พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้น และการไม่รับวินิจฉัยฎีกาในประเด็นใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดและตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307อ้างว่าที่ดินสองแปลงพร้อมอาคารพาณิชย์ที่ยึดมาบังคับคดีติดจำนองเจ้าหนี้รายอื่นร่วมกับที่ดินของจำเลยอีกหลายแปลงพร้อมอาคารพาณิชย์ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าภายหลังศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงหลายประการโดยจำเลยได้นำเงินสดไปวางที่กรมบังคับคดีเพื่อชำระหนี้รายอื่นแล้ว และได้ขอปลดหนี้จำนองอีกรายหนึ่งในวงเงินสิบหกล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์การแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินในคดีบังคับคดี
ในชั้นบังคับคดีจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดเพื่อหารายได้ชำระหนี้โจทก์แทนการสั่งขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในกรณีเช่นนี้มีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยต่อไปได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยเสร็จแล้วหากศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีความเห็นว่าควรตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำร้อง กรณีก็จะไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์การบังคับคดี การงดการขายทอดตลาดเพื่อรอผลการพิจารณาอุทธรณ์
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดเพื่อหารายได้ชำระหนี้โจทก์แทนการสั่งขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ไม่ควรมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพราะการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวนั้นมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยต่อไปได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยได้เสร็จแล้ว หากศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีความเห็นว่าควรตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำร้อง กรณีก็จะไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการขายทอดตลาด ต้องพิจารณาว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบพาณิชยกรรมหรือไม่
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่า คำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการประกอบวิชาชีพทนายความ ไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 307 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307