พบผลลัพธ์ทั้งหมด 799 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่พิพาทกับโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 750,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปก็ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 4,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์และหรือจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยทั้งสองทราบคำบังคับแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ไปรับการจดทะเบียนการเช่าที่ดินที่พิพาท ณ สำนักงานที่ดิน แต่โจทก์ไม่ไปตามนัด เพราะโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างอาคารพิพาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยและไม่อาจทำการค้าได้ อาคารพิพาทมีสภาพรกร้างไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยหากโจทก์รับจดทะเบียนการเช่าแล้วไม่ทำการค้าภายใน 4 ปี โจทก์จะต้องถูกขับไล่และหากไม่ออกจากอาคารพิพาทก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพที่ทำการค้าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วก็ตามแต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์จดทะเบียนมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่า ที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น บุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่าห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องทำการค้าภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่ามิฉะนั้นต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 และมาตรา 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีจำเลยชำระค่าเช่าแต่โจทก์ไม่ยอมรับ
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าผิดสัญญาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาเช่า และให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์ที่เช่าแต่จำเลยไม่ยอมออกจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยขนย้ายออกไปคำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2533 เป็นต้นมา จนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534 เป็นต้นมา ก็ต้อง ถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียด เกี่ยวกับวันผิดนัดจริง หากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง การที่จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธ ไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็น ผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลและการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากวันฟ้อง และเลื่อนคดีจากวันนัดเดิมเป็นระยะเวลาห่างกันถึง 41 วัน ทั้งศาลชั้นต้นยังกำหนดให้นัดสืบพยานไว้เต็มวันและได้กำชับทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้นำพยานมาสืบให้พร้อมตามนัด ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมมีโอกาสติดต่อตระเตรียมให้จำเลยที่ 3 มาเบิกความเป็นพยานได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 1 เดือนเศษ ซึ่งทนายความจำเลยที่ 3และที่ 4 ตลอดทั้งตัวจำเลยที่ 3 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าคดีนี้ได้ค้าง การพิจารณามาเกือบ 5 ปี และการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานคราวละหลายวันโดยกำหนดให้สืบพยานตลอดทั้งวัน ทั้งได้กำชับให้นำพยานมาสืบตามนัดก็เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดีมิให้ล่าช้าต่อไป การที่ตัวจำเลยที่ 3 ทราบวันนัดล่วงหน้าและมีโอกาสเตรียมตัวเป็นพยานนับเดือน แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาตามนัดกลับไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือติดต่อให้ทนายความของตนทราบจนกระทั่งทนายความต้องติดต่อทางโทรศัพท์ไปที่บ้านของจำเลยที่ 3 ในวันนัด ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะออกนั่งพิจารณาเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใส่ใจในการเป็นพยานเพื่อประโยชน์ของตนเองการกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้าทั้งการที่ตัวจำเลยที่ 3 มาศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะฝนตกหนักก็มิใช่เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบตัวจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453จากจำเลยที่ 4 และที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 1377จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ภายหลังจำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5และจำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6อีกทอดหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายและมีคำขอบังคับขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่ 5 และที่ 6 แล้วบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4โอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนการโอนตามสัญญา และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหาย พร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลของจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกร่วมกันโอนที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วไปอีกหลายทอดโดยจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จึงขอให้บังคับไปตามสัญญา แต่ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินบางแปลงดังกล่าวแล้ว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแทนอันเป็นการขอให้บังคับเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่ แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็สามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นในภายภาคหน้า ไม่จำเป็นที่ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วส่วนข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 2 ที่ระบุว่า "ผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ในการซื้อขายที่ดินตาม "สัญญา ก." แทนผู้จะขายได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานั้นทุกประการ นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"และข้อ 5 ระบุว่า "ส่วนสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเฉพาะ2 ใน 11 ส่วน ตาม "สัญญา ก." ซึ่งผู้จะขายมีอยู่อย่างไรก็ให้ผู้จะซื้อรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่นั้น ๆ โดยผู้จะซื้อจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือบังคับใด ๆ และอื่นใดแก่ผู้จะขายไม่ว่ากรณีใด ๆนับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" ย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยที่ 2 ย้ำเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวตามสิทธิที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองรวมกับที่ดินแปลงอื่น ข้อความที่ว่านี้หาได้หมายถึงการโอนสิทธิเรียกร้องหรือการแปลงหนี้ใหม่เพื่อให้หนี้เดิมระงับไปไม่ เหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากการกระทำของ น. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการรับชำระหนี้จากโจทก์ทั้งสองด้วยการพยายามบ่ายเบี่ยงอ้างเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติการชำระหนี้และดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ทัน พฤติการณ์ของ น. บ่งบอกได้ว่าความจริงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายไม่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการที่ น. ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ตามที่โจทก์ทั้งสองขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียงฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งสองหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองชอบจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นด้วยก็ตาม ก่อนโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่25452,25453 เอกสารหมาย จ.1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ทั้งสองได้ไปพบกับจำเลยที่ 3 แจ้งเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อที่ดินทั้งสามแปลงที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ให้จำเลยที่ 3 ทราบ และนัดให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองโดยตรงซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตกลง ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบจากจำเลยที่ 3 ว่า ช. