พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสัญญาโอนสิทธิบัตร
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยเป็นสัญญาโอนขายสิทธิบัตร โดยมีข้อกำหนดว่าผู้โอนคือโจทก์ทั้งสี่ที่เป็นผู้ขายจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้รับโอนคือจำเลยด้วย จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่มีหน้าที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์ทั้งสี่ ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสี่รับว่ามีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยจริง และแจ้งให้จำเลยหักชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระแก่จำเลย ต่อมาจำเลยส่งใบหุ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ ย่อมแสดงว่าจำเลยยอมรับการชำระหนี้ค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยอมรับว่ายังไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่จำเลย โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยสินค้าผิดยี่ห้อ, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบสินค้า, และการแบ่งความรับผิดชอบของเจ้าหนี้
การที่จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อหนึ่งให้แก่โจทก์ จำเลยก็ต้องส่งมอบสินค้ายี่ห้อนั้น จะส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นไม่ได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อซึ่งมิใช่ยี่ห้อที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่การที่ ว. พนักงานโจทก์ผู้ตรวจรับมอบสินค้าจากจำเลยตรวจสอบเฉพาะรุ่นของสินค้าและจำนวนเท่านั้น โดยมิได้ตรวจสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ว. พนักงานโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ไม่ตรงตามความประสงค์, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบ, และผลกระทบต่อค่าสินไหมทดแทน
จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อทรอนให้แก่โจทก์ จำเลยจะมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแก่โจทก์มิได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้ออื่น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่ ว. พนักงานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ตรวจรับมอบสินค้า มิได้ตรวจสอบสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ด้วยตาม ป.พ.พ มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และผลของการตกลงพิเศษเรื่องการรับผิดชอบหนี้ที่เหลือหลังบังคับจำนอง
จำเลยค้างชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงินจำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอชำระหนี้โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 207
มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้
มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรณีลูกจ้างใช้รถของนายจ้างส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต และประเด็นการชำระหนี้ค่าจ้าง
โจทก์นำรถยนต์ที่จำเลยเช่ามาให้ทำงานของจำเลยขับพาภริยาและบุตรของโจทก์ไปเที่ยวแล้วเกิดอุบัติเหตุ ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายอย่างมาก เป็นการนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการไม่ซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยการอาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่สามารถนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ในการทำงานได้ ขับไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทำให้จำเลยไม่มีรถยนต์ใช้ปฏิบัติงานนานถึง 2 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีร้ายแรง จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ จึงจะเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขจำกัดตัดสิทธิอื่น ๆ อันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบโจทก์ย่อมปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ของเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง ให้แก่โจทก์ แต่พออนุโลมได้ว่าโจทก์ขอให้จ่ายดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาด้วย เพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ จึงจะเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขจำกัดตัดสิทธิอื่น ๆ อันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบโจทก์ย่อมปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ของเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง ให้แก่โจทก์ แต่พออนุโลมได้ว่าโจทก์ขอให้จ่ายดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาด้วย เพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าจ้างต้องไม่มีเงื่อนไขจำกัดสิทธิลูกหนี้ มิฉะนั้นเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใดลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง จึงจะเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนไขจำกัดตัดสิทธิอื่นๆ อับชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ่างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเฉพาะเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ให้แก่โจทก์ ก็พออนุโลมว่าโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานจึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 และจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ไม่ยอมรับจึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ผู้ซื้อไม่ชำระเงินตามกำหนด ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขายให้ผู้อื่นได้
เดิมโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ไปรับโอนที่ดินพิพาทในวันนัด แต่เมื่อโจทก์จำเลยไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญจำเลยผู้จะขายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจึงมีสิทธิบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคาที่ค้างโดยกำหนดเวลาตามสมควรได้เมื่อต่อมาโจทก์ไม่มีเงินมาชำระหนี้ตามกำหนดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยผู้จะขายปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างไรลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 208 วรรคแรกทั้งไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท และเมื่อตามคำฟ้องคำให้การมีประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าที่ดินที่ค้างได้ขอขยายระยะเวลาการชำระเงินอีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2532 โจทก์ก็ผิดนัดอีก ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: โจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
เดิมโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ไปรับโอนที่ดินพิพาทในวันนัด แต่เมื่อโจทก์จำเลยไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญจำเลยผู้จะขายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจึงมีสิทธิบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคาที่ค้างโดยกำหนดเวลาตามสมควรได้ เมื่อต่อมาโจทก์ไม่มีเงินมาชำระหนี้ตามกำหนดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยผู้จะขายปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างไร ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 208 วรรคแรกทั้งไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท และเมื่อตามคำฟ้องคำให้การมีประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2ให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาเพราะไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าที่ดินที่ค้างได้ขอขยายระยะเวลาการชำระเงินอีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม2532 โจทก์ก็ผิดนัดอีก ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน การคิดราคาตามอัตราปัจจุบัน และสัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน: การคิดราคาตามอัตราปัจจุบันเมื่อรับชำระเป็นเงินบาท
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย.
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย.