คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 361

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การแก้ไขคำเสนอ, การรับรองความเสี่ยง, และการปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำสนองรับประกันภัยที่แก้ไขคำเสนอ คนของผู้รับประกันภัยนำไปตกลงกับผู้ขอเอาประกันภัย เป็นคำเสนอต่อหน้าขึ้นใหม่เกิดสัญญาเมื่อตกลงกันทันที บันทึกล่วงหน้าของผู้รับประกันภัยเป็นเอกสารตาม มาตรา 867 ได้ ไม่ต้องส่งมอบกรมธรรม์ เงื่อนไขในใบสมัครที่ว่าต้องได้ออกและส่งมอบกรมธรรม์ก่อน ไม่มีผลบังคับ
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง หากยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือ สัญญาจึงยังไม่สมบูรณ์
จำเลยยื่นหนังสือเสนอขอซื้อเครื่องในสุกรชำแหละจากโจทก์โดยยินยอมทำสัญญาและวางเงินประกัน โจทก์มีหนังสือตอบสนองว่า ผู้อำนวยการของโจทก์ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วเห็นควรจำหน่ายให้จำเลยตามราคาที่เสนอขอซื้อ ให้ไปทำสัญญาซื้อขายและวางเงินประกัน ดังนี้ตามหนังสือเสนอสนองของโจทก์จำเลยดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างก็มีเจตนาว่าสัญญาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือเสียก่อน ฉะนั้น กรณีของโจทก์จำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน เพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือตามกฎหมาย การตกลงเบื้องต้นยังไม่ถือเป็นสัญญา
จำเลยยื่นหนังสือเสนอขอซื้อเครื่องในสุกรชำแหละจากโจทก์โดยยินยอมทำสัญญาและวางเงินประกัน โจทก์มีหนังสือตอบสนองว่าผู้อำนวยการของโจทก์ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วเห็นควรจำหน่ายให้จำเลยตามราคาที่เสนอขอซื้อ ให้ไปทำสัญญาซื้อขายและวางเงินประกัน ดังนี้ตามหนังสือเสนอสนองของโจทก์จำเลยดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างก็มีเจตนาว่าสัญญาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือเสียก่อน ฉะนั้น กรณีของโจทก์จำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน เพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า การต่อสัญญาต้องตกลงกัน
ค่าเช่าเป็นสารสำคัญในสัญญาเช่า ซึ่งคู่กรณีต้องตกลงกันในข้อนี้ก่อน จำเลยขอเช่าต่อตามค่าเช่าเดิม โจทก์ไม่สนองรับ ยังไม่มีสัญญาเช่าต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันค่าปรับและการชดใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ส. ประกันตัว ก. จำเลยในคดีอาญาไปจากศาล จำเลยได้ทำสัญญาหมาย จ.1 ให้ ส. ไว้ว่า ถ้า ก. หลบหนีจำเลยขอรับผิดชดใช้ค่าปรับตามคำสั่งศาลแทน ส. ตลอดจนค่าติดตามทวงถามด้วยโจทก์ตกลงกับจำเลยแก้ชื่อ ส. ใส่ชื่อโจทก์ในสัญญา จ.1 ดังนั้นเมื่อก. หลบหนีจนศาลสั่งปรับโจทก์ 20,000 บาทและโจทก์ได้ชำระค่าปรับต่อศาลแล้วจำเลยจึงต้องชดใช้เงินจำนวนนี้แก่โจทก์ส่วนค่าติดตามทวงถามตามสัญญาค้ำประกันนั้นหมายถึงค่าติดตามทวงถามเรื่องเงินค่าปรับไม่ใช่ติดตามตัว ก. ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการติดตามและสืบหาตัว ก. สำหรับค่าธรรมเนียมในการที่โจทก์ถูกศาลยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชำระค่าปรับนั้นเมื่อมิได้กำหนดไว้ในสัญญาและเมื่อโจทก์ถูกศาลสั่งปรับ ก็มิได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าปรับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเสนอและสนองที่นำไปสู่การซื้อขายเนื้อที่น้อยลง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลงเนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง 3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่ ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่าจะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลยทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ผลของการเสนอและสนองที่แตกต่างจากสัญญาเดิม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลง เนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว. ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่. ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่า จะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา 400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก 1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลย ทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการโอนกรมธรรม์ประกันภัย: การแสดงเจตนาต้องถึงผู้รับประกันก่อนเกิดเหตุ
จำเลยรับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้ โดยมีข้อสัญญาต่อกันว่าให้โจทก์เปลี่ยนรถคันใหม่เข้าประกันแทนรถคันเดิมได้แต่การโอนนี้จะมีผลเมื่อใดไม่มีข้อตกลงไว้แน่ชัด โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยขอโอนกรมธรรม์ไปคุ้มครองรถคันใหม่ ระหว่างที่ยังไม่ได้รับคำตอบจากจำเลย คนขับรถของโจทก์ขับรถคันเดิมชนราวสะพานได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นโจทก์จึงได้รับหนังสือสนองตอบจากจำเลยว่าได้สลักหลังกรมธรรม์และลงนามไว้เป็นสำคัญ ณ วันที่ตอบสนอง เห็นได้ว่าจำเลยมิได้ถือว่าการขอโอนกรมธรรม์มีผลก่อนวันที่ระบุไว้ในหนังสือตอบสนอง หรือตั้งแต่วันที่โจทก์มีหนังสือขอโอน การแสดงเจตนายอมรับการโอนการคุ้มครองรถย่อมมีผลเมื่อโจทก์ได้รับหนังสือสนองตอบของจำเลยอันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด เพราะวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่รถคันที่เกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการโอนกรมธรรม์ประกันภัย: การแสดงเจตนาต้องถึงผู้รับประกันก่อนเกิดเหตุ
จำเลยรับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้ โดยมีข้อสัญญาต่อกันว่าให้โจทก์เปลี่ยนรถคันใหม่เข้าประกันแทนรถคันเดิมได้แต่การโอนนี้จะมีผลเมื่อใดไม่มีข้อตกลงไว้แน่ชัด โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยขอโอนกรมธรรม์ไปคุ้มครองรถคันใหม่ ระหว่างที่ยังไม่ได้รับคำตอบจากจำเลย คนขับรถของโจทก์ขับรถคันเดิมชนราวสะพานได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นโจทก์จึงได้รับหนังสือสนองตอบจากจำเลยว่าได้สลักหลังกรมธรรม์และลงนามไว้เป็นสำคัญณ วันที่ตอบสนอง เห็นได้ว่าจำเลยมิได้ถือว่าการขอโอนกรมธรรม์มีผลก่อนวันที่ระบุไว้ในหนังสือตอบสนอง หรือตั้งแต่วันที่โจทก์มีหนังสือขอโอน การแสดงเจตนายอมรับการโอนการคุ้มครองรถย่อมมีผลเมื่อโจทก์ได้รับหนังสือสนองตอบของจำเลยอันเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด เพราะวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่รถคันที่เกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเสนอซื้อขายมีเงื่อนเวลา หากไม่ปฏิบัติตาม ข้อผูกพันสิ้นสุด
โจทก์เสนอขอซื้อไม้จากจำเลย จำเลยสนองตอบว่าจะขายให้ แต่ให้ติดต่อชำระเงินและรับมอบไม้ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อไม้รายนี้ ดังนี้ ถ้าโจทก์ได้ชำระเงินค่าไม้บางส่วน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ข้อผูกพันตามคำสนองของจำเลยที่บอกขายไม้ให้โจทก์ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องขายไม้นั้นให้โจทก์
of 20