พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีข้อตกลงสำคัญครบถ้วน การแบ่งแยกโฉนดเป็นสาระสำคัญ หากตกลงกันไม่ได้ สัญญายังไม่สมบูรณ์
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่16เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้งๆที่คณะกรรมการสวัสดิการการหลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน41ไร่12ตารางวาจากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้นโจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงินซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้วคณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมายจ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน20ไร่206ตารางวาให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า"เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้วขอให้ชำระเงินทั้งหมดและผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวขอให้แจ้งคณะกรรมการสสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมายจ.3ดังกล่าวแล้วโจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสารสำคัญว่า"ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการสสพช.แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ2.โดยขอให้คณะกรรมการสสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287จำนวน41ไร่12ตารางวาเป็น2ส่วนเท่าๆกันตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.แปลงที่แบ่งเท่าๆกันแล้วตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้าโดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน100,000บาทและในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป"ตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น2ส่วนเท่าๆกันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกันหนังสือเอกสารหมายจ.4จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมายจ.3แต่อย่างใดส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นและหนังสือลงวันที่29พฤษภาคม2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข11ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าหากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใดและโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไปก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้นจึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้นเมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่1กับจำเลยที่16ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากเงื่อนไขสำคัญไม่เป็นไปตามตกลง สัญญาจึงยังไม่ผูกพันคู่กรณี
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 16 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้ง ๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการการพลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการ ดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา จากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้น โจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้ว คณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน 20 ไร่ 206 ตารางวา ให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า "เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้ว ขอให้ชำระเงินทั้งหมด และผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าว ขอให้แจ้งคณะกรรมการ สสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.3 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน 20 ไร่ 206ตารางวา ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ สสพช. แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ 2. โดยขอให้คณะกรรมการ สสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287 จำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา เป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน ตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช.แปลงที่แบ่งเท่า ๆ กันแล้ว ตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่ คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน 100,000 บาท และในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน20 ไร่ 206 ตารางวา ให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป" ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกัน หนังสือเอกสารหมาย จ.4 จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมาย จ.3 แต่อย่างใด ส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9 ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้ จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น และหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า หากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใด และโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไป ก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้น จึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้น เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกัน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 366 โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 16 ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดร่วมกันจากการเช่าทรัพย์ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการเช่า
หนังสือที่จำเลยร่วมที่ 1 ได้ทำขึ้นมีข้อความว่า ตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้น จำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยร่วมที่ 1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วม หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่ 1 ที่จะร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ การที่จำเลยนำสำเนาหนังสือนั้นมาแนบท้ายคำให้การของจำเลยและขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้นเป็นการสนองรับคำเสนอดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 1 ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งจำเลยร่วมที่ 1 ยอมร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยต้องส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา และต้องรับผิดใช้เงินค่าเช่าที่ค้างชำระกับค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นให้แก่โจทก์ จำเลยร่วมที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวนั้นด้วย
ที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่า หากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ในราคา 97,000 บาทนั้น คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยร่วมที่ 1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ 1,850 บาท กับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500 บาท ดังนั้น หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 27,338.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27 บาท โดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วย ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 2,350 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้น เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด
ที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่า หากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ในราคา 97,000 บาทนั้น คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยร่วมที่ 1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ 1,850 บาท กับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500 บาท ดังนั้น หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 27,338.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27 บาท โดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วย ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 2,350 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้น เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาร่วมรับผิดชอบหนี้ – การยินยอมเป็นผู้ค้ำประกัน – หน้าที่ชำระหนี้ – ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์
