คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 361

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันโดยตรง หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตยังไม่เกิดผล หากผู้รับประกันยังไม่ได้สนองรับคำเสนอและออกกรมธรรม์
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลิกสัญญาและการเรียกค่าปรับ กรณีผู้รับจ้าง/ผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยทำพัสดุ สัญญาข้อ 19 มีว่า ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิปรับผู้รับจ้างเป็นรายวันและเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากงานล่าช้าในระหว่างที่มีการปรับถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 ด้วย สัญญาข้อ 20 มีว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันสัญญาและอื่น ๆเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ส่งมอบงานและสิ่งของตามสัญญาจึงบอกเลิกสัญญา เช่นนี้เป็นเรื่องใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 20จึงมีสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 20 โดยไม่มีสิทธิปรับจำเลยตามข้อ 19 ได้อีก
สัญญาซื้อขายข้อ 7 มีว่า ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบของที่ตกลงขายหรือส่งมอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือนนับจากวันเลิกสัญญา ผู้ขายยอมชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นด้วย สัญญาข้อ 9 มีว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายส่งมอบของครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบหลักประกันกับเรียกให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับก็ได้ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์เลยและโจทก์ก็ใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบหลักประกันตามข้อ 8 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าปรับเป็นรายวันตามข้อ 9.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินรางวัลสลากกินแบ่ง แม้สลากหายหรือถูกทำลาย สัญญาผู้ซื้อ-สำนักงานสลากผูกพัน
การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ในสลากกินแบ่งทุกฉบับว่า เงินรางวัลจะจ่ายให้แก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลนำมาขอรับนั้น เงื่อนไขดังกล่าวแม้จำเลยจะกำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 ก็ตาม แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อให้จำเลยมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้น ไม่ใช่ข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหายหรือถูกไฟไหม้ และเห็นว่าการที่จำเลยจัดให้มีการออกสลากกินแบ่ง ก็โดยมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งว่า จะแบ่งเงินที่ได้จากการขายสลากให้แก่ผู้ถูกสลากตามจำนวนที่กำหนดไว้จำนวนเงินที่กำหนดนี้ถือได้ว่า เป็นสัญญาอันมีผลผูกพันระหว่างผู้จัดการออกสลากกินแบ่งกับผู้ถูกรางวัล ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหลักฐานเชื่อได้ว่าโจทก์ถูกรางวัล แต่สลากถูกไฟไหม้โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถูกสลากแม้สลากหาย/ไฟไหม้ จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินรางวัลตามวัตถุประสงค์สลาก
การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ในสลากกินแบ่งทุกฉบับว่าเงินรางวัลจะจ่ายให้แก่ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลนำมาขอรับนั้นเงื่อนไขดังกล่าวแม้จำเลยจะกำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ.2517ก็ตามแต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อให้จำเลยมีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้นไม่ใช่ข้อกำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหายหรือถูกไฟไหม้และเห็นว่าการที่จำเลยจัดให้มีการออกสลากกินแบ่งก็โดยมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งว่าจะแบ่งเงินที่ได้จากการขายสลากให้แก่ผู้ถูกสลากตามจำนวนที่กำหนดไว้จำนวนเงินที่กำหนดนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาอันมีผลผูกพันระหว่างผู้จัดการออกสลากกินแบ่งกับผู้ถูกรางวัลดังนั้นเมื่อโจทก์มีหลักฐานเชื่อได้ว่าโจทก์ถูกรางวัลแต่สลากถูกไฟไหม้โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้นเป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้วโจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่ ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้วจะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอ ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้น เป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้ว โจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมัน: สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงซื้อขาย แม้มีวิกฤตการณ์น้ำมันก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นของจำเลย โจทก์ได้ทำใบสั่งซื้อน้ำมันชนิดต่างๆ จากจำเลย ใบสั่งซื้อจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ เมื่อจำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่าสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อและยังขนไปไม่หมดนั้น จำเลยยินดีให้ราคาเก่าถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2522 ทั้งต่อมายังได้มีหนังสือถึงโจทก์อีกว่า จำเลยพร้อมจะให้โจทก์รับสินค้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2522 แม้จะมีอุปสรรคเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอยู่บ้าง จำเลยก็จะผลิตน้ำมันส่วนที่โจทก์ต้องการให้ถึงที่สุดดังนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสัญญาซื้อขายน้ำมันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461จำเลยจะอ้างประเพณีการค้าว่าบริษัทผู้ขายน้ำมันไม่จำต้องผูกพันว่าจะต้องขายน้ำมันให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิคืนเงินราคาที่ชำระแล้วแก่ผู้ซื้อหรือเพราะเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นทั่วโลกมาเป็นข้อบอกปัดไม่ขายน้ำมันให้แก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ส่งมอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215,222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมัน: สัญญาผูกพันตามหลักกฎหมาย แม้มีวิกฤตการณ์น้ำมันก็ไม่อาจลบล้างได้
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นของจำเลย โจทก์ได้ทำใบสั่งซื้อน้ำมันชนิดต่าง ๆ จากจำเลย ใบสั่งซื้อจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ เมื่อจำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่าสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อและยังขนไปไม่หมดนั้น จำเลยยินดีให้ราคาเก่าถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2522 ทั้งต่อมายังได้มีหนังสือถึงโจทก์อีกว่า จำเลยพร้อมจะให้โจทก์รับสินค้าไปได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2522 แม้จะมีอุปสรรคเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอยู่บ้าง จำเลยก็จะผลิตน้ำมันส่วนที่โจทก์ต้องการให้ถึงที่สุด ดังนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสัญญาซื้อขายน้ำมันเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461 จำเลยจะอ้างประเพณีการค้าว่าบริษัทผู้ขายน้ำมันไม่จำต้องผูกพันว่าจะต้องขายน้ำมันให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิคืนเงินราคาที่ชำระแล้วแก่ผู้ซื้อหรือเพราะเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นทั่วโลกมาเป็นข้อบอกปัดไม่ขายน้ำมันให้แก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ส่งมอบนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215, 222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงให้ทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 20