พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่าและพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต: การจำกัดขอบเขตการฟ้องและบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 83 แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 289 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายอย่างไร จึงมีลักษณะเป็นเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289 ศาลจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 289 ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้องและไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายเท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และ 192 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโจทก์มิได้นำสืบว่า อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่พวกของจำเลยใช้ในการพยายามฆ่าผู้เสียหายนั้น เป็นอาวุธปืนที่จำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและให้พาติดตัวไปตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ก็มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 371 เท่านั้น
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโจทก์มิได้นำสืบว่า อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่พวกของจำเลยใช้ในการพยายามฆ่าผู้เสียหายนั้น เป็นอาวุธปืนที่จำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและให้พาติดตัวไปตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ก็มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 371 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มต้นนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: การมอบตัวไม่ใช่การจับกุม
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนและส่งตัวจำเลยไปที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในวันเดียวกัน แล้วปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่มีการควบคุมตัวจำเลยไว้ หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน แสดงว่าจำเลยไม่ถูกพนักงานสอบสวนจับกุม เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับกุม จึงยังไม่มีจุดเริ่มต้นในการนับระยะเวลาในการฟ้องคดี โจทก์สามารถฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ในคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักหรืออบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 และคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวตามมาตรา 122 เท่านั้น สำหรับการฎีกา มาตรา 124 บัญญัติว่าคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่าคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่น กรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีอาญาเยาวชน: เหตุบรรเทาโทษ, การฝึกอบรม, และการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่น มีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้โดยยกฟ้องฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แต่ให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กาย จึงมิใช่กรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อมีการได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในคดีเยาวชน: ศาลชั้นต้นสั่งผิดพลาดเรื่องการอนุญาตฎีกาข้อเท็จจริง
กรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมซึ่งมิใช่การลงโทษ จึงถือมิได้ว่าลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 2 ปี และปรับเกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและบทกำหนดโทษซึ่งเป็นการแก้ไขมาก แต่ก็มิได้กำหนดโทษจำคุกและกำหนดระยะเวลาฝึกและอบรมสูงขึ้นแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลย จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นให้ฎีกาได้ตามบทบัญญัติตอนท้ายของมาตรา 219
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าฎีกาของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าฎีกาของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การผู้ต้องหาเยาวชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีลักทรัพย์
บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ภ. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาด้วยกันที่ให้การซัดทอดว่าจำเลยร่วมลักทรัพย์ของผู้เสียหายด้วย แต่ขณะสอบสวน ภ. อายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วย เป็นคำให้การชั้นสอบสวนที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ที่ใช้บังคับในขณะสอบสวน บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มีคำสั่งยกฟ้อง คดีเกี่ยวกับยาเสพติดของเยาวชน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ เนื่องจากไม่มีตัวจำเลยมาศาล ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าว จึงต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีเยาวชน: การไม่ครบองค์คณะส่งผลให้คำพิพากษาไม่ชอบ หากไม่คัดค้านเสียก่อนฎีกาไม่ได้
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียศาลจะต้องกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 24 ประกอบมาตรา 109 วรรคสอง ปรากฏตามสำนวนคดีนี้ได้ความว่าการพิจารณาคดีในแต่ละนัดบางครั้งก็มีลายมือชื่อผู้พิพากษาสมทบ 2 คนบ้าง หรือคนเดียวบ้างเป็นองค์คณะ และบางครั้งก็ไม่มีลายมือชื่อผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะเลย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทราบเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางซึ่งเป็นศาลชั้นต้นนั้นมาโดยตลอด หากจำเลยทั้งสามเห็นว่าศาลชั้นต้นดังกล่าวมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดีอันเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้ทราบการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้คัดค้านจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสามจะมาฎีกาโต้แย้งในภายหลังหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีชำเราโดยศาลล่างเกินกว่าที่โจทก์ขอ และการพิจารณาโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 16 ปีเศษ (ที่ถูก 15 ปีเศษ) ให้ลงโทษจำเลยโดยลดมาตราโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ให้จำคุกจำเลยไว้ 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน ซึ่งตามฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย 2 ครั้ง เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันถือได้ว่า มีการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี เมื่อจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเป็นการโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาฟ้องโจทก์แล้วโจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างเดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ต่อเนื่องเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย รวม 2 ครั้ง ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 โดยไม่ระบุ ป.อ. มาตรา 91 ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วยนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 กรณีดังกล่าวแม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน & การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนคู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำร้ายเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่า และขอให้รอการลงโทษมานั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา