พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์ โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, การเปลี่ยนแปลงวงเงิน, การหักกลบลบหนี้, นิติกรรมอำพราง, สัญญาต่างตอบแทน
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินและข้อตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงิน การหักกลบลบหนี้ และอำนาจศาลในการบังคับคดี
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2 ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยมีผลเมื่อตกลงกัน แม้กรมธรรม์จะออกภายหลัง และการตีความสัญญาต้องเป็นไปตามเจตนาสุจริต
จำเลยให้การว่า นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใดด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆ นั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆ นั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การตีความตามเจตนาสุจริต, ขอบเขตความคุ้มครอง, และการได้รับช่วงสิทธิ
จำเลยให้การว่า นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใดด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้นเพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัย.ซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆนั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยเมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้นเพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัย.ซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆนั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยเมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงโดยปริยายในการปรับราคาค่าก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี แม้ไม่มีเอกสารทำความตกลง
เมื่อตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยได้ทำความตกลงกันแล้วโดยปริยายว่างานก่อสร้างที่ยังค้างอยู่นั้น ให้ถือราคาค่าก่อสร้างตามราคาที่ได้ปรับปรุงให้เพิ่มขึ้นแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี ฉะนั้นจำเลยจึงมีความผูกพันต้องจ่ายเงินชดเชยค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ในอัตรา 41.6 เปอร์เซนต์ ตามที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการก่อสร้างและถาวรวัตถุของประเทศได้ตอบข้อหารือ และแจ้งมาให้จำเลยทราบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายเนื่องจากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา และการคืนเงินค่าที่ดิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นเงิน 70,125 บาท ยังค้างชำระราคาอยู่ 35,062.50 บาท ส่วนที่ค้างตกลงกันให้จำเลยหักเอาจากค่าเช่ารถแทรกเตอร์ที่จำเลยเช่าจากโจทก์เป็นการชำระค่าที่ดินเดือนละ 8,000 บาท ถ้าเลิกสัญญาเช่าให้โจทก์ผ่อนราคาที่ดินเดือนละ 5,000 บาท เมื่อชำระราคาครบถ้วนจำเลยจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ จำเลยหักค่าเช่ารถแทรกเตอร์ไว้เป็นค่าที่ดินเพียงเดือนเดียวจำนวน 8,000 บาท โจทก์เอารถแทรกเตอร์คืนไม่ชำระค่าที่ดินอีกเลย กลับเรียกเอาเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลย ถือเป็นการบอกเลิกสัญญากับจำเลย นับแต่วันทำสัญญาถึงวันที่ฟ้องเป็นเวลา 3 ปีเศษ ไม่ปรากฏว่าจำเลยเรียกร้องขอบังคับเอาส่วนที่เหลือจากโจทก์ซึ่งจำเลยควรถือได้ว่าโจทก์กระทำผิดสัญญา โจทก์ทวงถามให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดิน จำเลยก็มิได้โต้แย้งอันแสดงความประสงค์ว่าจะให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีจำเลยก็บอกปัดชัดแจ้งไม่ยอมรับความผูกพันตามสัญญา ทั้งยังอ้างว่าไม่มีการชำระราคาที่ดินกันตามสัญญาเลย ถ้าจำเลยไม่ต้องการเลิกสัญญาด้วย ก็ย่อมมีสิทธิบังคับให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ยังค้างและมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ จึงเป็นการที่จำเลยได้แสดงออกซึ่งเจตนาต่อโจทก์แล้วว่าไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไปอีก เท่ากับสนองรับโดยปริยายในการที่โจทก์บอกเลิกสัญญา คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย: การกระทำที่แสดงเจตนาเลิกสัญญาของทั้งสองฝ่ายและผลกระทบทางกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นเงิน 70,125 บาท ยังค้างชำระราคาอยู่ 35,062.50 บาท ส่วนที่ค้างตกลงกันให้จำเลยหักเอาจากค่าเช่ารถแทรกเตอร์ที่จำเลยเช่าจากโจทก์เป็นการชำระค่าที่ดินเดือนละ 8,000 บาท ถ้าเลิกสัญญาเช่าให้โจทก์ผ่อนราคาที่ดินเดือนละ 5,000 บาทเมื่อชำระราคาครบถ้วนจำเลยจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์จำเลยหักค่าเช่ารถแทรกเตอร์ไว้เป็นค่าที่ดินเพียงเดือนเดียวจำนวน 8,000 บาทโจทก์ก็เอารถแทรกเตอร์คืนไม่ชำระค่าที่ดินอีกเลย กลับเรียกเอาเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลยถือเป็นการบอกเลิกสัญญากับจำเลย นับแต่วันทำสัญญาถึงวันที่ฟ้องเป็นเวลา 3 ปีเศษไม่ปรากฏว่าจำเลยเรียกร้องขอบังคับเอาส่วนที่เหลือจากโจทก์ซึ่งจำเลยควรถือได้ว่าโจทก์กระทำผิดสัญญา โจทก์ทวงถามให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินจำเลยก็มิได้โต้แย้งอันแสดงความประสงค์ว่าจะให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีจำเลยก็บอกปัดชัดแจ้งไม่ยอมรับความผูกพันตามสัญญา ทั้งยังอ้างว่าไม่มีการชำระราคาที่ดินกันตามสัญญาเลย ถ้าจำเลยไม่ต้องการเลิกสัญญาด้วย ก็ย่อมมีสิทธิบังคับให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ยังค้างและมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ จึง เป็น การที่จำเลยได้แสดงออกซึ่งเจตนาต่อโจทก์แล้วว่าไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไปอีก เท่า กับสนองรับโดยปริยายในการที่โจทก์บอกเลิกสัญญา คู่สัญญา ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจอดรถและติดตั้งเสาไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น สัญญาจะบังคับได้เมื่อมีการสนองรับ
โจทก์มีที่ดินและต้องการจะก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรม โรงภาพยนต์และอาคารพาณิชย์ โจทก์กับผู้มีชื่อจึงทำสัญญาร่วมลงทุนกันให้ก่อตั้งบริษัทจำเลยขึ้นประกอบกิจการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว สัญญาข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ต้องอนุญาตให้จำเลยใช้ถนนทั้งสองข้างของโรงแรมจำเลย และจะต้องสงวนไว้ให้แก่จำเลยซึ่งสิทธิจอดรถที่ชอบถนน ข้อ 4 (8) ว่า จำเลยต้องชำระเงินครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างถนนให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บริษัทจำเลยที่จะตั้งขึ้น บริษัทจำเลยชอบที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นภายหลังได้ ปรากฏว่า เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้วจำเลยได้ชำระค่าทำถนนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และมีพฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาร่วมลงทุนแล้ว แม้ต่อมาสัญญาร่วมลงทุนจะสิ้นสุดหรือยกเลิกไป ก็หาทำให้สิทธิของจำเลยอันเกิดขึ้นแล้วระงับไปด้วยไม่
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็น ตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามด้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้ว โจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็น ตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามด้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้ว โจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจอดรถและติดตั้งเสาไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น: สัญญาต่างตอบแทนและผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญา
โจทก์มีที่ดินและต้องการจะก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรมโรงภาพยนตร์และอาคารพาณิชย์ โจทก์กับผู้มีชื่อจึงทำสัญญาร่วมลงทุนกันให้ก่อตั้งบริษัทจำเลยขึ้นประกอบกิจการต่างๆดังกล่าวแล้ว สัญญาข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ต้องอนุญาตให้จำเลยใช้ถนนทั้งสองข้างของโรงแรมจำเลย และจะต้องสงวนไว้ให้แก่จำเลยซึ่งสิทธิจอดรถที่ขอบถนน ข้อ 5(8) ว่าจำเลยต้องชำระเงินครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างถนนให้แก่โจทก์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บริษัทจำเลยที่จะตั้งขึ้นบริษัทจำเลยชอบที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นภายหลังได้ปรากฏว่าเมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้วจำเลยได้ชำระค่าทำถนนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และมีพฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาร่วมลงทุนแล้ว แม้ต่อมาสัญญาร่วมลงทุนจะสิ้นสุดหรือยกเลิกไป ก็หาทำให้สิทธิของจำเลยอันเกิดขึ้นแล้วระงับไปด้วยไม่
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็นตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ก็ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้วโจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า จะให้สิทธิใช้ที่ดินสำหรับตั้งเสาไฟฟ้าแก่จำเลยเพียงแต่จำเลยเข้าติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าตามที่โจทก์เสนอก็เป็นการสนองรับ มีผลให้สัญญาเกิดขึ้นแล้ว สัญญายินยอมให้ติดตั้งเสาและสายไฟฟ้าในที่ดินเพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้แม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทรวม 11 ประเด็น เป็นประเด็นไม่ต้องสืบพยาน 1 ประเด็น ตกภาระโจทก์นำสืบ 8 ประเด็นตกภาระจำเลยนำสืบ 2 ประเด็น ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์มากกว่า ทั้งประเด็นที่เป็นภาระจำเลยพิสูจน์ถึงจะให้โจทก์นำสืบก่อนโจทก์ก็ไม่เสียเปรียบ จึงให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น พยานหลักฐานในประเด็นที่โจทก์แย้ง เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน แม้โจทก์นำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้วโจทก์หาเสียเปรียบไม่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็นชอบแล้ว