หนังสือที่จำเลยร่วมที่1ได้ทำขึ้นมีข้อความว่าตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้นจำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่20กุมภาพันธ์2533โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่1และจำเลยร่วมที่2เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดจำเลยร่วมที่1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วมหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่1ที่จะร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์การที่จำเลยนำสำเนาหนังสือนั้นมาแนบท้ายคำให้การของจำเลยและขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่1เข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้นเป็นการสนองรับคำเสนอดังกล่าวของจำเลยร่วมที่1ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่1ซึ่งจำเลยร่วมที่1ยอมร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยต้องส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หากส่งคืนไม่ได้ต้องใช้ราคาและต้องรับผิดใช้เงินค่าเช่าที่ค้างชำระกับค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นให้แก่โจทก์จำเลยร่วมที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลยร่วมที่1ดังกล่าวนั้นด้วย ที่จำเลยร่วมที่1ฎีกาว่าหากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้จำเลยร่วมที่1ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน15,000บาทมิใช่ในราคา97,000บาทนั้นคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งฎีกาของจำเลยร่วมที่1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ1,850บาทกับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500บาทดังนั้นหากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าวดังนั้นแม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระเงินจำนวน27,338.27บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จเป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27บาทโดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วยส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ2,350บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้นเป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน การผูกพันตามประกาศ และการเรียกร้องหนี้
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอซื้อ/แลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน: สัญญาผูกพันเมื่อตอบรับ แม้มีข้อจำกัดในประกาศ
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศ เป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้ และขอให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ พร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้น ถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะเมื่อไม่ตกลงราคาใหม่หลังถูกเวนคืน สิทธิกลับสู่ฐานะเดิม
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทตามเอกสารหมายจ.4แต่ตามเอกสารหมายจ.7มีข้อความว่าจำเลยขอรังวัดที่ดินพิพาทในส่วนที่ถูกเขตชลประทานแสดงว่าที่พิพาทที่จำเลยจะขายให้โจทก์จะต้องถูกทางราชการเวนคืนบางส่วนโจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาเพิ่มเติมสัญญาจะซื้อขายว่าคู่สัญญาขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อขยายเวลาไปเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้ให้เหลือเป็นราคาที่พิพาทที่เหลือไว้จะโอนกรรมสิทธิ์ได้จริงโดยไม่ถูกเวนคืนแสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าที่พิพาทที่จะซื้อขายต้องถูกเวนคืนให้กรมชลประทานแต่โจทก์ไม่ได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่โดยไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่พิพาทและราคาตามเอกสารหมายจ.4แต่จะต้องเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้และเลื่อนกำหนดเวลาการโอนไปถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมายจ.4โดยปริยายและมุ่งประสงค์ที่จะซื้อขายที่พิพาทกันต่อไปตามจำนวนเนื้อที่ที่เหลือจากการถูกเวนคืนโดยให้เลื่อนการโอนไปเพื่อเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงกันไว้อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคหนึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้นเมื่อครบกำหนดการโอนแล้วปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้ไปที่สำนักงานที่ดินแต่ก็ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้จึงไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมายจ.4ยกเลิกโดยปริยายและสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้นโจทก์จำเลยจึงไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์และโจทก์จะกลับมาอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวพิพาท: หลักฐานไม่ครบถ้วน ฟ้องบังคับคดีไม่ได้
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทาเป็นหนังสือ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1มิได้ตกลงให้ทำสัญญาซื้อขายกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยที่ 1และโจทก์ได้ตกลงซื้อขายข้าวกันตามที่ได้เสนอเสนอสนองและตกลงกันได้ตามโทรพิมพ์ และสำเนาโทรพิมพ์ เมื่อคำเสนอและคำสนองของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในการซื้อขายข้าวถูกต้องตรงกันสัญญาขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 หาจำต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวเป็นหนังสือไม่ สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้ การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขายโดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศและธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเอตร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวทางโทรพิมพ์: หลักฐาน, การชำระหนี้ และผลบังคับใช้
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทำเป็นหนังสือ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้ทำสัญญาซื้อขายกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้ตกลงซื้อขายข้าวกันตามที่ได้เสนอสนองและตกลงกันได้ตามโทรพิมพ์ และสำเนาโทรพิมพ์ เมื่อคำเสนอและคำสนองของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในการซื้อขายข้าวถูกต้องตรงกัน สัญญาขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1หาจำต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวเป็นหนังสือไม่
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้
การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขาย โดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศ และธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้
การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขาย โดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศ และธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: เอกสารแสดงเจตนาครบถ้วนสมบูรณ์ แม้มิได้ใช้คำว่า 'สัญญา' ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
เอกสารแม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งถึงข้อตกลงของคู่กรณีในอันที่จะทำการซื้อขายที่ดินโดยระบุชัดเจนทั้งตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ ราคาที่ซื้อขายทอดตลาดจนวิธีการและกำหนดเวลาในการปฏิบัติการชำระหนี้ได้สาระสำคัญครบถ้วน จึงมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1ตามกฎหมายโดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจ เอกสารสัญญาจะซื้อจะขายเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการเสนอของคู่กรณีโดยถูกต้องสมบูรณ์ มีสาระสำคัญครบถ้วนมีผลเป็นนิติกรรมแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้สนองรับคู่กรณีผู้แสดงเจตนาย่อมต้องผูกพันตามผลนั้น