คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 208

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนพนักงาน, อายุความการทำงานต่อเนื่อง, ค่าชดเชยและบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม. ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่าให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ. และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม. และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกันดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ. จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้วการที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนพนักงาน-อายุงานต่อเนื่อง-ค่าชดเชย-เงินบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม.ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่า ให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน
แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ.และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม.และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ.
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย การปฏิบัติตามสัญญา และผลของการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้จะมีการวางมัดจำด้วยก็ถือได้ว่าการวางมัดจำเป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น หาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าจำเลยจะต้องรื้อบ้านหรือไถ่ถอนจำนองก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นข้อความที่เพิ่มเติมจากสัญญาต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1545/2492)
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ โดยจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในการโอนที่ดินให้โจทก์ในวันที่กำหนดตามหนังสือบอกกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องมารับโอนและชำระราคาในวันนัด การที่โจทก์ไม่มารับโอนและไม่ชำระราคาโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายจึงถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้ แม้โจทก์จะกำหนดเวลาโอนขึ้นใหม่ในภายหลังก็ไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา ความผิดของผู้ว่าจ้างในการไม่ส่งมอบพื้นที่ และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร จำเลยผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องมอบพื้นที่และกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่โจทก์จะต้องก่อสร้าง การที่จำเลยสั่งระงับการก่อสร้าง เฉพาะการวางผังและตอกเสาเข็มรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่ตรวจแนวเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาต่อไปได้แต่ในสัญญาจ้างเหมาไม่มีข้อสัญญาให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้เลย สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจึงย่อมมีอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นแม้สัญญาจ้างเหมาจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการให้โจทก์ลงมือก่อสร้างต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อขัดข้อง ไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อโจทก์ยังไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา การผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร จำเลยผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องมอบพื้นที่และกำหนดแนวเขตพื้นที่ที่โจทก์จะต้องก่อสร้างการที่จำเลยสั่งระงับการก่อสร้างเฉพาะการวางผังและตอกเสาเข็มรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่ตรวจแนวเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อนจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาต่อไปได้แต่ในสัญญาจ้างเหมาไม่มีข้อสัญญาให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้เลย สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจึงย่อมมีอยู่เฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นแม้สัญญาจ้างเหมาจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยดำเนินการให้โจทก์ลงมือก่อสร้างต่อไปโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อขัดข้อง ไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้ว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อโจทก์ยังไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้: โอนที่ดินก่อนชดใช้ค่าเสียหาย - มิใช่สิทธิเลือก
ในคดีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ก่อน ถ้าไม่สามารถโอนจึงให้ใช้ค่าเสียหายแทนนั้น การชำระหนี้ต้องเป็นไปตามลำดับ เพราะมิใช่กรณีให้สิทธิเลือกชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อการโอนที่ดินยังอาจปฏิบัติได้ จำเลยจึงจะขอชดใช้ค่าเสียหายแทนโดยโจทก์มิได้ยินยอมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้: โอนที่ดินก่อนชำระค่าเสียหาย - มิใช่สิทธิเลือก
ในคดีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ก่อนถ้าไม่สามารถโอนจึงให้ใช้ค่าเสียหายแทนนั้น การชำระหนี้ต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีให้สิทธิเลือกชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อการโอนที่ดินยังอาจปฏิบัติได้จำเลยจึงจะขอชดใช้ค่าเสียหายแทนโดยโจทก์มิได้ยินยอมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระด้วยเงินสดตามสัญญา และการบอกเลิกสัญญา
สัญญาจะซื้อขายระบุว่าผู้ซื้อจะนำเงินสดไปชำระในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินครั้นถึงวันนัดโอนผู้ซื้อสั่งจ่ายเช็คเงินสดไปชำระ ผู้ขายไม่ยอมรับและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ถือได้ว่าผู้ซื้อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา ผู้ซื้อจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือเพียงแต่แสดงเจตนาต่อกันก็สมบูรณ์แล้วหนังสือบอกเลิกสัญญาที่จำเลยมอบอำนาจให้บุตรจำเลยบอกเลิกและส่งให้โจทก์มีลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลย โดยไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือพอถือได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้อผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายระบุว่าผู้ซื้อจะนำเงินสดไปชำระในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินครั้นถึงวันนัดโอนผู้ซื้อสั่งจ่ายเช็คเงินสดไปชำระ ผู้ขายไม่ยอมรับและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ถือได้ว่าผู้ซื้อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา ผู้ซื้อจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำได้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือเพียงแต่แสดงเจตนาต่อกันก็สมบูรณ์แล้วหนังสือบอกเลิกสัญญาที่จำเลยมอบอำนาจให้บุตรจำเลยบอกเลิกและส่งให้โจทก์มีลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลย โดยไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือพอถือได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ: ศาลพิพากษาให้สิทธิครอบครองได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์เหนือที่พิพาท เพราะไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้จำเลยจะฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ระบุแสดงสภาพที่ดินว่าติดที่ดินผู้ใด แต่ละด้านกว้างยาวเท่าใดและแจ้งการครอบครองเมื่อใด ไม่ได้ เพราะเหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนี้เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ศาลก็พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 5