คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 207

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 799 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
ศาลให้โอกาสจำเลยเลื่อนสืบ ส. พยานจำเลยปากสุดท้ายมา 2 นัด นัดแรกที่ขอเลื่อนจำเลยแถลงรับรองว่าถ้าไม่ได้พยานปากนี้มาสืบก็ให้ศาลตัดพยานปากนี้ได้ ถึงวันนัด ส.ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยเลื่อนสืบพยานปากนี้ต่อไปอีกในนัดที่สามจำเลยบอก ส.ว่าไม่ต้องมาเบิกความที่ศาลโดยอ้างว่ากำลังเจรจาขอลดดอกเบี้ยกับโจทก์ ก็ปรากฏว่า การลดดอกเบี้ยนี้ต้องให้กรรมการของโจทก์พิจารณาเสียก่อน และมีผลเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่นำพยานมาสืบ และมีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่จะประวิงคดี ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไปได้
จำเลยมีหนังสือนัดหมายโจทก์ไปทำการไถ่ถอนจำนองและรับชำระหนี้จากจำเลยที่สำนักงานที่ดิน โดยจำเลยจะขอชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่จะต้องชำระให้โจทก์ โจทก์ย่อมปฏิเสธที่จะไม่รับชำระหนี้ดังกล่าวได้ การที่โจทก์ไม่รับชำระหนี้และไปไถ่ถอนจำนองให้ จะถือว่าโจทก์ผิดนัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดี, การบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, การชำระหนี้ไม่ครบถ้วน
ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยเลื่อนสืบ ส. พยานจำเลยมา 2 นัดแล้ว นัดแรกที่ขอเลื่อนจำเลยแถลงรับรองว่าถ้า ไม่ได้พยานปากนี้มาสืบก็ให้ศาลตัดพยานปากนี้ได้ ในนัดที่สามจำเลยควรนำ ส. มาสืบให้ได้ จำเลยกลับบอก ส. ให้ระงับไม่ต้องมาศาล ที่จำเลยอ้างว่ากำลังเจรจาขอลดดอกเบี้ยกับโจทก์อยู่นั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องให้กรรมการของโจทก์พิจารณาเสียก่อนและมีผลเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พฤติการณ์จำเลยส่อไปในทางที่จะประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปสืบ ส. และถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป จึงชอบแล้ว จำเลยมีหนังสือนัดหมายโจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ แต่หนี้ที่ระบุในหนังสือดังกล่าวไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่จะต้องชำระให้โจทก์โจทก์ย่อมปฏิเสธที่จะไม่รับชำระหนี้ได้และไม่ถือว่าโจทก์ตก เป็นผู้ผิดนัด จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย ขอให้ยกฟ้องส่วนที่เป็นดอกเบี้ย จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์เฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย การปฏิบัติตามสัญญา และผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้จะมีการวางมัดจำด้วยก็ถือได้ว่าการวางมัดจำเป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น หาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าจำเลยจะต้องรื้อบ้านหรือไถ่ถอนจำนองก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นข้อความที่เพิ่มเติมจากสัญญาต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1545/2492)
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ โดยจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในการโอนที่ดินให้โจทก์ในวันที่กำหนดตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องมารับโอนและชำระราคาในวันนัด การที่โจทก์ไม่มารับโอนและไม่ชำระราคาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายจึงถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้ แม้โจทก์จะกำหนดเวลาโอนขึ้นใหม่ในภายหลังก็ไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการลดอัตราดอกเบี้ยตามข้อบังคับธนาคาร กรณีผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ธนาคารไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปี ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปีตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปี จึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31(ข) โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามข้อบังคับธนาคารอาคารสงเคราะห์ แม้ผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน โจทก์ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปีต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปีจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31 (ข)โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยคำนวณจากค่าจ้างจริง ไม่ใช่เงินเลื่อนขั้นเกษียณ และการผิดนัดรับชำระหนี้ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ย
การที่พนักงานรถไฟได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบประจำปีอีก 1 ขั้นในปีที่เกษียณอายุโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น โดยที่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 31 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วบัญญัติไว้ในวรรคสองว่า การเลื่อนเงินเดือนในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับเงินเดือนที่ได้เลื่อน แต่เงินเดือนที่ได้เลื่อนให้ถือเสมือนว่าเป็นเงินเดือนเดิม อัตราเงินเดือนที่ได้เพิ่มขึ้นในวันสุดท้ายที่เกษียณอายุจึงเป็นแต่เพียงสิทธิ ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและจะนำมาคำนวณค่าชดเชยไม่ได้เพราะคำว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย.ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วนั้นมุ่งหมายถึงค่าจ้างครั้งสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับตามความเป็นจริง
การที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับชำระโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ผลของการทำเช็คหายต่อการระงับหนี้
