คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 564

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่กรณีผู้เช่ายังไม่เข้าครอบครอง และการฟ้องซ้ำเมื่อสัญญาเช่าต่างฉบับ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวาง ฉบับลงวันที่ 25 กันยายน 2525 เป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุจากสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวางฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2522 จึงเป็นคนละเหตุแม้จะเป็นประเด็นอย่างเดียวกันก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน แม้โจทก์เป็นผู้เช่าไม่เคยเข้าครอบครองตึกแถวพิพาท แต่โจทก์มีคำขอให้ศาลเรียกวัดบางขวางเข้าเป็นโจทก์ร่วมมาพร้อมกับคำฟ้องของโจทก์และวัดบางขวางซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในภายหลัง โดยถือเอาคำฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งหมดเป็นคำฟ้องของตนหรือเป็นคำฟ้องส่วนหนึ่งของโจทก์ร่วมเมื่อศาลอนุญาตแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องดำเนินคดีกับจำเลยได้ จำเลยเข้าอยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทโดยเช่าช่วงจาก ล.เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า สิทธิการเช่าระงับไป สิทธิการเช่าช่วงย่อมระงับตามไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่: เหตุฟ้องไม่ซ้ำเดิมแม้ประเด็นคล้ายกัน และอำนาจฟ้องของผู้เช่าเมื่อมีเจ้าของทรัพย์สินร่วมฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าขับไล่จำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวาง ฉบับลงวันที่ 25 กันยายน 2525 เป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุจากสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวาง ฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2522 จึงเป็นคนละเหตุแม้จะเป็นประเด็นอย่างเดียวกันก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
แม้โจทก์เป็นผู้เช่าไม่เคยเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทแต่โจทก์มีคำขอให้ศาลเรียกวัดบางขวางเข้าเป็นโจทก์ร่วมมาพร้อมกับคำฟ้องของโจทก์และวัดบางขวางซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในภายหลัง โดยถือเอาคำฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งหมดเป็นคำฟ้องของตนหรือเป็นคำฟ้องส่วนหนึ่งของโจทก์ร่วม เมื่อศาลอนุญาตแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคำเนินคดีกับจำเลยได้
จำเลยเข้าอยุ่อาศัยในตึกแถวพิพาทโดยเช่าช่วงจาก ล. เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า สิทธิการเช่าระงับไป สิทธิการเช่าช่วงย่อมระงับตามไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายที่จำกัดตามค่าเช่าอาคาร ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาทนั้น เมื่อโจทก์เรียกค่าเสียหายมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ มิได้เรียกมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น และขณะยื่นคำฟ้องปรากฏว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่ถึงเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เช่นเดียวกับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับเจ้าของอาคารซึ่งได้เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของอาคารโดยขณะนั้นโจทก์ยังเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทอยู่จำเลยจึงหาอาจยกสัญญาเช่าของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทที่จำเลยอาศัยอยู่โดยสิทธิของโจทก์ได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีค่าเช่าอาคารต่ำกว่าเกณฑ์
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาทนั้น เมื่อโจทก์เรียกค่าเสียหายมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ มิได้เรียกมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น และขณะยื่นคำฟ้องปรากฏว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่ถึงเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เช่นเดียวกับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับเจ้าของอาคารซึ่งได้เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของอาคารโดยขณะนั้นโจทก์ยังเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทอยู่จำเลยจึงหาอาจยกสัญญาเช่าของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทที่จำเลยอาศัยอยู่โดยสิทธิของโจทก์ได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538 ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปี กลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไป แต่อย่างใดไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปีกลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไปแต่อย่างใดไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: บันทึกต่อท้ายสัญญาไม่ใช่สัญญาเช่าใหม่ สิทธิเช่าสิ้นสุดเมื่อไม่ได้ทำสัญญาใหม่
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวจากโจทก์มีกำหนด 3 ปี มีบันทึกต่อท้ายสัญญาว่า 'เมื่อสัญญาเช่าฉบับนี้หมดอายุ และคู่สัญญาตกลงกันที่จะต่ออายุสัญญาเช่าต่อไปอีก 3 ปี ผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าในอัตราไม่ เกินกว่า 20,000 บาทต่อเดือน' บันทึกดังกล่าวมีความหมายว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ถ้าคู่สัญญาตกลงกันที่จะ เช่าต่อไปอีก 3 ปี ผู้ให้เช่าจะคิดค่าเช่าไม่เกินเดือนละ20,000 บาท ซึ่งคู่สัญญาจะต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่ เมื่อคู่สัญญามิได้ทำสัญญาเช่ากันใหม่เพราะไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในตึกแถวดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าหลังการซื้อขาย และการพิพาทเรื่องการขับไล่ผู้เช่า
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลย่อมคำนึงว่าข้ออ้างข้อเถียงที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจะต้องมีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ถ้าข้อโต้เถียงใดไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความนำสืบ
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทต้องมีผลกระทบต่อผลคดี สัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้รับโอนสิทธิไม่ผูกพันสัญญาพิเศษ
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลย่อมคำนึงว่าข้ออ้างข้อเถียงที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจะต้องมีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ถ้าข้อโต้เถียงใดไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความนำสืบ
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญาใหม่ โจทก์มีสิทธิขับไล่จำเลย
โจทก์รับโอนตึกแถวสามชั้นครึ่งจาก พ. ตึกแถวดังกล่าวจำเลยทำสัญญาเช่ากับ พ. มีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าย่อมระงับไปโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ก่อนและหลังสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะไม่ให้เช่าตึกแถวดังกล่าวเฉพาะชั้นสองและชั้นสามยอมให้จำเลยเช่าเฉพาะชั้นล่าง ให้จำเลยมาทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่สนองรับ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกดังกล่าว และ หนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
of 20