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พาคนอื่นมาซื้อที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปแล้ว ทั้งการโอนขายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นก็โอนขายกันในราคาที่ต่ำกว่าสัญญาจะซื้อ จะขายที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 มาก ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4ก็ทราบดีว่าที่ดินทั้งสามแปลงทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เอกสารหมาย จ.2 ได้ทำการโอนที่ดินให้แก่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสอง ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 เสียเปรียบโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียประโยชน์โจทก์ทั้งสองจึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 2เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกบทบัญญัติในมาตรา 233 และ 237 วรรคหนึ่ง มาปรับใช้แก่คดีนี้ชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5 ในราคาแปลงละ 1,000,000 บาทและจำเลยที่ 5 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6ในราคา 1,500,000 บาท เป็นการซื้อขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดโดยทั่วไป ทั้งต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2ไว้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อนำราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาปกติดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับการที่จำเลยที่ 5 ไม่เคยไปดูสภาพที่ตั้งของที่ดินที่จะซื้อก่อนว่ามีสภาพอย่างไรมีทางเข้าออกทางสาธารณะหรือไม่ ย่อมบ่งบอกได้ว่าจำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 มาโดยไม่สุจริตอีกทั้งจำเลยที่ 5 และที่ 6 เกี่ยวข้องเป็นญาติกับ ช.กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วยแล้วจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทราบดีอยู่ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนโอนแล้วว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนแล้ว อันเป็นอีกเหตุหนึ่งที่สนับสนุนให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวและดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตน ได้อยู่ก่อนชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลมิให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองกำหนดให้เป็นผู้รับโอนสามารถรับโอนได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ก็จะต้องร่วมกันรับผิดคืนเงินมัดจำจำนวน2,760,800 บาท และเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินมัดจำจำนวน5,521,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,282,400 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกำหนดค่าทนายความแก่คู่ความผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลในแต่ละศาล คดีนี้เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์สูงถึง73,282,400 บาทและเป็นคดีที่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งต้องใช้เวลาในการพิจารณาในศาลชั้นต้นนานถึง 5 ปีเศษ หากเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทน โจทก์ทั้งสอง 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนด 500,000 บาท กับอัตราตามที่กฎหมายกำหนดให้ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดดังกล่าวยังต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายให้อำนาจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดได้อยู่มาก นับได้ว่าศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสองเหมาะสมแก่รูปคดีและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจ้างทำของที่ไม่ชอบธรรม จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและค่าวัสดุคงเหลือ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์ เครื่องโม่ปูนวัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วยแม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์ มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อ สัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้างานจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเองโดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: การเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดในค่าเสียหาย
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง 400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์เครื่องโม่ปูน วัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วย แม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อสัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามาก จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอม โดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง
กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเอง โดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 605
ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อสัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามาก จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอม โดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง
กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเอง โดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 605
ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน-ดอกเบี้ย-การผิดนัดชำระ-การเข้าใช้ประโยชน์
ตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 28 บัญญัติไว้ว่า เมื่อตกลงเรื่องค่าทดแทนกันไม่ได้ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มิได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่อนุญาโตตุลาการ ที่คู่กรณีตั้งขึ้นไม่สามารถชี้ขาดด้วยเสียงข้างมากได้ จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 224 มาบังคับใช้ เมื่อจำเลยเข้าใช้ที่ดิน ของโจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้บางส่วนและการคิดดอกเบี้ย: โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแม้จำเลยเสนอชำระหนี้บางส่วนไม่ได้
จำเลยทั้งสองค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ 161,973.60 บาท หนี้ครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยที่ 1 จะบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน 65,331 บาท ไม่ได้ การที่โจทก์ไม่ยอมรับชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัด โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้น เงิน 65,331บาท จากจำเลยทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้บางส่วนไม่ครบถ้วนและการคิดดอกเบี้ย: โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ทั้งหมด แม้จำเลยจะเสนอชำระบางส่วน
จำเลยทั้งสองค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ 161,973.60 บาท หนี้ครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยที่ 1 จะบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน 65,331 บาท ไม่ได้ การที่โจทก์ไม่ยอมรับชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัด โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้น เงิน 65,331 บาท จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าทดแทนที่ดินเวนคืน แม้เสนอราคาแล้วแต่ไม่วางเงินต่อศาล เจ้าของที่ดินไม่ถือเป็นผู้ผิดนัด
แม้จำเลยจะแสดงเจตนาชำระค่าทดแทนที่ดินที่เวนคืนให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับโดยจะเอาให้มากกว่านั้นจำเลยก็หาได้นำเงินตามที่จำเลยเสนอไปวางต่อศาลตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินที่วางไม่ทั้งการที่โจทก์ไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยถึงที่สุดว่า จำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยเสนอให้โจทก์เป็นราคาที่เป็นธรรมแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยเมื่อเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่ไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่วางเงินต่อศาล
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดเกี่ยวกับการชำระค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินกรณีเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยเสนอไว้ว่าให้นำเงินไปวางต่อศาลเมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยมิได้นำเงินดังกล่าวไปวางต่อศาล และการที่เจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ นับแต่วันที่เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 224.