คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 307

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน: รายได้จากสวนผลไม้ไม่เพียงพอชำระหนี้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระ ให้โจทก์รวม 14,000,000 บาทเศษ สวนผลไม้ที่โจทก์นำยึดสามารถให้ผลผลิตและรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า4,500,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างว่าสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีนั้น เป็นเพียงการคาดคะเนว่าจะมีรายได้จากผลผลิตการเกษตร ซึ่งยังไม่แน่นอน อีกทั้งกว่าจะชำระให้โจทก์ เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 5 ปี และโจทก์ ก็มิได้ให้ความยินยอม ถือไม่ได้ว่ารายได้ ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ ตามคำพิพากษา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307ที่จะตั้งผู้จัดการทรัพย์และนำรายได้ประจำปี จากทรัพย์ดังกล่าวชำระหนี้แทนการขายทอดตลาดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชย์ - พฤติการณ์ประวิงคดี
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นเวลาประมาณ 8 เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด และจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริง จำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใด การที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอย ๆ ว่า จำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้าง พฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควร กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 และตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่ แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการเพื่อชำระหนี้จากการประกอบกิจการพาณิชย์ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307เป็นเวลาประมาณ8เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดและจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริงจำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดและจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใดการที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอยๆว่าจำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้างพฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควรกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาแต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7754/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน: ทรัพย์สินที่ไม่มีรายได้ประจำปี ไม่อาจใช้มาตรา 307
จำเลยประกอบอาชีพพาณิชยกรรมการค้าขายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด และรับเหมาก่อสร้างงานโยธาทุกประเภทที่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดนั้น ที่ดินแปลงที่ 1 เป็นที่ดินสำหรับทำไร่ ส่วนแปลงที่ 2 เป็นที่ดินสำหรับอยู่อาศัย และทั้งสองแปลงอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวย่อมไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีรายได้ประจำปีหรือมีการประกอบพาณิชยกรรมในขณะนั้นที่จำเลยจะขอตั้งผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินยึด: รายได้จากเช่าฟิล์มไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว 3 ชั้น 2 คูหา และห้องแถวไม้เก่า ๆชั้นเดียว จำนวน 8 ห้อง ปลูกอยู่ แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว 2 คูหา เป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนตร์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรม จำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ศาลไม่อนุมัติผู้จัดการทรัพย์สินหากทรัพย์สินนั้นไม่มีรายได้ประจำจากการประกอบธุรกิจ
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว3ชั้น2คูหาและห้องแถวไม้เก่าๆชั้นเดียวจำนวน8ห้องปลูกอยู่แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว2คูหาเป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนต์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรมจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิลม์ภาพยนต์แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนต์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ศาลไม่อนุมัติการจัดการทรัพย์สินหากทรัพย์สินนั้นไม่มีรายได้ประจำ
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว3ชั้น2คูหาและห้องแถวไม้เก่าๆชั้นเดียวจำนวน8ห้องปลูกอยู่แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว2คูหาเป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนตร์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรมจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6063/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดี, การเลื่อนคดี, คำสั่งศาล, การบังคับคดี, การชำระหนี้
ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งทนายจำเลยคนใหม่ จำเลยขอเลื่อนคดีมาแล้ว 4 นัด นอกจากนี้ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยก็ขอเลื่อนคดีหลายครั้งโดยอ้างเหตุว่ากำลังเจรจาจะชำระหนี้โจทก์และอยู่ระหว่างขายทรัพย์จำนอง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้สั่งกำชับว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีกไม่ว่าด้วยเหตุผลใด จำเลยก็หาได้ตระหนักถึงคำสั่งกำชับของศาลดังกล่าวไม่ แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายคนใหม่ ก็ชอบที่จะให้ทนายคนใหม่เตรียมคดีให้พร้อมก่อนวันนัดหาใช่นำเอาเหตุแห่งการแต่งตั้งทนายคนใหม่มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเช่นนี้ไม่ จึงเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจึงชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองและตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ที่ยึด โดยให้จำเลยนำเงินมาวางเพื่อชำระหนี้โจทก์เดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาททุกวันที่ 1 ของเดือน หากเดือนใดผิดนัดให้ดำเนินการขายทอดตลาดทันทีเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว ทรัพย์สินของจำเลยจึงจะไม่ถูกขายทอดตลาด จำเลยจะมาขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโจทก์ก็ชอบที่จะบังคับคดีได้ทันที จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระรวมทั้งดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีจำเลยจึงหามีสิทธิโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียง 5 ปีเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้และการงดขายทอดตลาด: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้รายปีของลูกหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินร่วม5,000,000 บาท แม้จำเลยอาจมีรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมค้าขายพืชผลเดือนละประมาณ 100,000 บาท มาชำระหนี้โจทก์จริงโดยไม่คลาดเคลื่อนก็ตาม แต่กว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 4 ปี อีกทั้งโจทก์ก็ไม่ยินยอมด้วย ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบหักล้างก็ตามก็ถือไม่ได้ว่ารายได้ประจำปีของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้และการพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินร่วม4,000,000 บาท แม้จำเลยอาจมีรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมค้าขายพืชผลเดือนละประมาณ 100,000 บาท มาชำระหนี้โจทก์จริงโดยไม่คลาดเคลื่อนก็ตามแต่กว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 4 ปี อีกทั้งโจทก์ก็ไม่ยินยอมด้วยดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบหักล้างก็ตามก็ถือไม่ได้ว่ารายได้ประจำปีของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307
of 4