไปหาพวกจำเลยที่กรุงเทพฯ เมื่อผู้เสียหายไม่ได้เดินทางไปทำงาน จำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับพวกจำเลยเพื่อให้คืนเงินแก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะที่แบ่งแยกหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยกับพวกหาใช่เป็นแต่เพียงผู้แนะนำให้ผู้ประสงค์จะไปทำงานในต่างประเทศติดต่อกับผู้ที่จะจัดส่งเองโดยตรงเท่านั้นไม่ และการที่จำเลยกับพวกรับเงินผู้เสียหายไปแล้วไม่ดำเนินการให้ผู้เสียหายได้เดินทางไปทำงานตามที่จำเลยกับพวกพูดรับรองไว้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง.
จำเลยกับพวกเคยส่งบุคคลอื่นไปไต้หวันโดยให้ถือหนังสือเดินทางนักท่องเที่ยวแล้วมีนายจ้างมาคัดเลือกไปทำงานเมื่อไปถึง โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จัดหางานจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจ จัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจัดหางานต่างประเทศ: เจตนาทุจริตและประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยเป็นผู้ติดต่อชักจูงให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศและรับเงินค่าใช้จ่ายบางส่วนจากผู้เสียหายไว้ ทั้งยังเป็นผู้เขียนแผนที่ให้ผู้เสียหายเดินทางไปหาพวกจำเลยที่กรุงเทพฯ เมื่อผู้เสียหายไม่ได้เดินทางไปทำงาน จำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับพวกจำเลยเพื่อให้คืนเงินแก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะที่แบ่งแยกหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยกับพวก และการที่จำเลยกับพวกรับเงินผู้เสียหายไปแล้วไม่ดำเนินการให้ผู้เสียหายได้เดินทางไปทำงานตามที่พูดรับรองไว้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยกับพวกเคยส่งบุคคลอื่นไปทำงานต่างประเทศโดยให้ถือหนังสือเดินทางนักท่องเที่ยวแล้วมีนายจ้างมาคัดเลือกไปทำงานเมื่อไปถึงโดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจัดหางานจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน เพื่อไปทำงานในต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจัดหางานต่างประเทศและการประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยเป็นผู้ติดต่อชักจูงให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศและรับเงินบางส่วนจากผู้เสียหายไว้ ทั้งยังเป็นผู้เขียนแผนที่ให้ผู้เสียหายเดินทางไปหาพวกจำเลยที่ กรุงเทพฯ เมื่อผู้เสียหายไม่ได้เดินทางไปทำงาน จำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับพวกจำเลยเพื่อให้คืนเงินแก่ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะที่แบ่งแยกหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยกับพวก หาใช่เป็นแต่เพียงผู้แนะนำให้ผู้ประสงค์จะไปทำงานในต่างประเทศติดต่อกับผู้ที่จะจัดส่งเองโดยตรงเท่านั้นไม่และการที่จำเลยกับพวกรับเงินผู้เสียหายไปแล้วไม่ดำเนินการให้ผู้เสียหายได้เดินทางไปทำงาน ตามที่จำเลยกับพวกพูดรับรองไว้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยกับพวกเคยส่งบุคคลอื่นไป ไต้หวัน โดยให้ถือหนังสือเดินทานักท่องเที่ยวแล้วมีนายจ้างมาคัดเลือกไปทำงานเมื่อไปถึง โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจัดหางานจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจัดหางานต่างประเทศ - ความผิดฐานฉ้อโกงและประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยเป็นผู้ติดต่อชักจูงให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศและรับเงินบางส่วนจากผู้เสียหายไว้ ทั้งยังเป็นผู้เขียนแผนที่ให้ผู้เสียหายเดินทางไปหาพวกจำเลยที่ กรุงเทพฯ เมื่อผู้เสียหายไม่ได้เดินทางไปทำงาน จำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับพวกจำเลยเพื่อให้คืนเงินแก่ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะที่แบ่งแยกหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยกับพวก หาใช่เป็นแต่เพียงผู้แนะนำให้ผู้ประสงค์จะไปทำงานในต่างประเทศติดต่อกับผู้ที่จะจัดส่งเองโดยตรงเท่านั้นไม่และการที่จำเลยกับพวกรับเงินผู้เสียหายไปแล้วไม่ดำเนินการให้ผู้เสียหายได้เดินทางไปทำงาน ตามที่จำเลยกับพวกพูดรับรองไว้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยกับพวกเคยส่งบุคคลอื่นไป ไต้หวัน โดยให้ถือหนังสือเดินทานักท่องเที่ยวแล้วมีนายจ้างมาคัดเลือกไปทำงานเมื่อไปถึง โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจัดหางานจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง จำเลยกับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมลงทุนแชร์น้ำมันที่ถูกหลอกลวง: จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นฉ้อโกง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มาสอบถามจำเลยที่ 7 ที่ 8 เพื่อประสงค์จะเล่นแชร์น้ำมันชาร์เตอร์เอง เพราะทราบข่าวจากผู้อื่นหาใช่จำเลยที่ 7 และที่ 8 เอาความเท็จไปพูดหลอกลวงโจทก์ทั้งสามแต่แรกไม่ การที่จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นหัวหน้าสายของบริษัทชาร์เตอร์ฯ จำเลยที่ 1 หาเงินมาลงทุนให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 สามีของจำเลยที่ 7 ได้พูดถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง มีหลักทรัพย์เป็นพันล้านบาท มีกิจการน้ำมันและศูนย์การค้าใหญ่โตให้โจทก์ทั้งสามฟัง ก็เป็นการบอกเล่าตามข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองเชื่อตามคำโฆษณาของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วย ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เป็นจำนวน 1,000ล้านบาท นับว่าเป็นจำนวนทุนที่มากพอสมควรที่สามารถทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อถือฐานะของจำเลยที่ 1 แม้แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นปัญญาชนมีการศึกษาดี ยังเชื่อถือถึงกับขวนขวายหาทางเข้าไปร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังชักชวนโจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายให้ร่วมเล่นแชร์รายนี้ด้วย นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังมีหลักฐานสัญญาการลงทุนกับจำเลยที่ 1 เป็นเงินประมาณ 4,550,000 บาท เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ล้ม จำเลยก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ และต้นเงินที่ร่วมลงทุนคืน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ในบริษัทจำเลยที่ 1 หรือมีส่วนแบ่งจากจำนวนเงินที่ประชาชนนำมาร่วมลงทุน ต่อมาเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ฉ้อโกงประชาชนจำเลยที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเช่นเดียวกับประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายเงินที่ลงทุนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จะสันนิษฐานเอาว่าจำเลยที่ 7และที่ 8 ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้ที่ถูกหลอกลวงให้ช่วยชักชวนลงทุน และไม่มีส่วนรู้เห็นในการฉ้อโกง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มาสอบถามจำเลยที่ 7 และที่8 เพื่อประสงค์จะเล่นแชร์น้ำมันชาร์เตอร์ เอง เพราะทราบข่าวจากผู้อื่น หาใช่จำเลยที่ 7 และที่ 8 เอา ความเท็จไปพูดหลอกลวงโจทก์ทั้งสามแต่แรกไม่ การที่จำเลยที่ 7ซึ่งเป็นหัวหน้าสายของบริษัทชาร์เตอร์ ฯ จำเลยที่ 1 หาเงินมาลงทุนให้ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 สามีของจำเลยที่ 7 ได้พูดถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง มีหลักทรัพย์เป็นพันล้านบาท มีกิจการน้ำมันและศูนย์การค้าใหญ่โตให้โจทก์ทั้งสามฟัง ก็เป็นการบอกเล่าตามข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามเชื่อตามคำโฆษณาของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วยทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เป็นจำนวน 1,000 ล้านบาท นับว่าเป็นจำนวนทุนที่ มาก พอสมควรที่สามารถทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อถือฐานะของจำเลยที่ 1 แม้แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นปัญญาชนมีการศึกษาดียังเชื่อถือถึงกับขวนขวายหาทางเข้าไปร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังชักชวนโจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายให้ร่วมเล่นแชร์รายนี้ด้วย นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังมีหลักฐานสัญญาการลงทุนกับจำเลยที่ 1 เป็นเงินประมาณ 4,550,000 บาท เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ล้ม จำเลยก็ไม่ได้รับผลประโยชน์และต้นเงินที่ร่วมลงทุนคืนจำเลยที่ 7 และที่ 8 ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ในบริษัทจำเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนแบ่งจากจำนวนเงินที่ประชาชนนำมาร่วมลงทุน ต่อมาเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ฉ้อโกงประชาชน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเช่นเดียวกับประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เช่นนี้การที่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายเงินที่ลงทุนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จะสันนิษฐานเอาว่าจำเลยที่ 7 และที่ 8 ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: การกระทำผิดกรรมเดียว แม้รับเงินต่างวันเวลา
คดีฉ้อโกงประชาชนข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ค. พวกของจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคนละวันเวลากัน แต่สถานที่เกิดเหตุเป็นที่เดียวกันหรือบริเวณเดียวกัน ดังนั้น ถือว่าจำเลยกับพวกได้หลอกลวงพวกผู้เสียหายในเวลาเดียวกัน แม้พวกผู้เสียหายหลงเชื่อมาชำระให้ ค. หรือจำเลยในภายหลังในวันเวลาที่ไม่ตรงกัน ก็ไม่เป็นการกระทำผิดหลายกรรมเพราะการรับเงินเป็นผลที่เกิดจากการกระทำ หาใช่การกระทำขึ้นใหม่ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 21