บทบัญญัติมาตรา 321 วรรคท้ายมิได้จำกัดว่า ต้องเป็นกรณีผู้ทรงได้นำตั๋วเงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินแล้ว แต่ผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินหนี้เดิมจึงจะไม่ระงับ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ทำเช็คที่จำเลยโอนชำระหนี้หายไป จึงมิได้นำเช็คไปยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และไม่มีการใช้เงินตามเช็คนั้นก็อยู่ในบังคับของมาตรานี้ อันมีผลว่าหนี้เดิมยังไม่ระงับไปเช่นเดียวกัน การที่โจทก์เพิ่งแจ้งเหตุขัดข้องในการเรียกเก็บเงินตามเช็คดังกล่าวให้จำเลยทราบ จำเลยจะได้รับความเสียหายอย่างไรหรือไม่ ย่อมเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากมูลหนี้เดิม เมื่อมูลหนี้ดังกล่าวยังมีอยู่ไม่ระงับไป จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้นั้นให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยเป็นผู้ออกข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมอบเช็คซึ่งมี อ. เป็นผู้สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันเดียวกันกับที่จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็คนั้นถึงกำหนดใช้เงินก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน อ. มีฐานะการเงินเป็นที่เชื่อถือในวงการค้า เชื่อได้ว่าหากโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปขึ้นเงินโจทก์ก็จะได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ซึ่งตามมาตรา 221 มิให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างนั้น จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และผลกระทบจากการที่เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้
ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญา 30,000 บาทผู้ค้ำประกันรับผิดเพียง 30,000 บาท กับดอกเบี้ยในจำนวนนั้น แต่ไม่ต้องรับผิดในจำนวนต้นเงินที่เกิน 30,000 บาท
ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้ตามจำนวนที่ต้องรับผิด แต่เจ้าหนี้ไม่รับชำระ เจ้าหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ย หลังจากที่เจ้าหนี้ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตึกแถว: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับเหมา ผู้เช่า และเจ้าของที่ดิน เมื่อสัญญาไม่สมบูรณ์
จำเลยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของ บ.เมื่อสร้างเสร็จตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ บ.จำเลยมีสิทธิเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่า โจทก์ทำสัญญาตกลงจะเช่าตึกแถวกับจำเลย ต้องช่วยค่าก่อสร้าง 105,000 บาท โจทก์ชำระให้จำเลยแล้ว 100,000 บาท ยังค้างอยู่ 5,000 บาท เมื่อโจทก์เข้าอยู่ได้ราว 2 ปีแล้ว จำเลยได้นำโจทก์ไปพบกับตัวแทนของ บ.เพื่อทำสัญญาเช่า แต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่ได้ทำสัญญาเช่า เป็นเรื่องของโจทก์ที่ไม่ยอมทำสัญญาเช่าเอง โจทก์มิได้ชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอีก 5,000 บาทให้จำเลยตามข้อสัญญาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้าง ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจัดการให้โจทก์ได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดินหรือเรียกเงินที่ชำระแล้วคืน กับให้ใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยก็มีสิทธิเพียงเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าเท่านั้น ไม่มีสิทธิในตึกแถวแต่อย่างใดสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินช่วยค่าก่อสร้างกับเรื่องจำเลยจะ นำโจทก์ไปทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดินในเมื่อชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างครบแล้ว มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยในตึกแถวเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขับไล่โจทก์ออกจากตึกแถวและเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการช่วยเหลือค่าก่อสร้าง: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับเหมา ผู้เช่า และเจ้าของที่ดิน
จำเลยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของ บ. เมื่อสร้างเสร็จตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ บ. จำเลยมีสิทธิเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าโจทก์ทำสัญญาตกลงจะเช่าตึกแถวกับจำเลยต้องช่วยค่าก่อสร้าง 105,000 บาท โจทก์ชำระให้จำเลยแล้ว 100,000 บาท ยังค้างอยู่5,000 บาท เมื่อโจทก์เข้าอยู่ได้ราว 2 ปีแล้วจำเลยได้นำโจทก์ไปพบกับตัวแทนของ บ. เพื่อทำสัญญาเช่าแต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่ได้ทำสัญญาเช่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่ไม่ยอมทำสัญญาเช่าเองโจทก์มิได้ชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอีก 5,000 บาท ให้จำเลยตามข้อสัญญาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญากับจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจัดการให้โจทก์ได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดินหรือเรียกเงินที่ชำระแล้วคืนกับให้ใช้ค่าเสียหายแต่จำเลยก็มีสิทธิเพียงเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าเท่านั้นไม่มีสิทธิในตึกแถวแต่อย่างใดสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินช่วยค่าก่อสร้างกับเรื่องจำเลยจะนำโจทก์ไปทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดินในเมื่อชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างครบแล้ว มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยในตึกแถวเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิขับไล่โจทก์ออกจากตึกแถวและเรียกค่าเสียหาย
of 80