คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์/ฎีกาได้ในคดีเยาวชน กรณีศาลชั้นต้นกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 จำคุก 4 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104(2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เมื่อจำเลยที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ให้และศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าว ตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ด้วย เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้ว ก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ ตามมาตรา122 ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยที่ 3 โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 3 มานั้น เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์/ฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลชั้นต้นกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่3จำคุก4ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด3ปีนับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครองครัวฯมาตรา104(2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเมื่อจำเลยที่3อุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ให้และศาลอุทธรณ์ภาค3แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา124ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ด้วยเพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา122ด้วยและกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา6มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ดังนั้นการที่จำเลยที่3ฎีกาขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยที่3โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่3มานั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลสั่งการใช้วิธีการตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีสำหรับเด็กและเยาวชนและคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้นทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา121,122 สำหรับการฎีกาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา124บัญญัติว่าคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดาเว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา121ซึ่งมีความหมายว่าคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา121นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วยโดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาลงโทษจำเลยที่3จำคุก4ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด3ปีนับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104(2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเมื่อจำเลยที่3อุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค3แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา124ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา122และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา6มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้การที่จำเลยที่3ฎีกาขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลยที่3โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่3มานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกเป็นมาตรการอื่นและการจำกัดสิทธิในการฎีกาข้อเท็จจริงในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288,80 ลดมาตราส่วนโทษแล้ว ลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295 ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ดังนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯถือได้ว่าเบากว่าโทษจำคุก จึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 6 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นบำบัดรักษาในคดีเยาวชน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ลดมาตราส่วนโทษแล้วลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ดังนี้เป็นกรณี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไข เล็กน้อยและการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม หรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ถือได้ว่า เบากว่าโทษจำคุก จึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นบำบัดและอบรมในคดีเยาวชน การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอุปสรรค
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,80ลดมาตราส่วนโทษแล้วลงโทษจำคุกจำเลย6ปีให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯถือได้ว่าเบากว่าโทษจำคุกจึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา6ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอพิจารณาใหม่ในคดีเยาวชนและครอบครัว ต้องเป็นคู่ความที่ศาลสั่งขาดนัดและแพ้คดี
คดีเยาวชนและครอบครัวผู้ที่จะขอให้มีการพิจารณาใหม่ ต้องเป็นคู่ความฝ่ายที่ศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 6 คดีที่มารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท จึงไม่มีประเด็นที่พิพาทและผู้คัดค้านเพิ่งยื่นคำร้องเข้ามาภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีมาแต่แรก เป็นเหตุให้ไม่มีโอกาสที่จะถูกศาลสั่งให้เป็นฝ่ายขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นพิพาท ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอพิจารณาใหม่ในคดีไม่มีข้อพิพาท ผู้คัดค้านต้องเป็นคู่ความที่ศาลสั่งขาดนัดและแพ้คดีจึงจะมีสิทธิ
ผู้ที่จะขอให้พิจารณาใหม่ ต้องเป็นคู่ความฝ่ายที่ศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่มีประเด็นที่พิพาทและผู้คัดค้านก็ไม่ได้เข้าเป็นคู่ความในคดีมาแต่แรก จึงไม่ได้ถูกศาลชั้นต้นสั่งให้เป็นฝ่ายขาดนัดพิจารณา และถูกศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นพิพาท ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
of 5