คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 564

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาต่ออายุสัญญาเช่าหลังผู้ให้เช่าเสียชีวิต ไม่ผูกพันทายาทผู้รับมรดก
หนังสือสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับนาย จ. ข้อ 5 ที่มีข้อความว่า เมื่อครบอายุสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่ายินยอมจดทะเบียนต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ผู้เช่าอีกสิบปีตามสัญญาเดิม เป็นแต่เพียงคำมั่นของนาย จ. ว่าจะให้โจทก์เช่าต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาแม้สัญญาเช่าเดิมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนไว้ คำมั่นนี้ก็ไม่มีผลผูกพันนาย จ. เพราะโจทก์ไม่ได้สนองรับก่อนนาย จ. ตาย และเมื่อโจทก์ได้รู้อยู่แล้วว่านาย จ. ตายก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนดสิบปี กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 วรรคสอง มาใช้บังคับคำมั่นของนาย จ. ย่อมไม่มีผลบังคับ ไม่ผูกพันจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินส่วนที่โจทก์เช่าให้ต้องปฏิบัติตาม โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดทะเบียนต่ออายุสัญญาเช่าให้โจทก์อีกสิบปีไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3, 4/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินเป็นทางสาธารณะ ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นทางสาธารณะ ถ้าฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ชั้นชี้สองสถาน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์จริง เพียงเท่านี้ยังไม่พอฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ทางสาธารณะ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานแล้วพิพากษาขับไล่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811-2818/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีและอำนาจฟ้องขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้ง 11 สำนวนเข้าด้วยกันจำเลยแต่ละคนในทุกสำนวนต่างก็อ้างตนเองเป็นพยาน โดยรวมอยู่ในบัญชีระบุพยานฉบับเดียวกัน แสดงว่าจำเลยในคดีหนึ่งมิได้เป็นพยานเฉพาะคดีของตนเองเท่านั้น แต่ต่างเป็นพยานซึ่งกันและกันในทุกคดี จึงต้องห้ามไม่ให้เบิกความต่อหน้าจำเลยอื่นที่จะเบิกความเป็นพยานในภายหลัง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกองมรดกของ ส. ครบกำหนดเวลาเช่าในสิ้นเดือนมีนาคม 2511 ต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าต่อ เริ่มนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2511 เป็นต้นไป จึงมีช่วงว่างอยู่ 3 เดือน แต่โจทก์ยังครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ในระหว่าง 3 เดือนนั้น ถือได้ว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าช่วงที่พวกจำเลยทำไว้กับโจทก์สิ้นสุดลง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงแรมเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สัญญาเป็นโมฆะ การเช่าสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด
เช่าโรงแรมมีกำหนดเวลารวม 8 ปี. โดยทำสัญญาเช่ากันไว้ล่วงหน้าเป็น 3 ระยะ ระยะละ 3 ปี 3 ปี และ 2 ปี ตามลำดับโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการหลีกเลี่ยงมาตรา 538 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 768/2490)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน เป็นโมฆะ ใช้ได้เพียง 3 ปี การอยู่ต่อถือเป็นการเช่าสิ้นสุดแล้ว
เช่าโรงแรมมีกำหนดเวลารวม 8 ปี. โดยทำสัญญาเช่ากันไว้ล่วงหน้าเป็น 3 ระยะ ระยะละ 3 ปี 3 ปี และ 2 ปี ตามลำดับโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการหลีกเลี่ยงมาตรา 538แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 768/2490)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่ายังอยู่ต่อ ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดเวลาเช่าแน่นอนในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3 เหรียญอเมริกัน แต่มีสัญญาข้อหนึ่งระบุว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไปอีก ผู้เช่ายอมเสียค่าเช่าเดือนละ 20 เหรียญอเมริกัน เว้นแต่จะได้ทำสัญญาทำใหม่ สัญญาข้อนี้แสดงเจตนาของคู่สัญญาว่า ถ้าผู้เช่ายังขืนอยู่ต่อไป เป็นการอยู่โดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอม ผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่ามากกว่าค่าเช่าปกติที่ตกลงไว้ ค่าเช่านี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หาใช่เงื่อนไขการเช่าที่มีผลให้ผู้เช่าได้เช่าตึกต่อไปหลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้ว โดยไม่มีกำหนดเวลาไม่
หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาได้ 8 วัน ผู้ให้เช่าก็ยื่นฟ้องขอให้ขับไล่ผู้เช่า ถือว่าผู้ให้เช่าทักท้วงไม่ยอมให้เช่าต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีอำนาจฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661-662/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อตกลงค่าเช่าใหม่ไม่ได้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิขับไล่
ทำสัญญาเช่ามีข้อสัญญาว่าเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก ส่วนค่าเช่าตกลงกันใหม่ เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โอกาสผู้เช่าที่จะต่อสัญญาได้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องมีการตกลงค่าเช่ากัน เมื่อตามสัญญาไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะพึงเรียกร้องกันเพียงใด ย่อมเป็นสิทธิของผู้ให้เช่าที่จะเสนอราคา หากผู้เช่าไม่สนองรับ สัญญาเช่าซึ่งสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลาย่อมเป็นอันระงับ
เงินประกันตามสัญญาเช่าซึ่งผู้เช่าไม่ยอมรับคืน ไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องสัญญาเช่าระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิเช่าและการละเมิดสิทธิในที่ดินเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุ
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับโจทก์หรือเจ้าของเดิม เป็นการละเมิด และจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่าก็ดี กรณีก็ยังมีปัญหาว่าจำเลยจะอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่านั้นต่อไปได้หรือไม่ เพราะถ้าการเช่าหมดอายุสัญญาเช่า จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่านั้นต่อไป การที่ยังขัดขืนอยู่ย่อมเป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่โดยอาศัยสิทธิเช่าที่หมดอายุแล้วถือเป็นการละเมิด หากยังขัดขืนอยู่ แม้จะมีการอ้างสิทธิอื่น
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ โดยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับโจทก์หรือเจ้าของเดิม เป็นการละเมิด และจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่าก็ดี กรณีก็ยังมีปัญหาว่าจำเลยจะอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่านั้นต่อไปได้หรือไม่ เพราะถ้าการเช่าหมดอายุสัญญาเช่า จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่านั้นต่อไป การที่ยังขัดขืนอยู่ ย่อมเป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาเช่า: การไม่จัดการบรรเทาความเสียหายหลังศาลพิพากษาถึงที่สุด ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสิ้นสุดลง
จำเลยทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์จากโจทก์มีกำหนด 10 ปี โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า จำเลยไม่ประสงค์จเช่าต่อไป แต่จำเลยไม่ได้ติดต่อเลิกการเช่ากับโจทก์ ทำให้โจทก์เข้าใจว่าสัญญาเช่ายังผูกพันอยู่ จำเลยย่อมจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าเช่าที่ค้าง ศาลพิพากษาว่าจำเลยผิดสัญญา คดีถึงที่สุด โจทก์ก็มีทางดำเนินการเพื่อเลิกการเช่าเพื่อบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่จัดการดังกล่าวถือว่าโจทก์มีส่วนผิดในความเสียหายอันเกิดแก่ตน ฉะนั้น นับแต่นั้นมาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
of 20