คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 361

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองห้องพักและการคืนเงินเมื่อบอกเลิกสัญญา เงินที่ชำระภายหลังทำสัญญาไม่ถือเป็นมัดจำ
โจทก์ทำคำเสนอทางโทรสารขอจองห้องพักระหว่างวันที่ 6 ถึง 12 มกราคม 2535 ไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 จำเลยทำคำสนองทางโทรสารตอบรับการจองห้องพักไปถึงโจทก์ในวันเดียวกัน สัญญาจองห้องพักจึงเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2534 โจทก์โอนเงินค่าเช่าห้องพักงวดแรกตามสัญญาให้จำเลยในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 และโอนเงินงวดที่ 2 ให้จำเลยในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 เงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยภายหลังจากวันที่สัญญาจองห้องพักเกิดขึ้นแล้วจึงไม่ใช่มัดจำที่จำเลยจะพึงริบได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) เพราะไม่ใช่เงินหรือสิ่งใดที่โจทก์ให้จำเลยไว้ในวันเข้าทำสัญญา ทั้งไม่ใช่หลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจองห้องพักเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2534 โจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคแรก สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินอันเกิดจากการเลิกสัญญานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จะนำอายุความ 1 ปี เรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การกำหนดค่าเสียหายจากพฤติการณ์
โจทก์ได้ส่งหนังสือตกลงซื้อตามที่จำเลยมีหนังสือยืนยันราคาโดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 มาลงนามทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคาให้แก่ อ. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบริษัท จำเลยที่ 1 จึงเป็นการส่งหนังสือตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โดยมีผู้รับไว้โดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันต้องไปทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขทั่วไปในการเข้าเสนอราคา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวในฐานะผู้ค้ำประกันการยื่นซองประกาศราคาของจำเลยที่ 1 ในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันโดยมิได้ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในการประกวดราคาแต่เห็นว่าหลักประกันซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีสิทธิรับเพียงพอกับค่าเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในจำนวนเงินดังกล่าว เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการประกวดราคาใหม่โดยเร็วกลับปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเกือบ 2 ปี จึงประกาศประกวดราคาใหม่ จนทำให้ราคาเหรียญตัวเปล่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อขายและสนองรับ การผูกพันตามสัญญาซื้อขาย และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบ เพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าโดยใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ การลงชื่อในเอกสารถือเป็นการสนองรับซื้อ สัญญาผูกพันจำเลยในฐานะตัวแทน
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบเพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆ ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655-5751/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบจริง จึงมีผลตามกฎหมาย การบอกกล่าวล่วงหน้ามีความสำคัญ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยได้ส่งสำเนาประกาศเลิกจ้างโจทก์ จากสำนักงานกลางกรุงเทพมหานคร ทางโทรสารไปปิดประกาศเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบที่โรงงานน้ำตาลลำปางที่โจทก์สังกัดอยู่ แม้จะมีการปิดประกาศในวันนั้น แต่จะมีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 และมีผลเป็นการเลิกจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือวันที่ 30 สิงหาคม 2541 เมื่อการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วันตามฟ้อง และจำลเยต้องชำระดอกเบี้ยของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ประกอบด้วยมาตรา 224 นับแต่วันฟ้องซึ่งถือเป็นวันผิดนัดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยต้องมีเจตนาตรงกัน การรับคำขอประกันภัยยังไม่ถือเป็นสัญญาหากยังไม่มีการตอบรับ
สัญญาประกันภัยกฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญมิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน
ส.ผู้จัดการจำเลย สาขาขอนแก่น มิได้เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทไว้จากโจทก์ แต่การที่ ส. รับคำขอเอาประกันภัยไว้จากโจทก์ก็เพียงเพื่อส่งคำเสนอของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่พิจารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นคำสนองรับประกันภัยเมื่อบริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับคำเสนอของโจทก์ เมื่อเวลา 13.55 นาฬิกา อันเป็นเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้วทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใดจึงฟังไม่ได้ว่า ขณะที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทเกิดอุบัติเหตุนั้นจำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แล้ว อันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามสัญญาประกวดราคา: ผลของการยื่นซองประกวดราคาใหม่และการกำหนดระยะเวลาผูกพัน
โจทก์เข้ายื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารตามข้อเสนอและเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดดังกล่าวตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มีข้อตกลงให้มีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากมีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ราคาที่ผู้ยื่นซองประกวดราคายื่นเสนอไว้เดิมเป็นอันยกเลิกกันไปและต้องถือราคาตามที่ได้มีการเสนอราคาใหม่นั้น ส่วนระยะเวลาการยืนราคาที่เสนอใหม่ยังคงเป็นไปตามข้อตกลงเดิมคือต้องยืนราคาไว้ 90 วัน นับแต่วันที่ได้มีการยื่นซองประกวดราคาใหม่ โจทก์ยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่วันที่ 7 ธันวาคม 2536 ระยะเวลา 90 วัน จึงต้องนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำสัญญาจ้างและโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องผูกพันตามราคาที่ยืนไว้ตามข้อตกลง เมื่อโจทก์ไม่ไปทำสัญญาจ้างตามกำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในการยื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา: การยื่นซองใหม่ทำให้ราคายื่นเดิมสิ้นผล ระยะเวลาผูกพันเริ่มนับจากวันยื่นซองใหม่ ผู้เสนอราคาต้องทำสัญญาตามกำหนด
โจทก์เข้ายื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารตามข้อเสนอและเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดดังกล่าวตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มีข้อตกลงให้มีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากมีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ราคาที่ผู้ยื่นซองประกวดราคายื่นเสนอไว้เดิมเป็นอันยกเลิกกันไปและต้องถือราคาตามที่ได้มีการเสนอราคาใหม่นั้น ส่วนระยะเวลาการยืนราคาที่เสนอใหม่ยังคงเป็นไปตามข้อตกลงเดิมคือต้องยืนราคาไว้ 90 วัน นับแต่วันที่ได้มีการยื่นซองประกวดราคาใหม่โจทก์ยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ วันที่ 7 ธันวาคม2536 ระยะเวลา 90 วัน จึงต้องนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปเมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำสัญญาจ้างและโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องผูกพันตามราคาที่ยืนไว้ตามข้อตกลง เมื่อโจทก์ไม่ไปทำสัญญาจ้างตามกำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในการยื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ105,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ. พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ. พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ. นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ. ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยัง ภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบ คำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย อยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็น ฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลย คืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำบอกกล่าวตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดภูมิลำเนาเฉพาะการ และผลของการไม่แจ้งให้ถูกต้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ 105,000 บาทส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ.พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ.พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ.นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ.ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้
of 20