พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,076 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15400/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่ชอบด้วยระเบียบ สิทธิในการปรับขึ้นเงินเดือนย่อมไม่มี
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 ที่เห็นชอบให้กำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 13 (2) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการได้เองเมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ความเห็นชอบแล้ว เป็นเพียงการให้อำนาจคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งในการปรับปรุงค่าจ้าง การกำหนดอัตราค่าจ้างแรกบรรจุ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำขั้นสูงของลูกจ้างทุกตำแหน่งเท่านั้น หาได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ ดังนั้นโรงงานยาสูบโดยคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมามีมติและคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ทั้งแปดร้อยหกเป็นกรณีพิเศษ คนละ 1 ขั้นได้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์ทั้งแปดร้อยหกจึงต้องตกอยู่ภายใต้ระเบียบโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานยาสูบ พ.ศ.2520 ซึ่งกำหนดให้การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้เลื่อนตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนแรกของปีที่ได้เลื่อน อันได้แก่วันที่ 1 ตุลาคมของปีงบประมาณภายใต้วงเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนที่ได้รับอนุมัติไว้ในแต่ละปี ดังนั้น คำสั่งที่ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ทั้งแปดร้อยหกคนละ 1 ขั้น ให้มีผลในวันที่ 7 เมษายน 2547 จึงขัดต่อระเบียบดังกล่าว ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ แม้คณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบจะมีคำสั่งให้ปรับเงินเดือนของโจทก์ทั้งแปดร้อยหกไปแล้วอันอาจมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งแปดร้อยหกมากกว่าก็ตาม แต่สภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยพลการนั้นต้องเป็นสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบเท่านั้น เมื่อคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนแก่โจทก์ทั้งแปดร้อยหกไม่ชอบตามระเบียบข้างต้น โจทก์ทั้งแปดร้อยหกจึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13116-14666/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพของรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี
บำเหน็จดำรงชีพแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเองแต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยจะอนุโลมเอาการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ในข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 4.9 ตามข้อ 17 วรรคสอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงในหลักการของสภาพการจ้างที่เป็นตัวเงินเกิดขึ้น ทำให้ลักษณะการจ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทแตกต่างไปจากเดิมทั้งตัวผู้รับและกำหนดเวลาที่ได้รับ กับลักษณะการจ่ายเงินจากทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนในอนาคตก็เปลี่ยนเป็นจ่ายตามความประสงค์ของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนที่ยังมีชีวิตอยู่ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินของจำเลยในปัจจุบันจำเลยไม่สามารถจ่ายบำเหน็จดำรงชีพได้โดยงบประมาณของจำเลยเองจนจำเลยต้องขอคณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนเป็นเงินทุน 1,469 ล้านบาทเศษ และเป็นเงินทุนสนับสนุนรายปีจากรัฐบาลเมื่อจำเลยเห็นสมควรให้แก้ไขหลักการในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินโดยจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพสำหรับจำเลยที่จำเลยอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา 13 (2) และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงสภาพการจ้างให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 วรรคสามแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยดำเนินการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์ทั้งหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724-8191/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับเพิ่มเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนวันมีมติปรับเพิ่ม
การที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเสนอขอปรับเพิ่มเงินเดือนถือว่าเป็นการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องค่าจ้าง แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่ได้ส่งสำเนาข้อเรียกร้องให้นายทะเบียนทราบ ไม่มีการระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นผู้แทนในการเจรจาของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่มีการแจ้งชื่อผู้แทนจำเลยในการเจรจาแก่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเมื่อตกลงกันได้ตามรายงานการประชุมก็ไม่มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้แทนในการเจรจาทั้งสองฝ่ายแล้วประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน อันเป็นกระบวนการที่กำหนดไว้ในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 25, 26, 27 คงมีแต่รายงานการประชุมซึ่งลงชื่อผู้จดรายงานเพียงผู้เดียว การประชุมระหว่างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับจำเลยจึงเป็นเพียงการตกลงร่วมกันเพื่อให้จำเลยพิจารณาปรับเพิ่มเงินเดือน ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6, 28 เมื่อคณะกรรมการของจำเลยเห็นชอบด้วยในการปรับเพิ่มเงินเดือน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเห็นสมควรปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจ มาตรา 13 วรรคสาม
การพิจารณาว่ามติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีในการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานของจำเลยมีผลครอบคลุมถึงพนักงานกลุ่มใดต้องพิจารณาจากฐานการคิด เหตุผล และข้อมูลที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติโดยใช้ข้อมูลเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้หลักการที่จำเลยตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้เฉพาะพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน โจทก์ทั้งสี่ร้อยหกสิบแปดซึ่งออกจากงานไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือนย่อมไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
การที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นการให้ความเห็นชอบในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม
การพิจารณาว่ามติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีในการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานของจำเลยมีผลครอบคลุมถึงพนักงานกลุ่มใดต้องพิจารณาจากฐานการคิด เหตุผล และข้อมูลที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติโดยใช้ข้อมูลเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้หลักการที่จำเลยตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้เฉพาะพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน โจทก์ทั้งสี่ร้อยหกสิบแปดซึ่งออกจากงานไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือนย่อมไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
การที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นการให้ความเห็นชอบในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3790/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินชดเชยหลังเกษียณ: การระงับข้อพิพาทสัญญาประนีประนอม และฟ้องซ้ำ
ในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 7 ถึงที่ 20 ที่ 32 ถึงที่ 38 ที่ 48 ที่ 50 ถึงที่ 53 ฟ้องคดีเดิมและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการปรับปรุงมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างระดับผู้ปฏิบัติงานโดยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 15 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2544 เป็นต้นไป แต่โจทก์ ก็ยังสมัครใจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน และตกลง "ไม่เรียกร้องใด ๆ อีก" จึงหมายความว่าจะไม่เรียกร้องอื่นใดอีกซึ่งรวมถึงเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะได้รับเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ต่อไปจนเสร็จสิ้นแล้วด้วย อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นในอนาคต ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงมีอิสระแก่ตนพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงมีผลใช้บังคับ ดังนั้นการเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน จึงระงับสิ้นไป
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060-3064/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับขององค์กร ไม่สามารถอ้างสิทธิจากหนังสือเวียนของกระทรวงการคลัง
หนังสือกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรการปรับลดอัตราเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2544 เป็นเพียงการผ่อนปรนจำนวนเงินปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดร้อยละ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาจำนวนวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานผู้มีสิทธิเลื่อนขั้นคนละ 1 ขั้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจไม่มีข้อบังคับ/คำสั่งกำหนดความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขึ้นหรือมีระเบียบแต่จำนวนเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอเท่านั้น ส่วนการจะปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้พนักงานคนใดบ้างเป็นเรื่องที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องไปพิจารณาเองตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หนังสือกระทรวงการคลังดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการผ่อนปรนให้ปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นไปก่อนแล้วจ่ายเพิ่มหรือปรับให้ภายหลัง จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับการปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลย