พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้สลักหลังเช็คคือผู้ค้ำประกัน (อาวัล) มีความรับผิดเท่าผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ผู้สลักหลังตามมาตรา 990
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ฐานะของผู้สลักหลังย่อมเป็นเพียงผู้ค้ำประกันการใช้เงินตามเช็คนั้น (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 และตามมาตรา 940 ผู้สลักหลังย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องผูกพันในเช็คที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น และย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค ตามมาตรา 967
ผู้ที่เซ็นชื่อสลักหลังเช็ค มีฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 หาใช่มีฐานะเป็นผู้สลักหลังไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990
ผู้ที่เซ็นชื่อสลักหลังเช็ค มีฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 หาใช่มีฐานะเป็นผู้สลักหลังไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินเมื่อชำระหนี้แทนได้ แม้ยังไม่ชำระหนี้ทั้งหมด
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระหนี้ ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินรองรับ และความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะตัวการ
เช็คซึ่งให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ถ้าผู้ทรงเช็คไม่ยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็คนั้น ก็ทำให้ผู้ทรงเช็คเสียสิทธิบางอย่างดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 940 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ไม่ทำให้ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ พ้นผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคล จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัท จำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะทีออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคล จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัท จำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะทีออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย