พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่เป็นธรรม & ดอกเบี้ยกรณีศาลวินิจฉัยให้ชำระเพิ่ม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษ และในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 1 เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว...พ.ศ. 2533 กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 กระทำหรือดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินพิพาทในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้
โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือศาลมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินซึ่งเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมานับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น โดยไม่จำต้องรอให้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดเสียก่อน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม มาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ส่วนวันที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนไปยังโจทก์ผู้ถูกเวนคืนก็มิใช่วันวางเงินตามมาตรา 26 วรรคสุดท้าย และมาตรา 28 วรรคสองดังนั้น วันวางเงินตามความหมายแห่งกฎหมายทั้งสองบทนี้ คือวันสิ้นสุดกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของฝ่ายจำเลยให้ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทน และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใด จึงต้องถือวันเดือนปี ที่ออกหนังสือดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นนับกำหนดเวลา
จำเลยมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยภายใน 60 วัน หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 สิ้นสุด 60 วัน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2536วันวางเงินค่าทดแทนจึงเป็นวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 ดังนั้น วันเริ่มคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มจึงเป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าทดแทนเสร็จ
โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือศาลมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินซึ่งเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมานับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น โดยไม่จำต้องรอให้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดเสียก่อน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม มาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ส่วนวันที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนไปยังโจทก์ผู้ถูกเวนคืนก็มิใช่วันวางเงินตามมาตรา 26 วรรคสุดท้าย และมาตรา 28 วรรคสองดังนั้น วันวางเงินตามความหมายแห่งกฎหมายทั้งสองบทนี้ คือวันสิ้นสุดกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของฝ่ายจำเลยให้ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทน และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใด จึงต้องถือวันเดือนปี ที่ออกหนังสือดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นนับกำหนดเวลา
จำเลยมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยภายใน 60 วัน หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 สิ้นสุด 60 วัน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2536วันวางเงินค่าทดแทนจึงเป็นวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 ดังนั้น วันเริ่มคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มจึงเป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าทดแทนเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับคดี: ผลของวันหยุดราชการต่อการออกหมายบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 ว่าด้วย การนับระยะเวลาคือลักษณะ 5 ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในการออกหมายบังคับคดีด้วย แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย ต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดี แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการ ทำให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์และหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าวแม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มิได้ไปดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในวันที่ออกหมายบังคับคดีแต่ไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาในคำบังคับและการออกหมายบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย และแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วยกรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดการที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับคดี: วันหยุดราชการและเจตนาให้ลูกหนี้ชำระหนี้
คำว่า "ลักษณะนี้" ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.ด้วย และแม้ ป.วิ.พ.มาตรา 273วรรคสาม จะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย กรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระค่าปรับตามหนังสือแจ้งหนี้ การเริ่มนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้นโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่30พฤศจิกายน2535ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/1การนับระยะเวลา15วันในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา193/3วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใดจึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่30พฤศจิกายน2535นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยการนับระยะเวลา15วันตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1ธันวาคม2535และครบกำหนด15วันในวันที่15ธันวาคม2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน15ธันวาคม2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตั้งแต่วันที่16ธันวาคม2535เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระหนี้ตามหนังสือแจ้งหนี้ และผลของการผิดนัดชำระ
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม2535 และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 แห่งป.พ.พ.ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาผิดนัดชำระค่าปรับ: การกำหนดวันเริ่มต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา 15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1 ธันวาคม 2535 และครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน 15 ธันวาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม