พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า LIVE WITH CHIVALRY ไม่เป็นคำทั่วไปหรือลักษณะสินค้า ไม่ต้องแสดงปฏิเสธสิทธิ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิเช่นนั้นผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องโดยเห็นว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำที่ไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงได้รับการจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์เท่ากับโต้แย้งว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ถ้อยคำที่เล็งถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและต้องห้ามมิให้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นคำบรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" ซึ่งมีคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" เป็นส่วนประกอบ โดยคำว่า LIVE แปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH แปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ คำว่า "CHIVALRY" แปลว่า คุณสมบัติของอัศวิน รวมกันแล้วสื่อความหมายได้ว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้ว คำว่า LIVE WITH CHIVALRY จึงไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง และไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ในทันที ทั้งคำดังกล่าวไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านี้โดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำว่า "LIVE WITH" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ เนื่องจากคำว่า "LIVE WITH" ไม่ได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยตรง ถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองแล้ว การที่โจทก์ใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จึงไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "LIVE WITH" กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย
ถ้อยคำที่เล็งถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและต้องห้ามมิให้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นคำบรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" ซึ่งมีคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" เป็นส่วนประกอบ โดยคำว่า LIVE แปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH แปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ คำว่า "CHIVALRY" แปลว่า คุณสมบัติของอัศวิน รวมกันแล้วสื่อความหมายได้ว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้ว คำว่า LIVE WITH CHIVALRY จึงไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง และไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ในทันที ทั้งคำดังกล่าวไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านี้โดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำว่า "LIVE WITH" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ เนื่องจากคำว่า "LIVE WITH" ไม่ได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยตรง ถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองแล้ว การที่โจทก์ใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จึงไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "LIVE WITH" กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการปฏิเสธการจดทะเบียน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเวลาต่อมา จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เพราะตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะต้องเป็นเรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียน และจะต้องเป็นกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาและมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของหลายคน ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อไป การดำเนินการในชั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ดังนั้น โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ต่อศาลโดยตรงเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้ศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการดำเนินการจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ไม่ได้ กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า: ต้องอ้างอิงมาตรา 16 ไม่ใช่มาตรา 27 (การใช้โดยสุจริต)
คดีนี้เริ่มต้นมาจากกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเวลาต่อมา จึงเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 16 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 27 แต่อย่างใดไม่ เพราะจะต้องเป็นเรื่องที่ต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียน และจะต้องเป็นกรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาและมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันให้แก่เจ้าของหลายคนผู้ขอจะทะเบียนเครื่องหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773-776/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะและผลของการใช้เครื่องหมาย
แม้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นที่สุดก็ตาม แต่หากคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องเพื่อให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวได้ คดีนี้โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายเป็นเครื่องหมายประเภทรูปร่างและรูปทรงของวัตถุ และมีลักษณะทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าอื่น ทั้งได้ใช้และโฆษณาแพร่หลายทั่วไปมานานจึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ เท่ากับโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสี่คำขอเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้และการใช้สิทธิทางศาลในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ได้แม้การยื่นฟ้องคดีนี้จะยื่นเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ไม่มีกำหนดระยะเวลา 90 วัน
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอ เนื่องจากเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว และโจทก์เห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อาจฟ้องต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ซึ่งการใช้สิทธิทางศาลในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 38 วรรคสอง และมาตรา 39 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า DERMACREAM เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะสินค้า จึงจดทะเบียนไม่ได้
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น ย่อมหมายถึงคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากผู้ขอจดทะเบียนยังไม่เห็นด้วยกับเหตุผลในคำวินิจฉัยว่าลักษณะของเครื่องหมายการค้าของผู้ขอมีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรแล้ว ผู้ขอย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ทบทวนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ของโจทก์ โดยตั้งข้อหาไว้ชัดเจนว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534